ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๑. อุกโกฏนเภทาทิ

อธิกรณเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งอธิกรณ์
๑. อุกโกฏนเภทาทิ
ว่าด้วยประเภทการรื้อฟื้น เป็นต้น
[๓๔๐] อธิกรณ์มี ๔ อย่าง คือ ๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์ ๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์มี ๔ อย่างเหล่านี้ ถาม : การรื้อฟื้นอธิกรณ์ ๔ อย่างนี้ มีเท่าไร ตอบ : การรื้อฟื้นอธิกรณ์ ๔ อย่างนี้ มี ๑๐ อย่าง คือ รื้อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ มี ๒ รื้อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์มี ๔ รื้อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์มี ๓ รื้อฟื้นกิจจาธิกรณ์มี ๑ การรื้อฟื้นอธิกรณ์ ๔ อย่างนี้ มี ๑๐ อย่างเหล่านี้ ถาม : เมื่อรื้อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อรื้อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อรื้อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อ รื้อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร ตอบ : เมื่อรื้อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะ ๒ อย่าง เมื่อรื้อฟื้น อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะ ๔ อย่าง เมื่อรื้อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้น สมถะ ๓ อย่าง เมื่อรื้อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะอย่างเดียว
ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ เป็นต้น
[๓๔๑] ถาม : การรื้อฟื้นมีเท่าไร ด้วยอาการเท่าไร จึงนับว่ารื้อฟื้น บุคคล ประกอบด้วยองค์เท่าไร จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ บุคคลกี่จำพวก เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์ ย่อมต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๑๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๑. อุกโกฏนเภทาทิ

ตอบ : การรื้อฟื้นมี ๑๒ อย่าง ด้วยอาการ ๑๐ จึงนับว่ารื้อฟื้น บุคคล ประกอบด้วยองค์ ๔ จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ บุคคล ๔ จำพวก เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์ ย่อมต้องอาบัติ การรื้อฟื้นมี ๑๒ อย่าง คือ ๑. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำ ๒. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ทำไม่ดี ๓. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ควรทำใหม่ ๔. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ยังทำไม่เสร็จ ๕. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ทำเสร็จแล้วไม่ดี ๖. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ควรทำอีก ๗. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ยังไม่ได้วินิจฉัย ๘. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์วินิจฉัยไม่ถูกต้อง ๙. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ควรวินิจฉัยใหม่ ๑๐. รื้อฟื้นกรรมที่ยังไม่ระงับ ๑๑. รื้อฟื้นกรรมที่ระงับแล้วไม่ดี ๑๒. รื้อฟื้นกรรมที่ควรระงับใหม่ การรื้อฟื้นมี ๑๒ อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง จึงนับว่ารื้อฟื้น คือ ๑. รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่เกิดในที่นั้น ๒. รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่เกิดในที่นั้นแต่ระงับแล้ว ๓. รื้อฟื้นอธิกรณ์ในระหว่างทาง ๔. รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ระงับแล้วในระหว่างทาง ๕. รื้อฟื้นอธิกรณ์อันไปแล้วในที่นั้น ๖. รื้อฟื้นอธิกรณ์อันไปแล้วแต่ระงับแล้ว ๗. รื้อฟื้นสติวินัย ๘. รื้อฟื้นอมูฬหวินัย ๙. รื้อฟื้นตัสสปาปิยสิกา ๑๐. รื้อฟื้นติณวัตถารกะ ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้ จึงนับว่ารื้อฟื้น บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ ๒. ลำเอียงเพราะชังจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๒๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๒. อธิกรณนิทานาทิ

๓. ลำเอียงเพราะหลงจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ ๔. ลำเอียงเพราะกลัวจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ บุคคล ๔ จำพวก เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์ ย่อมต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุผู้อุปสมบทในวันนั้นแล้วรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ๒. ภิกษุเป็นอาคันตุกะรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ๓. ภิกษุผู้กระทำรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ๔. ภิกษุผู้ให้ฉันทะรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น บุคคล ๔ จำพวกนี้ เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์ ย่อมต้องอาบัติ
๒. อธิกรณนิทานาทิ
ว่าด้วยนิทานแห่งอธิกรณ์ เป็นต้น
[๓๔๒] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีวิวาทเป็นนิทาน มีวิวาทเป็นสมุทัย มีวิวาทเป็นชาติ มีวิวาทเป็นแดนเกิดก่อน มีวิวาทเป็นองค์ มีวิวาทเป็นสมุฏฐาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๒๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๓. อธิกรณมูลาทิ

