ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
กรรมวรรคที่ ๔
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำ มีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ ฯ [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำ มีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารอันมีความ เบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารอันมีความเบียดเบียน ครั้นแล้วย่อมเข้าถึง โลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันมีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้า ถึงโลกที่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อม ได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนสัตว์ นรก นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขารอันไม่มีความเบียดเบียน ครั้น แล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันไม่มีความเบียดเบียนย่อม ถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่ไม่มีความ เบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุข โดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนเทพชั้นสุภกิณหะ นี้เราเรียกว่ากรรมขาวมีวิบาก ขาว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคล บางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขารอันมีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน บ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ เบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี ความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน เปรียบเหมือนมนุษย์ เทพ บางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบาก ทั้งดำทั้งขาว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาวย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นกรรมเป็นไฉน เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำในบรรดากรรม เหล่านั้นก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาวก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรม ทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็ดี นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำ ไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ฯ [๒๓๔] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อสิขาโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี- *พระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอ ให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี- *พระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ หลายวันมาแล้ว โสณกายนมาณพไปหา ข้าพระองค์ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า พระสมณโคดมย่อมทรงบัญญัติการไม่กระทำ กรรมทั้งปวง ก็แลเมื่อบัญญัติการไม่กระทำกรรมทั้งปวง ชื่อว่ากล่าวความขาดสูญ แห่งโลก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลกนี้มีกรรมเป็นสภาพ ดำรงอยู่ด้วยการ ก่อกรรมมิใช่หรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราไม่รู้สึกว่าได้เห็น โสณกายนมาณพเลย ที่ไหนจะได้ปราศรัยเห็นปานนี้กันเล่า ดูกรพราหมณ์ กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ปรุงแต่งกายสังขาร ... วจีสังขาร ... มโนสังขารอันมีความเบียดเบียน ... เขาอัน ผัสสะที่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เหมือนสัตว์นรก นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขาร อันไม่มีความเบียดเบียน... เขาอันผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความ เบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เหมือนพวกเทพสุภกิณหะ นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคล บางคนในโลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขารอันมีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง...เขาอันผัสสะอันมีความเบียดเบียน บ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทุกข์ระคนกันเหมือน มนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรม เป็นไฉน เจตนาใดเพื่อละกรรมดำมีวิบากดำในบรรดากรรม เหล่านั้นก็ดี...นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรม ดูกรพราหมณ์ กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ฯ [๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำมีวิบากดำ ก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำ ไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือสุราและ เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จาก การพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เราเรียกว่ากรรมขาวมีวิบากขาว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคล บางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ เบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็น ไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจตนาใดเพื่อละกรรมดำ อันมี วิบากดำในบรรดากรรมเหล่านั้นก็ดี ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบาก ไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ฯ [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำมีวิบาก ดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรม ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายต่อพระตถาคต ยังพระ โลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการ พูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มาก ไปด้วยความเพ่งเล็ง มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ นี้เราเรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำในบรรดากรรม เหล่านั้นก็ดี ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็น ไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้ แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ฯ [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียน ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันไม่มีความเบียดเบียน ฯลฯ นี้เรียกว่ากรรมขาวมีวิบาก ขาว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็น ไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เราเรียกว่ากรรม ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศ ให้ทราบ ฯ [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำ ไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ้นกรรมก็มี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันมีความเบียดเบียน ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมดำมี- *วิบากดำ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนใน โลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันไม่มีความเบียดเบียน ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรม- *ขาวมีวิบากขาว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริย- *สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อม เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำ ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ฯ [๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม เกิดในนรก เหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมอัน มีโทษ ๑ วจีกรรมอันมีโทษ ๑ มโนกรรมอันมีโทษ ๑ ทิฐิอันมีโทษ ๑ บุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือน เชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมอันไม่มีโทษ ๑ วจีกรรมอันไม่มีโทษ ๑ มโนกรรมอันไม่มีโทษ ๑ ทิฐิอันไม่มีโทษ ๑ บุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษ- *ฐานไว้ ฯ [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรม อันมีความเบียดเบียน ๑ วจีกรรมอันมีความเบียดเบียน ๑ มโนกรรมอันมีความ เบียดเบียน ๑ ทิฐิอันมีความเบียดเบียน ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ นี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมอันไม่มีความเบียดเบียน ๑ วจีกรรมอันไม่มี ความเบียดเบียน ๑ มโนกรรมอันไม่มีความเบียดเบียน ๑ ทิฐิอันไม่มีความ เบียดเบียน ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ [๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ ๓ มีในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ ๔ มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า นี้สมณะ (ที่๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๒ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้นแล้วกระทำที่สุดทุกข์ได้ นี้สมณะที่ ๒ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะ (เป็นพระอนาคามี) จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่ กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา นี้สมณะที่ ๓ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้สมณะที่ ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะ (ที่๑) มีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอ ทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด ฯ [๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยสัปบุรุษแล้ว พึงหวัง ได้อานิสงส์ ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยศีลที่ เป็นอริยะ ๑ ย่อมเจริญด้วยสมาธิที่เป็นอริยะ ๑ ย่อมเจริญด้วยปัญญาที่เป็นอริยะ ๑ ย่อมเจริญด้วยวิมุตติที่เป็นอริยะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยสัปบุรุษแล้ว พึงหวังได้อานิสงส์ ๔ ประการนี้ ฯ
จบกรรมวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๖๑๙๕-๖๓๘๖ หน้าที่ ๒๖๕-๒๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=6195&Z=6386&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=21&A=6195&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=140              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=232              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=21&A=6637              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=10099              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=21&A=6637              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=10099              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i232-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i232-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.235.than.html https://suttacentral.net/an4.232/en/sujato https://suttacentral.net/an4.233/en/sujato https://suttacentral.net/an4.234/en/sujato https://suttacentral.net/an4.235/en/sujato https://suttacentral.net/an4.236/en/sujato https://suttacentral.net/an4.237/en/sujato https://suttacentral.net/an4.237/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.238/en/sujato https://suttacentral.net/an4.239/en/sujato https://suttacentral.net/an4.240/en/sujato https://suttacentral.net/an4.241/en/sujato https://suttacentral.net/an4.242/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]