ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

๗. สังฆเภทขันธกะ
๑. ปฐมภาณวาร
ฉสักยปัพพัชชากถา
ว่าด้วยการบรรพชาของเจ้าศากยะ ๖ องค์
[๓๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคมของพวกมัลล- กษัตริย์ ครั้งนั้น พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงออกผนวชตามพระผู้มีพระภาคผู้ทรง ผนวชแล้ว สมัยนั้น เจ้ามหานามศากยะและเจ้าอนุรุทธศากยะทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เจ้าอนุรุทธศากยะเป็นกษัตริย์ผู้สุขุมาลชาติ มีปราสาท ๓ หลัง คือ ปราสาทสำหรับ อยู่ในฤดูหนาว ๑ หลัง ปราสาทสำหรับอยู่ในฤดูร้อน ๑ หลัง ปราสาทสำหรับอยู่ ในฤดูฝน ๑ หลัง เจ้าอนุรุทธศากยะนั้นได้รับการบำรุงบำเรอด้วยดนตรีที่มีเหล่าสตรี ล้วนขับกล่อมตลอด ๔ เดือน ในปราสาทฤดูฝน ไม่ลงมาที่ปราสาทชั้นล่างเลย ต่อมา เจ้ามหานามศากยะได้ทรงดำริดังนี้ว่า “เวลานี้พวกศากยกุมารที่มีชื่อ เสียงต่างออกบวชตามเสด็จพระผู้มีพระภาคผู้ทรงผนวชแล้ว แต่ตระกูลของเรายังไม่ มีใครออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ถ้ากระไร เราหรืออนุรุทธะควรบวช” ลำดับนั้น เจ้ามหานามศากยะเข้าไปหาเจ้าอนุรุทธศายกะถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว ได้ตรัสกับเจ้าอนุรุทธศากยะดังนี้ว่า “เวลานี้พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงต่างออกบวช ตามพระผู้มีพระภาคผู้ทรงผนวชแล้ว แต่ตระกูลของเรายังไม่มีใครออกจากเรือน บวช เป็นบรรพชิตเลย น้องจงบวชหรือว่าพี่จะบวช” เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติ ไม่สามารถออกบวชได้ เจ้าพี่จงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๖๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

เจ้ามหานามศากยะตรัสว่า “ดีแล้วน้องอนุรุทธะ พี่จะสั่งสอนวิธีการครองเรือน แก่เธอเพื่อจะได้ครองเรือนต่อไป อันดับแรก ผู้ครองเรือนต้องให้ไถนา ครั้นแล้วให้ หว่านข้าว ครั้นแล้วให้ไขน้ำเข้า ครั้นแล้วให้ระบายน้ำออก ครั้นแล้วให้ถอนหญ้า ครั้น แล้วให้เกี่ยวข้าว ครั้นแล้วให้ขนข้าว ครั้นแล้วให้ตั้งลอม ครั้นแล้วให้นวด ครั้นแล้ว ให้สางฟางออก ครั้นแล้วฝัดข้าวลีบออก ครั้นแล้วฝัดละอองออก ครั้นแล้วให้ขนเก็บ ในฉาง ครั้นพอถึงฤดูฝนก็ต้องทำอย่างนี้ต่อเรื่อยไป” เจ้าอนุรุทธศากยะทูลถามว่า “การงานไม่มีที่จบสิ้น ที่สุดของการทำงานไม่ปรากฏ การงานจะสิ้นไปเมื่อไร ที่สุดของการงานจักปรากฏเมื่อไร เมื่อไรเล่าที่พวกเราจักว่าง จากการงาน เพียบพร้อมสมบูรณ์ด้วยกามคุณ ๕ บำรุงบำเรออยู่” เจ้ามหานามศากยะตรัสตอบว่า “น้องอนุรุทธะ การงานไม่มีที่จบสิ้น ที่สุดของ การงานไม่ปรากฏ ในเมื่อการงานยังไม่จบสิ้น มารดาบิดา ปู่ย่า ตายายก็พากันตาย จากไป” เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “ถ้าเช่นนั้น เจ้าพี่จงเรียนรู้ถึงวิธีครองเรือนจะดีกว่า หม่อมฉันจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต” จากนั้น เจ้าอนุรุทธศากยะเข้าไปเฝ้าพระมารดาถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ กราบทูลพระมารดาดังนี้ว่า “เสด็จแม่ หม่อมฉันอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เสด็จแม่โปรดอนุญาตให้หม่อมฉันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด” เมื่อเจ้าอนุรุทธศากยะกราบทูลอย่างนี้ พระมารดาตรัสตอบเจ้าอนุรุทธศากยะ ดังนี้ว่า “ลูกอนุรุทธะ พวกเธอเป็นลูก ๒ คน เป็นที่รักที่ชอบใจของแม่เหลือเกิน ถึงพวกเธอจะตายไป แม่ก็ไม่ปรารถนาจะจาก แล้วเหตุไฉนแม่จะยอมให้พวกเธอผู้ ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิตเล่า” แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าอนุรุทธศากยะก็กราบทูลพระมารดาดังนี้ว่า “เสด็จแม่ หม่อม ฉันอยากออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เสด็จแม่โปรดอนุญาตให้หม่อมฉันออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๖๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

เรื่องพระเจ้าภัททิยศากยะ
สมัยนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะครองราชสมบัติของชาวศากยวงศ์ พระองค์ทรง เป็นพระสหายของเจ้าอนุรุทธศากยะ ครั้งนั้น พระมารดาของเจ้าอนุรุทธศากยะทรงดำริว่า “พระเจ้าภัททิยศากยะนี้ ครองราชสมบัติของชาวศากยวงศ์ ทรงเป็นพระสหายของลูกอนุรุทธะ พระองค์จะไม่ สามารถเสด็จออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิตแน่” จึงตรัสกับเจ้าอนุรุทธศากยะดังนี้ ว่า “ลูกอนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิยศากยะจะเสด็จออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิตด้วย ลูกก็จงบวชเถิด” ต่อมา เจ้าอนุรุทธศากยะจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยศากยะถึงที่ประทับ ครั้น ถึงแล้วได้ทูลพระเจ้าภัททิยศากยะดังนี้ว่า “เพื่อนรัก การบวชของเราเกี่ยวเนื่องกับ ท่าน” พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก การบวชของท่านจะเกี่ยวเนื่องกับเรา หรือไม่เกี่ยวเนื่องกับเรา ก็ช่างเถิด เรากับท่าน ท่านจงบวชตามสบายเถิด”๑- เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “มาเถิด เพื่อนรัก เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตด้วยกัน” พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย ไม่ได้ เพื่อนบวชคนเดียวเถิด เรายินดีช่วยเหลือเรื่องที่อาจช่วยได้” เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “พระมารดาของเรารับสั่งว่า ‘ลูกอนุรุทธะ ถ้าพระเจ้า ภัททิยศากยะจะเสด็จออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิตด้วย ลูกก็จงบวชเถิด’ ก็เพื่อน ได้กล่าววาจานี้ว่า ‘การบวชของท่านจะเกี่ยวเนื่องกับเรา หรือไม่เกี่ยวเนื่องกับเรา ก็ ช่างเถิด เรากับท่าน ท่านไปบวชตามสบายเถิด’ มาเถิด เพื่อนรัก เราทั้ง ๒ จะ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน” @เชิงอรรถ : @ ด้วยความรักเพื่อน พระเจ้าภัททิยศากยะต้องการจะรับสั่งว่า “เราจะบวชกับท่าน” แต่ยังทรงห่วงราชสมบัติ @จึงรับสั่งได้เพียงว่า “อยํ ตยา : เรากับท่าน” แล้วรับสั่งไม่ออก (วิ.อ. ๓/๓๓๐/๓๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๖๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

