ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์เข้าในวรรค
[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ มานะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการนี้แล [๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะสงบธรรม ๗ ประการ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการ ชื่อว่าเป็นโสตถิกะ (สวัสดี) เพราะเป็นผู้ไม่ร้อยรัดธรรม ๗ ประการ ชื่อว่าเป็นนหาตกะ เพราะอาบธรรม ๗ ประการ ชื่อว่าเป็นเวทคู เพราะรู้ชัดธรรม ๗ ประการ ชื่อว่าเป็นอรหันต์ เพราะ เป็นผู้ไกลธรรม ๗ ประการ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ มานะ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นอรหันต์ เพราะเป็นผู้ไกลธรรม ๗ ประการนี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๐.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสัตบุรุษเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีสุตะน้อย ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ มีสติหลงลืม ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๗ ประการนี้ ๗ ประการ เป็นไฉน คือ สัตบุรุษเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ เป็นพหูสูต ๑ ปรารภความเพียร ๑ มีสติ ๑ มีปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๗ ประการ นี้แล ฯ [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๗ จำพวกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล บางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง มีความสำคัญว่าไม่เที่ยง ตระหนักชัดว่า ไม่เที่ยงในจักษุ น้อมไปด้วยใจ หยั่งลงด้วยปัญญา ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย เธอกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้บุคคลที่ ๑ เป็น ผู้ควรของคำนับ ... เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง มีความ สำคัญว่าไม่เที่ยง ตระหนักชัดว่าไม่เที่ยงในจักษุ น้อมไปด้วยใจ หยั่งลงด้วย ปัญญา ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย บุคคลนั้นมีการสิ้นอาสวะและการสิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน นี้เป็นบุคคลที่ ๒ เป็นผู้ควรของคำนับ ... อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง ... ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็นอันตราปรินิพพายี เพราะสิ้นโอรัมภาคิย- *สังโยชน์ ๕ นี้เป็นบุคคลที่ ๓ เป็นผู้ควรของคำนับ ... ฯ อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง ... ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะสิ้นโอรัมภาคิย- *สังโยชน์ ๕ นี้เป็นบุคคลที่ ๔ เป็นผู้ควรของคำนับ ... ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๑.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง ... ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะสิ้น โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นี้เป็นบุคคลที่ ๕ เป็นผู้ควรของคำนับ ... ฯ อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง ... ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะสิ้น โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นี้เป็นบุคคลที่ ๖ เป็นผู้ควรของคำนับ ... ฯ อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง ... ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสิ้น โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นี้เป็นบุคคลที่ ๗ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็น ผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ [๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ ... ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๗ จำพวกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน โลกนี้ พิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์ในจักษุ ... พิจารณาเห็นว่าเป็นอนัตตาในจักษุ ... พิจารณาเห็นความสิ้นไปในจักษุ ... พิจารณาเห็นความเสื่อมไปในจักษุ ... พิจารณา เห็นความคลายไปในจักษุ ... พิจารณาเห็นความดับในจักษุ ... พิจารณาเห็นความ สละคืนในจักษุ ... พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์ พิจารณา เห็นว่าเป็นอนัตตา ... พิจารณาเห็นความสิ้นไป ... พิจารณาเห็นความเสื่อมไป ... พิจารณาเห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความดับ ... พิจารณาเห็นความสละคืน ในหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ในจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ในจักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ในจักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสส-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๒.

*ชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา ในรูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา ในรูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพ- *สัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา ในรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ในรูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก ในรูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพ- *วิจาร ธรรมวิจาร ในรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ฯ [๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๗ ประการเป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการ ภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๗ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ [๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการ ภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตต- *สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ฯ [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ภิกษุพึงเจริญเพื่อกำหนด รู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืนราคะ ธรรม ๗ ประการ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อ ความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ เพื่อสละ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๓.

เพื่อสละคืนโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง ... เพื่อสละคืน โทสะ ... ฯ
จบสัตตกนิบาต
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๒๙๘๕-๓๐๗๕ หน้าที่ ๑๒๙-๑๓๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=2985&Z=3075&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=23&A=2985&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=73              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=82              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=23&A=3136              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4714              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=23&A=3136              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4714              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i082-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i082-02-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an7.85/en/sujato https://suttacentral.net/an7.86/en/sujato https://suttacentral.net/an7.87/en/sujato https://suttacentral.net/an7.88/en/sujato https://suttacentral.net/an7.89/en/sujato https://suttacentral.net/an7.90/en/sujato https://suttacentral.net/an7.91/en/sujato https://suttacentral.net/an7.92/en/sujato https://suttacentral.net/an7.93/en/sujato https://suttacentral.net/an7.94/en/sujato https://suttacentral.net/an7.95/en/sujato https://suttacentral.net/an7.96-614/en/sujato https://suttacentral.net/an7.615/en/sujato https://suttacentral.net/an7.616/en/sujato https://suttacentral.net/an7.617/en/sujato https://suttacentral.net/an7.618-644/en/sujato https://suttacentral.net/an7.645-1124/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]