ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
กตาปัตติวารที่ ๒
คำถามและคำตอบอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
[๔๘๗] ถามว่า เพราะปัจจัยคือเสพเมถุนธรรม ภิกษุและภิกษุณี ต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ เสพเมถุนธรรม ภิกษุและภิกษุณี ต้องอาบัติ ๔ คือ เสพ เมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์มิได้กัด ต้องอาบัติปาราชิก ๑ เสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์กัดแล้ว โดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ สอดองค์กำเนิดเข้าในปากที่อ้า มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เป็นปาจิตตีย์ในเพราะท่อนยางกลม ๑ เพราะปัจจัยคือเสพเมถุนธรรม ภิกษุและภิกษุณี ต้องอาบัติ ๔ เหล่านี้. [๔๘๘] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของมิได้ให้ ภิกษุและภิกษุณี ต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของมิได้ให้ ภิกษุและภิกษุณีต้องอาบัติ ๓ คือ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของมิได้ให้ เป็นส่วนแห่งโจรกรรมมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของมิได้ให้ เป็นส่วนแห่งโจรกรรม มีราคา เกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของมิได้ ให้ เป็นส่วนหนึ่งแห่งโจรกรรม มีราคา ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เพราะปัจจัย คือ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของมิได้ให้ ภิกษุและภิกษุณีต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้. [๔๘๙] ถามว่า เพราะปัจจัย คือแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ภิกษุและภิกษุณีต้อง อาบัติเท่าไร? ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ภิกษุและภิกษุณีต้องอาบัติ ๓ คือ ขุดบ่อเจาะจงมนุษย์ว่าจักตกลงตาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เมื่อตกแล้วทุกขเวทนาเกิดขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ตาย ต้องอาบัติปาราชิก ๑ เพราะปัจจัย คือ แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ภิกษุและภิกษุณีต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้. [๔๙๐] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มี ไม่เป็นจริง ภิกษุและภิกษุณีต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มี ไม่เป็นจริง ภิกษุ และภิกษุณีต้องอาบัติ ๓ คือ ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ กล่าวอวด อุตตริมนุสสธรรม อันไม่มี ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก ๑ กล่าวว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของ ท่าน ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์ เมื่อผู้ฟังเข้าใจความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เมื่อไม่เข้าใจความ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เพราะปัจจัย คือ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มี ไม่เป็นจริง ภิกษุ และภิกษุณีต้องอาบัติ ๓ เหล่านี้.
คำถามและคำตอบในสังฆาทิเสสกัณฑ์
[๔๙๑] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ พยายามปล่อยอสุจิ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ พยายามปล่อยอสุจิ ภิกษุต้องอาบัติ ๓ คือ ตั้งใจพยายาม อสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตั้งใจพยายาม แต่อสุจิไม่เคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เป็นทุกกฏในประโยค ๑. [๔๙๒] เพราะปัจจัย คือ ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ภิกษุและภิกษุณีต้องอาบัติ ๕ คือ ภิกษุณีมีความกำหนัด ยินดีในการจับต้องอวัยวะใต้รากขวัญลงมา หรือเหนือหัวเข่าขึ้นไป ของบุรุษบุคคลผู้มีความกำหนัด ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ภิกษุจับต้องกายด้วยกาย ต้องอาบัติสังฆา- *ทิเสส ๑ เอากายถูกต้องของเนื่องด้วยกายต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องของ เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เป็นปาจิตตีย์ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ ๑ เพราะปัจจัย คือ ถึงความ เคล้าคลึงด้วยกาย ต้องอาบัติ ๕ เหล่านี้. [๔๙๓] เพราะปัจจัย คือ พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ภิกษุต้องอาบัติ ๓ คือ พูดชมก็ดี พูดติก็ดี พาดพิงวัจจมรรค ปัสสาวมรรค ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ พูดชมก็ดี พูด ติก็ดี พาดพิงอวัยวะใต้รากขวัญลงมา เหนือหัวเข่าขึ้นไป เว้นวัจจมรรค ปัสสาวมรรค ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ๑ พูดชมก็ดี พูดติก็ดี พาดพิงของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ ๑. [๔๙๔] เพราะปัจจัย คือ กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม ภิกษุต้องอาบัติ ๓ คือ กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคาม ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ กล่าวคุณแห่งการ บำเรอตนด้วยกาม ในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม ในสำนักดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑. [๔๙๕] เพราะปัจจัย คือ ถึงความเป็นผู้เที่ยวชักสื่อ ภิกษุต้องอาบัติ ๓ คือ รับคำ นำไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ รับคำ นำไปบอก แต่ไม่กลับมาบอก ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ๑ รับคำ แต่ไม่นำไปบอก และไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ ๑. [๔๙๖] เพราะปัจจัย คือ ให้ทำกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง ต้องอาบัติ ๓ คือ ให้ทำ เป็นทุกกฏในประโยค ๑ เมื่อก้อนดินอีกก้อนหนึ่งยังไม่มา ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เมื่อก้อนดินนั้น มาแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑. [๔๙๗] เพราะปัจจัย คือ ให้ทำวิหารใหญ่ ต้องอาบัติ ๓ คือ ให้ทำเป็นทุกกฏใน ประโยค ๑ เมื่อก้อนดินอีกก้อนหนึ่งยังไม่มา ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ เมื่อก้อนดินนั้นมาแล้ว ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส ๑. [๔๙๘] เพราะปัจจัย คือ ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก อันหามูลมิได้ ต้องอาบัติ ๓ คือ ไม่ให้ทำโอกาสประสงค์จะให้เคลื่อน โจทต้องอาบัติทุกกฏ ๑ กับสังฆาทิเสส ๑ ให้ทำโอกาสประสงค์จะด่า โจท ต้องอาบัติโอมสวาท ๑. [๔๙๙] เพราะปัจจัย คือ ถือเอาเอกเทศบางอย่างแห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น ให้เป็น เพียงเลศ ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก ต้องอาบัติ ๓ คือ ไม่ให้ทำโอกาส ประสงค์ จะให้เคลื่อน โจท ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ กับสังฆาทิเสส ๑ ให้ทำโอกาสประสงค์จะด่า โจท ต้อง อาบัติโอมสวาท ๑. [๕๐๐] เพราะปัจจัย คือ ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ภิกษุผู้ ทำลายสงฆ์ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติเป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบ กรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑. [๕๐๑] เพราะปัจจัย คือ ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ภิกษุผู้ ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑. [๕๐๒] เพราะปัจจัย คือ ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ภิกษุผู้ว่า ยาก ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติ เป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรม วาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑. [๕๐๓] เพราะปัจจัย คือ ไม่สละกรรมเพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ ภิกษุผู้ ประทุษร้ายสกุล ต้องอาบัติ ๓ คือ จบญัตติเป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจาสองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ... [๕๐๔] ถามว่า เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือ บ้วนเขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. เพราะปัจจัย คือ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงในน้ำ ภิกษุต้องอาบัติตัวหนึ่งนี้.
กตาปัตติวาร ที่ ๒ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๓๔๔๓-๓๕๒๗ หน้าที่ ๑๓๑-๑๓๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=3443&Z=3527&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=8&A=3443&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=34              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=487              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=8&A=2575              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=8&A=2575              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.10/en/brahmali# https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.10/en/horner-brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]