สมัยนั้น ประชาชนพูดจริงทำจริง พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสกับอนุรุทธศากยะ ดังนี้ว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรออยู่สัก ๗ ปีเถิด พอพ้น ๗ ปี เราทั้ง ๒ จะออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน” เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “๗ ปี นานเกินไป เราไม่สามารถจะรอถึง ๗ ปีได้” พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก โปรดรอสัก ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี ... เมื่อล่วง ๑ ปี เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตด้วยกัน” เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “๑ ปี ก็ยังนานเกินไป เราไม่สามารถรอถึง ๑ ปีได้” พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรอสัก ๗ เดือน พอพ้น ๗ เดือน เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน” เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “๗ เดือนก็ยังนานเกินไป เราไม่สามารถรอถึง ๗ เดือน ได้” พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรอสัก ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... ครึ่งเดือน พอพ้น ครึ่งเดือน เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน” เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “ครึ่งเดือนก็ยังนานเกินไป เราไม่สามารถรอถึงครึ่ง เดือนได้” พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรอสัก ๗ วันเถิด พอให้เรา ได้มอบราชสมบัติแก่พวกลูกๆ และญาติพี่น้อง” เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “เพื่อนรัก ๗ วันไม่นานเกินไป เราจะรอ”
เรื่องเจ้าศากยะทรงผนวช
[๓๓๑] ครั้งนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะ เจ้าอนุรุทธะ เจ้าอานนท์ เจ้าภคุ เจ้า กิมพิละและเจ้าเทวทัต กับอุบาลีซึ่งเป็นช่างกัลบก รวมเป็น ๗ คน เสด็จออกพร้อม ด้วยเสนา ๔ เหล่า เหมือนเสด็จประพาสราชอุทยานพร้อมเสนา ๔ เหล่าในครั้ง ก่อน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๗๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ทั้ง ๖ พระองค์นั้นเสด็จไปห่างไกลแล้วรับสั่งให้เสนากลับ เข้าพรมแดนของ เจ้าเมืองอื่น ทรงเปลื้องเครื่องประดับเอาผ้าห่อแล้ว ได้ตรัสกับอุบาลีช่างกัลบกดังนี้ ว่า “อุบาลี เชิญท่านกลับเถิด ทรัพย์เหล่านี้พอเลี้ยงชีพได้” ขณะเมื่ออุบาลีช่างกัลบกจะกลับได้มีความคิดดังนี้ว่า “พวกเจ้าศากยะทั้งหลาย โหดร้ายนัก จะพึงให้ฆ่าเราด้วยเข้าพระทัยไปว่า ‘อุบาลีนี้ให้พระกุมารทั้งหลายหนีไป’ ก็พระศากยะกุมารเหล่านี้ยังออกจากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตได้ ไฉนเราจะบวช บ้างไม่ได้” อุบาลีช่างกัลบกนั้นจึงแก้ห่อเครื่องประดับแล้วแขวนสิ่งของไว้บนต้นไม้แล้ว กล่าวว่า “ผู้พบเห็นจงนำสิ่งของที่เราให้แล้วไปเถิด” แล้วเข้าไปเฝ้าศากยกุมารเหล่านั้น ถึงที่ประทับ ศากยกุมารเหล่านั้นได้ทอดพระเนตรเห็นอุบาลีกำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้รับสั่งกับอุบาลีช่างกัลบกดังนี้ว่า “นี่ อุบาลี ท่านกลับมาทำไม” อุบาลีช่างกัลบกจึงกราบทูลว่า “พระลูกเจ้าทั้งหลาย เมื่อหม่อมฉันกำลังกลับ ได้มีความคิดดังนี้ว่า “พวกเจ้าศากยะทั้งหลายโหดร้ายนัก จะพึงให้ฆ่าเราด้วยเข้า พระทัยไปว่า ‘อุบาลีนี้ให้พระกุมารทั้งหลายหนีไป’ ก็พระศากยกุมารเหล่านี้ยังออก จากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตได้ ไฉนเราจะบวชบ้างไม่ได’ ข้าแต่พระลูกเจ้า หม่อมฉันนั้นแก้ห่อเครื่องประดับแล้วแขวนสิ่งของไว้บนต้นไม้แล้วกล่าวว่า ‘ผู้พบเห็น จงนำสิ่งของที่เราให้แล้วไปเถิด’ กลับจากที่นั้นแล้ว” ศากยกุมารทั้งหลายตรัสว่า “ท่านทำดีแล้วที่ไม่ได้กลับไป เจ้าศากยะทั้งหลาย