ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
พระสูตรที่ไม่จัดเข้าในปัณณาสก์
[๔๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธไว้ ๑ ... ความลบหลู่คุณท่าน ๑ ความตีเสมอ ๑ ... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ... มายา ๑ โอ้อวด ๑ ... ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความ ไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ความไม่มายา ๑ ความ ไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อม อยู่เป็นทุกข์ ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธไว้ ๑ ... ลบหลู่คุณท่าน ๑ ตีเสมอ ๑ ... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ... มายา ๑ โอ้อวด ๑ ... ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ฯ [๔๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อม อยู่เป็นสุข ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธ ไว้ ๑ ... ความไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ความไม่มายา ๑ ความไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นสุข ฯ [๔๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ ภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธ ไว้ ๑ ... ความลบหลู่คุณท่าน ๑ ความตีเสมอ ๑ ... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ... มายา ๑ โอ้อวด ๑ ... ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ฯ [๔๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่ เสื่อมแก่ภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ความไม่มายา ๑ ความไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุที่ ยังเป็นเสขะ ฯ [๔๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการตั้งอยู่ ในนรกเหมือนดังถูกนำมาฝังไว้ ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธไว้ ๑ ... ความลบหลู่คุณท่าน ๑ ความตีเสมอ ๑ ... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ... มายา ๑ โอ้อวด ๑ ... ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาฝังไว้ ฯ [๔๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ตั้งอยู่ ในสวรรค์เหมือนดังถูกนำมาตั้งลงไว้ ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความไม่ โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ไม่มายา ๑ ไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอต- *ตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล ตั้งอยู่ใน สวรรค์เหมือนถูกนำมาตั้งลงไว้ ฯ [๔๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธไว้ ๑ ... ความลบหลู่คุณ ท่าน ๑ ความตีเสมอ ๑ ... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ... มายา ๑ โอ้อวด ๑ ... ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ [๔๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบ ด้วยธรรม ๒ อย่าง เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความไม่ลบหลู่ คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ไม่ มายา ๑ ไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ฯ [๔๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้เป็นอกุศล ... ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้เป็นกุศล ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ มีโทษ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ไม่มีโทษ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีทุกข์เป็นกำไร ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีสุขเป็น กำไร ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีทุกข์เป็นวิบาก ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีสุขเป็นวิบาก ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้เป็นไปกับ ด้วยความเบียดเบียน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ไม่มีความเบียดเบียน ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความ ไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ไม่มายา ๑ ไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ไม่มีความเบียดเบียน ฯ [๔๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่าง นี้ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อำนาจประโยชน์ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ เพื่อความดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ ... เพื่อความข่มบุคคล ผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ ... เพื่อป้องกันอาสวะอัน จักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้อง กันเวรอันจักเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดเวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อ ป้องกันโทษอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดโทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันภัยอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอกุศลธรรมอันจัก บังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่ออนุเคราะห์แก่คฤหัสถ์ ๑ เพื่อเข้าไปตัดรอนฝักฝ่ายของ ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก ๑ ... เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ๑ ... เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่างนี้แล พระตถาคตจึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก ฯ [๔๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่าง นี้ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติปาติโมกข์แก่สาวก ... ทรงบัญญัติปาติโมกข์ขุทเทส ... ทรงบัญญัติการตั้งปาติโมกข์ ... ทรงบัญญัติปวารณา ... ทรงบัญญัติการตั้งปวารณา ... ทรงบัญญัติตัชชนียกรรม ... ทรงบัญญัตินิยัสสกรรม ... ทรงบัญญัติปัพพาชนียกรรม ... ทรงบัญญัติปฏิสารณียกรรม ... ทรงบัญญัติอุกเขปนียกรรม ... ทรงบัญญัติการ ให้ปริวาส ... ทรงบัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ทรงบัญญัติการให้มานัต ... ทรงบัญญัติอัพภาน ... ทรงบัญญัติการเรียกเข้าหมู่ ... ทรงบัญญัติการขับออกจากหมู่ ... ทรงบัญญัติการอุปสมบท ... ทรงบัญญัติญัตติกรรม ... ทรงบัญญัติญัตติทุติยกรรม ... ทรงบัญญัติญัตติจตุตถกรรม ... ทรงบัญญัติสิกขาบทที่ยังไม่ได้ทรงบัญญัติ ... ทรงบัญญัติเพิ่มเติมในสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ... ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ... ทรงบัญญัติสติวินัย ... ทรงบัญญัติอมุฬหวินัย ... ทรงบัญญัติปฏิญญาตกรณะ ... ทรงบัญญัติเยภุยยสิกา ... ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา ... ทรงบัญญัติติณวัตถารกวินัย อำนาจประโยชน์ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ เพื่อความดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญ แห่งสงฆ์ ๑ ... เพื่อความข่มขู่บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีล เป็นที่รัก ๑ ... เพื่อป้องกันอาสวะอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะ อันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันเวรอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด เวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันโทษอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อ กำจัดโทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันภัยอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจักบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่ออนุเคราะห์แก่ คฤหัสถ์ ๑ เพื่อเข้าไปตัดรอนฝักฝ่ายของภิกษุที่มีความปรารถนาลามก ๑ ... เพื่อ ความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ๑ ... เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่างนี้แล พระตถาคตจึงทรงบัญญัติติณ วัตถารกวินัยไว้แก่สาวก ฯ [๔๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งราคะ จึงควร อบรมธรรม ๒ อย่าง ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งราคะ จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้ แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อกำหนดรู้ราคะ ... เพื่อความสิ้นไปรอบแห่งราคะ ... เพื่อละราคะเด็ดขาด ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความสำรอกราคะ ... เพื่อความดับสนิทแห่งราคะ ... เพื่อสละราคะ ... เพื่อปล่อยราคะเสีย จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๓๙] เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ... เพื่อกำหนดรู้ ... เพื่อความ สิ้นไปรอบ ... เพื่อสละ ... เพื่อความสิ้นไป ... เพื่อความเสื่อมไป ... เพื่อความ สำรอก ... เพื่อความดับสนิท ... เพื่อสละ ... เพื่อปล่อยวางซึ่งโทสะ ... ซึ่งโมหะ ... ซึ่งความโกรธ ... ซึ่งความผูกโกรธไว้ ... ซึ่งการลบหลู่คุณท่าน ... ซึ่งการตี เสมอ ... ซึ่งความริษยา ... ซึ่งความตระหนี่ ... ซึ่งมายา ... ซึ่งความโอ้อวด ... ซึ่งความหัวดื้อ ... ซึ่งความแข่งดี ... ซึ่งการถือตัว ... ซึ่งการดูหมิ่นท่าน ... ซึ่ง ความมัวเมา ... ซึ่งความประมาท ... จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ
จบทุกนิบาต
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๒๕๐๘-๒๖๒๙ หน้าที่ ๑๐๘-๑๑๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=2508&Z=2629&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=20&A=2508&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=44              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=425              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=20&A=2465              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1602              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=20&A=2465              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1602              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i425-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i425-02-e.php# https://suttacentral.net/an2.180-229/en/sujato https://suttacentral.net/an2.230-279/en/sujato https://suttacentral.net/an2.280-309/en/sujato https://suttacentral.net/an2.310-479/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]