ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. กกุธสูตร
[๑๐๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตารามใกล้เมือง โกสัมพี ก็สมัยนั้นแล บุตรเจ้าโกลิยะนามว่ากกุธะ ผู้อุปัฏฐากท่านพระมหา- *โมคคัลลานะ กระทำกาละไม่นาน ได้บังเกิดในหมู่เทพชื่อว่าอโนมยะหมู่หนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพ [ใหญ่] เหมือนคามเขตในแว่นแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะ การได้อัตภาพนั้น เขาย่อมไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ครั้งนั้น แล กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ยืน อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัต เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ และพระเทวทัตได้เสื่อมจาก ฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาท ครั้นกกุธเทพบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทท่าน พระมหาโมคัลลานะ ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น ลำดับนั้น ท่านพระมหา โมคคัลลานะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุตรแห่งเจ้าโกลิยะ นามว่ากกุธะผู้อุปัฏฐากข้าพระองค์ กระทำกาละไม่นาน ได้บังเกิดในหมู่เทพชื่อ ว่าอโนมยะหมู่หนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพ [ใหญ่] เหมือนคามเขตในแว่นแคว้นมคธ สองสามหมู่ เพราะการได้อัตภาพนั้น เขาย่อมไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน ครั้งนั้น กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ พระเทวทัตได้ เสื่อมจากฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาท กกุธเทพบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทข้าพระองค์ ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรโมคคัลลานะ ก็กกุธเทพบุตรเธอกำหนด รู้ใจด้วยใจดีแล้วหรือว่า กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งปวงย่อมเป็นอย่างนั้น ทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น ฯ ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กกุธเทพบุตรข้าพระองค์กำหนดรู้ใจด้วยใจดี แล้วว่า กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งปวงย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็น อย่างอื่น ฯ พ. ดูกรโมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้ โมฆบุรุษนั้นจักทำ ตนให้ปรากฏด้วยตนเอง ดูกรโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มี ศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขา อย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราจักบอกพวกคฤหัสถ์ก็ ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่าง ไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรม นั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ย่อมหวัง เฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยศีล ฯ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ย่อม ปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า หมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า หมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเรา จะพึงกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้ จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดา เช่นนี้โดยอาชีวะ และศาสดาเช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดย อาชีวะ ฯ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่อง แผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มี ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนา ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่าง ไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ท่านศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วย กรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยธรรมเทศนา และศาสดา เช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจากสาวกโดยธรรมเทศนา ฯ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีไวยากรณ์ ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจ ของท่าน ก็พวกเราจักกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้ อนึ่ง มหาชน ย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษา ศาสดาเช่นนี้โดยไวยากรณ์ และศาสดาเช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจากพวก สาวกโดยไวยากรณ์ ฯ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่อง แผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มี ญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกพวก คฤหัสถ์ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าวด้วยความไม่พอใจของ ท่านนั้นอย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏ ด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยญาณทัสสนะ และ ศาสดาเช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยญาณทัสสนะ ดูกรโมคคัล- *ลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ ดูกรโมคคัลลานะ เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีศีล บริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเรา โดยศีล และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยศีล เราเป็นผู้มีอาชีวะ บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยอาชีวะ และเราก็ไม่หวังเฉพาะการ รักษาจากพวกสาวกโดยอาชีวะ เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยธรรมเทศนา และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจาก พวกสาวกโดยธรรมเทศนา เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็น ผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวก สาวกย่อมไม่รักษาเราโดยไวยากรณ์ และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจากพวก สาวกโดยไวยากรณ์ เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มี ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจาก พวกสาวกโดยญาณทัสสนะ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบกกุธวรรคที่ ๕
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัมปทาสูตรที่ ๑ ๒. สัมปทาสูตรที่ ๒ ๓. พยากรณสูตร ๔. ผาสุสูตร ๕. อกุปปสูตร ๖. สุตสูตร ๗. กถาสูตร ๘. อรัญญสูตร ๙. สีหสูตร ๑๐. กกุธสูตร ฯ
จบทุติยปัณณาสก์
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๒๘๒๐-๒๙๒๒ หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=2820&Z=2922&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=22&A=2820&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=100              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=100              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=22&A=2901              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1013              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=22&A=2901              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1013              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i091-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an5.100/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]