ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๘. อนาคตสูตรที่ ๒
[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ก็ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภัย ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรายังเป็นหนุ่ม แน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ ตั้งอยู่ในปฐมวัย ถึง กระนั้น ก็มีสมัยที่ชราย่อมจะถูกต้องกายนี้ได้ ก็ผู้ที่แก่แล้ว ถูกชราครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่ น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เสียก่อนที เดียว ซึ่งเราประกอบแล้ว แม้แก่ก็จักอยู่สบาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็น ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง ไม่ได้ทำให้แจ้ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ ร้อนนัก ขนาดกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร แต่ย่อมมีสมัยที่พยาธิจะถูกต้อง กายนี้ ก็ผู้ที่ป่วยไข้อันความป่วยไข้ครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้ง่าย ... ซึ่งเราประกอบแล้ว แม้ป่วยไข้ก็จักอยู่สบาย ภิกษุเห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แล ข้าวกล้าดี บิณฑบาตก็หาได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ แต่ก็ย่อมมีสมัยที่มีข้าวแพง ข้าวกล้าไม่ดี บิณฑบาตหาได้ยาก ไม่สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ อนึ่ง ใน สมัยข้าวแพง พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปในที่ที่มีอาหารดี ในที่นั้นย่อมมีการอยู่ คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่ พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้ง่าย ... ซึ่งเรา ประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบายแม้ในเวลาทุพภิกขภัย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อ ที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แลมนุษย์ทั้งหลายย่อม เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดังน้ำนมกับน้ำ มองดูกัน ด้วยนัยน์ตาแสดงความรักอยู่ แต่ย่อมมีสมัยที่มีภัย มีความปั่นป่วนในดง ประชาชน วุ่นวายและเมื่อมีภัย พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปในที่ที่ปลอดภัย ในที่นั้นย่อม มีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วย หมู่คณะ อยู่พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ ง่าย ... ซึ่งเราประกอบแล้วก็จักอยู่สบายแม้ในสมัยที่มีภัย ภิกษุผู้เห็นภัยใน อนาคตข้อที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แลสงฆ์เป็นผู้พร้อม เพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมกัน อยู่ผาสุก แต่ก็ย่อมมี สมัยที่สงฆ์แตกกัน ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบ ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งเราประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบายแม้ในเมื่อ สงฆ์แตกกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ด เดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ฯ
จบสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๒๓๔๕-๒๓๙๖ หน้าที่ ๑๐๒-๑๐๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=2345&Z=2396&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=22&A=2345&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=78              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=78              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=22&A=2471              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=896              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=22&A=2471              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=896              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i071-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.078.than.html https://suttacentral.net/an5.78/en/sujato https://suttacentral.net/an5.78/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]