ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑. อนิสสิตวรรค

อุปาลิปัญจกะ
ว่าด้วยเรื่องพระอุบาลี ๕ หมวด
๑. อนิสสิตวรรค
หมวดว่าด้วยการไม่ถือนิสัย
[๔๑๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร หนอแล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ จะพึงอยู่โดยไม่ถือ นิสัยตลอดชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม ๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส ๕. มีพรรษาหย่อน ๕ อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้ องค์ ๕ คือ ๑. รู้อุโบสถ ๒. รู้อุโบสถกรรม ๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส ๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๘๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑. อนิสสิตวรรค

องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอด ชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่รู้ปวารณา ๒. ไม่รู้ปวารณากรรม ๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส ๕. มีพรรษาหย่อน ๕ อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้ องค์ ๕ คือ ๑. รู้ปวารณา ๒. รู้ปวารณากรรม ๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส ๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอด ชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. มีพรรษาหย่อน ๕ อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๙๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑. อนิสสิตวรรค

องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้ องค์ ๕ คือ ๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้”
ภิกษุที่ไม่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น
[๔๑๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึง ให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ ๑. ไม่สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือ สัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้ ๒. ไม่สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน ๓. ไม่สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่ เกิดขึ้นโดยธรรม ๔. ไม่สามารถแนะนำในอภิธรรม ๕. ไม่สามารถแนะนำในอภิวินัย อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๙๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑. อนิสสิตวรรค

ภิกษุที่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ ๑. สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิ- วิหาริกผู้เป็นไข้ ๒. สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน ๓. สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอัน เกิดขึ้นโดยธรรม ๔. สามารถแนะนำในอภิธรรม ๕. สามารถแนะนำในอภิวินัย อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก
ภิกษุที่ไม่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ ๑. ไม่สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา ๒. ไม่สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ๓. ไม่สามารถแนะนำในอธิศีล ๔. ไม่สามารถแนะนำในอธิจิต ๕. ไม่สามารถแนะนำในอธิปัญญา อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๙๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑. อนิสสิตวรรค

ภิกษุที่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ ๑. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา ๒. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ๓. สามารถแนะนำในอธิศีล ๔. สามารถแนะนำในอธิจิต ๕. สามารถแนะนำในอธิปัญญา อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก
องค์ ๕ ของภิกษุผู้ถูกลงโทษ
[๔๑๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา ๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๕. มีอาชีววิบัติ อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ ๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิศีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๕. มีอาชีววิบัติ อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๙๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑. อนิสสิตวรรค

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ ๑. เล่นคะนองกาย ๒. เล่นคะนองวาจา ๓. เล่นคะนองทั้งกายและวาจา ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๕. มีอาชีววิบัติ อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ ๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา ๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งกายและทางวาจา ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๕. มีอาชีววิบัติ อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ ๑. ทำลายพระบัญญัติทางกาย ๒. ทำลายพระบัญญัติทางวาจา ๓. ทำลายพระบัญญัติทั้งทางกายและทางวาจา ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๕. มีอาชีววิบัติ อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ ๑. ประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๒. ประกอบมิจฉาชีพทางวาจา ๓. ประกอบมิจฉาชีพทางกายและทางวาจา ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๕. มีอาชีววิบัติ อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๙๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

หัวข้อประจำวรรค

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ ๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ แต่ยังให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ ๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงโทษ ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม ๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ ๑. กล่าวติเตียนพระพุทธ ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม ๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๕. มีอาชีววิบัติ อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
อนิสสิตวรรคที่ ๑ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ไม่รู้อุโบสถ ไม่รู้ปวารณา ไม่รู้อาบัติ ไม่สามารถพยาบาลภิกษุไข้ ไม่สามารถฝึกในอภิสมาจาร สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้เป็นอลัชชี มีสีลวิบัติในอธิศีล เล่นคะนอง ประพฤติไม่สมควร ทำลายพระบัญญัติ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกลงโทษ ตำหนิพระพุทธเจ้า รวมเป็นวรรคที่ ๑ แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๙๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๘๙-๕๙๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=106              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=10476&Z=10662                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1161              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1161&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=11571              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1161&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=11571                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/brahmali# https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :