ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อัปปสาทสูตร
[๑๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศความไม่เลื่อมใส แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ พยายามเพื่อความฉิบหายแก่ คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ด่าบริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตก จากคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ ติเตียนพระธรรม ๑ ติเตียน พระสงฆ์ ๑ และเทวดาย่อมเห็นภิกษุนั้นโดยประการนั้น ๑ ๑- ดูกรภิกษุทั้งหลาย @๑. นี้แปลตามรูปบาลีที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ หน้า ๓๕๗ ว่า ตโต จ เทวา นํ @ปสฺสนติ "ตโต จ เทวา" ในอรรถถามโนรถปูรณี ตติยภาคหน้า ๓๒๑ ปรากฏเป็น "อโคจเร" @และยกเป็นบทตั้งแก้ความว่า "ในอโคจร ๕ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงชวนให้เข้าใจว่า ฉบับบาลีที่ @ลอกอักษรขอมมาเป็นอักษรไทยว่า" ตโต จ เทวา น่าจะพลาดคงจะเป็น อโคจเร จ ตาม @อรรถกถาแน่ ถ้าเป็นเช่นนี้ ความตรงนี้จะต้องเป็นว่า อุบาสกทั้งหลายย่อมเห็นภิกษุนั้นใน @ที่อโคจรทีเดียว อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศความไม่เลื่อมใสแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ นี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๙
ปสาทสูตร
[๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศความเลื่อมใส แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ไม่พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ไม่พยายามเพื่อความฉิบหาย แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ไม่ด่าไม่บริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ไม่ยุยงคฤหัสถ์ ทั้งหลายให้แตกจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ สรรเสริญพระพุทธเจ้า ๑ สรรเสริญ พระธรรม ๑ สรรเสริญพระสงฆ์ ๑ และเพราะเหตุนี้ เทวดาทั้งหลายย่อม สรรเสริญอุบาสกนั้น ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศความ เลื่อมใสแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๗๓๔๖-๗๓๗๑ หน้าที่ ๓๑๗-๓๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=7346&Z=7371&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=23&A=7346&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=161              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=196              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=23&A=7586              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6373              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=23&A=7586              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6373              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i187-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an8.88/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]