ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
วิปัตติปัจจยวารที่ ๔
[๘๗๔] ถามว่า เพราะปัจจัยคือศีลวิบัติ ต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า เพราะปัจจัยคือ ศีลวิบัติ ต้องอาบัติ ๔ คือ ๑. ภิกษุณีรู้อยู่ ปิดปาราชิกธรรม ต้องอาบัติปาราชิก. ๒. สงสัย ปิดไว้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ๓. ภิกษุปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ๔. ปิดอาบัติชั่วหยาบของตน ต้องอาบัติทุกกฏ. เพราะปัจจัยคือศีลวิบัติ ต้องอาบัติ ๔ เหล่านี้. ถามว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔? ... ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗? ... ตอบว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็นศีลวิบัติ บางที เป็นอาจารวิบัติ. สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๔ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กายวาจาและจิต. จัด เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔. ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขา วินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑. [๘๗๕] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ อาจารวิบัติ ต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ อาจารวิบัติ ต้องอาบัติ ๑ คือ ปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติ ทุกกฏ. เพราะปัจจัย คือ อาจารวิบัติ ต้องอาบัติ ตัว ๑ นี้ ถามว่า อาบัตินั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔? ... ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดา สมถะ ๗? ตอบว่า อาบัตินั้นจัดเป็นวิบัติอันหนึ่ง บรรดาวิบัติ ๔ คืออาจารวิบัติ สงเคราะห์ด้วย กองอาบัติหนึ่ง บรรดากองอาบัติ ๗ คือด้วยกองอาบัติทุกกฏ. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขา วินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑ [๘๗๖] ถามว่า เพราะปัจจัย คือทิฏฐิวิบัติ ต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า เพราะปัจจัย คือทิฏฐิวิบัติ ต้องอาบัติ ๒ คือ ๑. ไม่สละทิฏฐิอันลามก เพราะสวดประกาศห้ามครบ ๓ จบ จบญัตติเป็นทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง เป็นอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ๒. จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เพราะปัจจัย คือ ทิฏฐิวิบัติ ต้องอาบัติ ๒ เหล่านี้. ถามว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔? ... ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗ ตอบว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๑ บรรดาวิบัติ ๔ คืออาจารวิบัติ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๒ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือเกิดแต่กาย วาจา และจิต จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔. ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑. [๘๗๗] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ อาชีววิบัติ ต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ อาชีววิบัติ ต้องอาบัติ ๖ คือ ๑. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุผู้ปรารถนาลามกอันความ ปรารถนาครอบงำ อวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มี ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก. ๒. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุถึงความเป็นผู้เที่ยวชักสื่อ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๓. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหาร ของท่าน ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์ เมื่อผู้ฟังเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ๔. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุขอโภชนะอันประณีต เพื่อ ประโยชน์ตนมาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ๕. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุณีขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์ตนมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. ๖. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุไม่อาพาธ ขอแกงก็ดี ข้าวสุก ก็ดี เพื่อประโยชน์ตนมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. เพราะปัจจัย คือ อาชีววิบัติ ต้องอาบัติ ๖ เหล่านี้. ถามว่า อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔? ... ระงับด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗? ตอบว่า อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือบางทีเป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ. สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๖ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางที ด้วยกองอาบัติปาฏิเทสนียะ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ. เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ บางทีเกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่วาจา มิใช่กาย มิใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กายกับวาจา มิใช่จิต ๑ บางที เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑ บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑ บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๓ บรรดาสมถะ ๗ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.
วิปัตติปัจจยวาร ที่ ๔ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๖๕๘๙-๖๖๖๒ หน้าที่ ๒๕๑-๒๕๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=6589&Z=6662&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=8&A=6589&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=66              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=874              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=8&A=5113              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=8&A=5113              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/brahmali#pli-tv-pvr4:64.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/horner-brahmali#Prv.4.5

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]