อนุวาทาธิกรณ์ มีอนุวาทเป็นนิทาน มีอนุวาทเป็นสมุทัย มีอนุวาทเป็นชาติ มีอนุวาทเป็นแดนเกิดก่อน มีอนุวาทเป็นองค์ มีอนุวาทเป็นสมุฏฐาน อาปัตตาธิกรณ์ มีอาบัติเป็นนิทาน มีอาบัติเป็นสมุทัย มีอาบัติเป็นชาติ มีอาบัติเป็นแดนเกิดก่อน มีอาบัติเป็นองค์ มีอาบัติเป็นสมุฏฐาน กิจจาธิกรณ์ มีกิจเป็นนิทาน มีกิจเป็นสมุทัย มีกิจเป็นชาติ มีกิจเป็นแดน เกิดก่อน มีกิจเป็นองค์ มีกิจเป็นสมุฏฐาน ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ
๓. อธิกรณมูลาทิ
ว่าด้วยมูลเหตุอธิกรณ์ เป็นต้น
[๓๔๓] ถาม : อธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : อธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุ ๓๓ มีสมุฏฐาน ๓๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๒๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ

ถาม : อธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุ ๓๓ อย่างไร ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีมูลเหตุ ๑๒ อนุวาทาธิกรณ์ มีมูลเหตุ ๑๔ อาปัตตาธิกรณ์ มีมูลเหตุ ๖ กิจจาธิกรณ์ มีมูลเหตุเดียวคือสงฆ์ รวมอธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุ ๓๓ นี้ ถาม : อธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓ อย่างไร ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีเรื่องทำความแตกกัน ๑๘ เรื่อง เป็นสมุฏฐาน อนุวาทาธิกรณ์ มีวิบัติ ๔ เป็นสมุฏฐาน อาปัตตาธิกรณ์ มีอาบัติ ๗ กอง เป็น สมุฏฐาน กิจจาธิกรณ์ มีกรรม ๔ เป็นสมุฏฐาน รวมอธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓ นี้
๔. อธิกรณปัจจยาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติมีอธิกรณ์เป็นปัจจัย
[๓๔๔] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ ถาม : ก็เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ ตอบ : ถูกแล้ว เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ถาม : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. ด่าอุปสัมบันต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๒. ด่าอนุปสัมบันต้องอาบัติทุกกฏ เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๒ อย่างนี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติอย่างไหน บรรดา อธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๒๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ

อาบัติไหน บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ระงับ ด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๒) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ระงับด้วย อธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ สำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
ว่าด้วยอนุวาทาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[๓๔๕] ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ ถาม : ก็เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ ตอบ : ถูกแล้ว เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ถาม : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒. ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๓. ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาจิตตีย์ที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๓ อย่างนี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๒๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ

บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่างจัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๓) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน อาบัติหนักระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๑ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ อาบัติเบาระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ ในสำนัก บุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
ว่าด้วยอาปัตตาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[๓๔๖] ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ ถาม : ก็เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติหรือ ตอบ : ถูกแล้ว เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติ ถาม : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ ๑. ภิกษุณี รู้อยู่ ปกปิดภิกษุณีผู้ต้องอาบัติปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก ๒. สงสัยปกปิดไว้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๔. ปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติ ๔ อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๒๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ

ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดา อธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากอง อาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้าอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ บรรดา สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทาง กายวาจากับจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือระงับด้วยอธิกรณ์ไหนไม่ได้ ระงับในฐานะไหน ไม่ได้ ระงับด้วยสมถะไหนไม่ได้ อาบัติเบาระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับ ใน ๓ ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ ในสำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
ว่าด้วยกิจจาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[๓๔๗] ถาม : กิจจาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ ตอบ : กิจจาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ ถาม : ก็เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ ตอบ : ถูกแล้ว เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ถาม : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ ๑. ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ไม่ยอมสละ กรรมจนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง จบญัตติต้องอาบัติ ทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๒๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ

๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้งต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้ายต้องอาบัติปาราชิก ๔. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๕. ภิกษุไม่ละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๕ อย่างนี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดา อธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้า กองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก (๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๕) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ระงับด้วยอธิกรณ์ไหน ไม่ได้ ระงับในฐานะไหนไม่ได้ ระงับด้วยสมถะไหนไม่ได้ อาบัติหนักระงับด้วย อธิกรณ์เดียว คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับในฐานะเดียว คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับ ด้วยสมถะ ๒ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ อาบัติเบาระงับด้วย อธิกรณ์เดียว คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ ในสำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๒๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๑๙-๕๒๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=92              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=9021&Z=9201                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1046              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1046&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=11034              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1046&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=11034                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr11/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr11/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :