ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
กามภูสูตร
[๒๙๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระกามภูอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระกามภูออกจากที่พักผ่อน แล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่าน การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านพระอานนท์ จักษุเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ ฯลฯ ใจเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหรือ ฯ ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรท่านพระกามภู จักษุเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของรูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะ อาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็น เครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะ เกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ดูกรท่านพระกามภู โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกัน ด้วยสายทามหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยว เนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวชอบหรือ ฯ กา. ดูกรท่านพระอานนท์ ไม่ใช่เช่นนั้น โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว ทั้งโคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับโคดำ โคดำกับโคขาวนั้น เขาผูกติดกันด้วยสายทาม หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายทามหรือเชือกเส้นเดียวกันนั้น เป็นเครื่องเกี่ยว เนื่องในโคทั้งสองนั้น ฉันใด ฯ อา. ดูกรท่านกามภู ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของรูป รูปก็เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะ อาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็น เครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะ เกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๔๖๐๓-๔๖๒๙ หน้าที่ ๒๐๐-๒๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=4603&Z=4629&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=18&A=4603&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=179              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=299              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=18&A=4181              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=18&A=4181              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i285-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn35.233/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.233/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]