ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
กรรมปถวรรคที่ ๗
[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ตนเอง เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการฆ่าสัตว์ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ ชักชวนผู้อื่นให้ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ กล่าวสรรเสริญ คุณการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ [๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ตนเอง เป็นผู้ลักทรัพย์ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการลักทรัพย์ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการลักทรัพย์ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ ชักชวนผู้อื่น ให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ กล่าว สรรเสริญคุณการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ [๒๖๖] ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ ประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการประพฤติผิดในกาม ๑ กล่าวสรรเสริญคุณ การประพฤติผิดในกาม ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการงดเว้นจาก การประพฤติผิดในกาม ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการประพฤติผิด ในกาม ๑ ฯลฯ [๒๖๗] ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พอใจ ในการพูดเท็จ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการพูดเท็จ ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้น จากการพูดเท็จ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ พอใจใน การงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ ฯ [๒๖๘] ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑ พอใจในการพูดส่อเสียด ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการพูดส่อเสียด ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูด ส่อเสียด ๑ พอใจในการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ กล่าวสรรเสริญคุณ การงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ ฯลฯ ฯ [๒๖๙] ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการพูดคำหยาบ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณในการพูดคำหยาบ ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูด คำหยาบ ๑ พอใจในการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการ งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ ฯลฯ ฯ [๒๗๐] ตนเองเป็นผู้พูดคำเพ้อเจ้อ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ฯลฯ ตนเอง เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อ ๑ ฯลฯ [๒๗๑] ตนเองเป็นผู้มากไปด้วยความโลภ ๑ ชักชวนผู้อื่นในความ โลภ ๑ พอใจในความโลภ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความโลภ ๑ ฯลฯ ตนเอง เป็นผู้ไม่มากไปด้วยความโลภ ๑ ชักชวนผู้อื่นในความไม่โลภ ๑ พอใจในความ ไม่โลภ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความไม่โลภ ๑ ฯลฯ ฯ [๒๗๒] ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท ๑ ชักชวนผู้อื่นในความพยาบาท ๑ พอใจในความพยาบาท ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความพยาบาท ๑ ฯลฯ ตนเอง เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท ๑ ชักชวนผู้อื่นในความไม่พยาบาท ๑ พอใจในความ ไม่พยาบาท ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความไม่พยาบาท ๑ ฯลฯ ฯ [๒๗๓] ตนเองเป็นผู้มีความเห็นผิด ๑ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ๑ พอใจในความเห็นผิด ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความเห็นผิด ๑ ฯลฯ ตนเอง เป็นผู้มีความเห็นชอบ ๑ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ๑ พอใจในความ เห็นชอบ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความเห็นชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมา ประดิษฐานไว้ ฯ
จบกรรมปถวรรคที่ ๗
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๖๗๒๓-๖๗๘๔ หน้าที่ ๒๘๘-๒๙๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=6723&Z=6784&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=21&A=6723&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=143              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=264              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=21&A=7227              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=10258              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=21&A=7227              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=10258              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i264-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i264-e2.php# https://suttacentral.net/an4.264/en/sujato https://suttacentral.net/an4.265/en/sujato https://suttacentral.net/an4.266/en/sujato https://suttacentral.net/an4.267/en/sujato https://suttacentral.net/an4.268/en/sujato https://suttacentral.net/an4.269/en/sujato https://suttacentral.net/an4.270/en/sujato https://suttacentral.net/an4.271/en/sujato https://suttacentral.net/an4.272/en/sujato https://suttacentral.net/an4.273/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]