ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
เวปจิตติสูตรที่ ๔
[๘๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ฯลฯ [๘๖๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสกะพวกอสูรว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึง ปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงมัดท้าวสักกะจอมเทวดา ด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอ เป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ท้าว สักกะจอมเทวดาก็บัญชากะเทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรถึง ปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงมัดท้าวเวปจิตติจอมอสูร ด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอ เป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังสุธรรมาสภา ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ในสงครามครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรปราชัย ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้จับท้าวเวปจิตติจอมอสูรมัดด้วยการมัดห้าแห่ง อันมีคอเป็นที่ ๕ แล้วนำมายัง สุธรรมาสภา ในสำนักของท้าวสักกะจอมเทวดา ฯ [๘๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ทราบว่า ในครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอม อสูรถูกมัดด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอเป็นที่ ๕ ได้ด่าบริภาษท้าวสักกะจอมเทวดา ซึ่งกำลังเสด็จเข้าและออกยังสุธรรมาสภา ด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของ สัตบุรุษ ฯ [๘๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีเทพบุตร ผู้สงเคราะห์ได้ ทูลถามท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยคาถาว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๘.

ข้าแต่ท้าวสักกะมัฆวาน พระองค์ได้ทรงสดับถ้อยคำอัน หยาบคาย เฉพาะหน้า ของท้าวเวปจิตติจอมอสูร ยังทรง อดทนได้ เพราะความกลัว หรือเพราะไม่มีกำลัง พระเจ้าข้า ฯ [๘๗๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า เราอดทนถ้อยคำอันหยาบคายของท้าวเวปจิตติได้ เพราะ ความกลัวหรือเพราะไม่มีกำลัง ก็หาไม่ วิญญูชนผู้เช่นเรา ไฉนจะพึงโต้ตอบกับคนพาลเล่า ฯ [๘๗๒] มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า คนพาลพึงทำลายได้อย่างยิ่ง ถ้าไม่พึงเกียดกันเสียก่อน เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงเกียดกันคนพาลด้วยอาชญาอย่าง รุนแรง ฯ [๘๗๓] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบระงับได้ เราเห็นว่า การสงบระงับได้ของผู้นั้นแล เป็นการเกียดกันคนพาลละ ฯ [๘๗๔] มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท้าววาสวะ ข้าพระองค์เห็นโทษในความอดทนนี้แล เมื่อใด คนพาลย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า ผู้นี้ย่อมอดกลั้น ต่อเราเพราะความกลัว เมื่อนั้น คนมีปัญญาทรามยิ่งข่มขี่ผู้นั้น เหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัวที่แพ้หนีไป ฉะนั้น ฯ [๘๗๕] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะความกลัวหรือ หาไม่ก็ตามที ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็น อย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใดแลเป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อคนผู้ทุรพลไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิต

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๙.

ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คนทุรพลจำต้องอดทนอยู่ เป็นนิตย์ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวกำลังของผู้ซึ่งมีกำลังอย่าง คนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าวโต้ต่อผู้มีกำลังผู้ซึ่ง ธรรมคุ้มครองแล้วได้เลย เพราะความโกรธนั้น โทษที่ลามก จึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่ โกรธ ย่อมชื่อว่าชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติ ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนที่ ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้รักษาประโยชน์ของ ทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและของคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้ ฯ [๘๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น เข้าไป อาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็น อิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ยังจักพรรณนาคุณของขันติและโสรัจจะได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พวกเธอบวชแล้วในธรรมวินัยที่เรากล่าวชอบแล้ว เช่นนี้ เป็นผู้อดทนและสงบเสงี่ยมนี้ จะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๗๑๑๓-๗๑๗๓ หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=7113&Z=7173&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=15&A=7113&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=250              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=867              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=15&A=6333              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=8388              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=15&A=6333              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=8388              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i847-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn11/sn11.004.olen.html https://suttacentral.net/sn11.4/en/sujato https://suttacentral.net/sn11.4/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]