ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๖. โอวาทสูตรที่ ๑
[๔๘๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน เขตพระนคร ราชคฤห์ ... ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้าง หนึ่ง ครั้นท่านพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรกัสสป เธอจงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เราหรือเธอ พึงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย เราหรือเธอพึงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ฯ [๔๘๔] พระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ ภิกษุ ทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนีโดยเคารพ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้าพระองค์ ได้เห็นภิกษุชื่อภัณฑะ ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระอานนท์ และภิกษุชื่ออาภิชชิกะ ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระอนุรุทธ์ กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า จงมาเถิด ภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นาน กว่ากัน ดังนี้ ฯ [๔๘๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจงมา จงเรียกภัณฑภิกษุ สัทธิวิหาริกของอานนท์ และอาภิชชิก- *ภิกษุ สัทธิวิหาริกของอนุรุทธ์ มาตามคำของเราว่า พระศาสดาตรัสเรียกท่านผู้มี อายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า แล้วเข้าไปหา ภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า พระ- *ศาสดาตรัสเรียกท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำภิกษุนั้นว่า ขอรับ ผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๔๘๖] ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถาม ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเธอได้กล่าวล่วงเกินกันและกัน ด้วยสุตะว่า จงมาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าว ได้นานกว่ากัน ดังนี้จริงหรือ ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงไว้แล้วอย่างนี้หรือ หนอ พวกเธอจึงกล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะอย่างนี้ว่า จงมาเถิดภิกษุ ใคร จักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน ฯ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพวกเธอไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่าง นี้ ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอรู้อะไร เห็นอะไร บวชอยู่ในธรรม วินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ ย่อมกล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะไปทำไมเล่าว่า จงมาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าว ได้นานกว่ากัน ฯ [๔๘๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นซบศีรษะใกล้พระบาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้พาลอย่างไร ผู้หลงอย่างไร ผู้ไม่ฉลาดอย่างไร ข้าพระองค์ เหล่าใดบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วอย่างนี้ กล่าวล่วงเกินกัน และกันด้วยสุตะว่า จงมาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดี กว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงรับโทษโดยความเป็นโทษ แห่งข้าพระองค์ทั้งหลายเหล่านั้น เพื่อสำรวม ต่อไป ฯ [๔๘๘] พ. เอาเถิดภิกษุทั้งหลาย โทษได้ครอบงำพวกเธอ ผู้พาลอย่าง ไร ผู้หลงอย่างไร ผู้ไม่ฉลาดอย่างไร เธอเหล่าใดบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวดี แล้วอย่างนี้ ได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า จงมาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าว ได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน ดังนี้ ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล พวกเธอมาเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนเสีย ตามสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้นเราทั้งหลายขอรับโทษนั้นของเธอเหล่านั้น ก็การที่ บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนเสียตามสมควรแก่ธรรม และถึง ความสำรวมต่อไปนี้ เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยเจ้า ฯ
จบสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๓๗๑-๕๔๒๔ หน้าที่ ๒๒๖-๒๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=5371&Z=5424&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=16&A=5371&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=144              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=483              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=16&A=4834              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=4339              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=16&A=4834              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=4339              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i462-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn16.6/en/sujato https://suttacentral.net/sn16.6/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]