ผู้โหดร้ายจะพึงให้ฆ่าท่าน ด้วยเข้าใจว่า ‘อุบาลีนี้ให้กุมารทั้งหลายหนีไป” ต่อมา เหล่าศากยกุมารทั้งหลายพาอุบาลีผู้เป็นช่างกัลบกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีความถือตัว อุบาลีผู้นี้เป็นช่าง กัลบกรับใช้พวกข้าพระ พุทธเจ้ามานาน ขอพระองค์ทรงโปรดให้เขาบวชก่อน พวกข้า พระพุทธเจ้าจะอภิวาท ลุกต้อนรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่เขา เมื่อเป็นเช่นนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะของพวกหม่อมฉันจักบรรเทาไป” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๗๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคจึงโปรดให้อุบาลีผู้เป็นช่างกัลบกบวชก่อน แล้วให้ ศากยกุมารบวชภายหลัง ต่อมา ในระหว่างพรรษานั้นเอง ท่านพระภัททิยะได้บรรลุ วิชชา ๓ ท่าน พระอนุรุทธะได้บรรลุทิพยจักษุ ท่านพระอานนท์ได้บรรลุโสดาปัตติผล พระเทวทัตได้ฤทธิ์ชั้นปุถุชน
เรื่องพระภัททิยะเปล่งอุทานว่า “สุขหนอ”๑-
[๓๓๒] สมัยนั้น ท่านพระภัททิยะจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปใน สุญญาคารก็ดี ย่อมเปล่งอุทานเนืองๆ ว่า “สุขหนอ สุขหนอ” ครั้งนั้น ภิกษุ หลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุเหล่านั้นผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระภัททิยะ ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในเรือนว่างก็ดี ก็เปล่ง อุทานเนืองๆ ว่า ‘สุขหนอ สุขหนอ’ ท่านพระภัททิยะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ แน่ๆ หรือคงหวนระลึกถึงสุขในราชสมบัติครั้งก่อน ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี จึงเปล่งอุทานอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุรูปหนึ่งว่า “ภิกษุ เธอจงไปบอก ภัททิยะว่าพระศาสดารับสั่งหาท่าน” ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วเข้าไปหาท่านพระภัททิยะถึงที่อยู่ ครั้น ถึงแล้วได้กล่าวกับท่านพระภัททิยะดังนี้ว่า “พระศาสดารับสั่งหาท่าน” ท่านพระภัททิยะรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับท่านพระภัททิยะผู้นั่งแล้ว ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “ภัททิยะ ทราบว่า เธอ ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี ก็เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า “สุขหนอ สุขหนอ’ จริงหรือ” ท่านพระภัททิยะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ขุ.อุ. ๒๕/๒๐/๒๐๖-๒๐๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๗๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภัททิยะ เธอเห็นประโยชน์อะไร ไม่ว่าจะไปใน ป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี จึงเปล่งอุทานเนืองๆ ว่า ‘สุขหนอ สุขหนอ” ท่านพระภัททิยะกราบทูลว่า “สมัยเมื่อข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระราชา ได้รับการ อารักขาคุ้มครองอย่างดีทั้งภายในวัง ได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่างดีทั้งภายนอกวัง ได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่างดีทั้งภายในเมือง ได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่างดี ทั้งภายนอกเมือง ได้รับการอารักษาคุ้มครองอย่างดีทั้งในชนบท ได้รับการอารักขา คุ้มครองอย่างดีทั้งนอกชนบท ข้าพระพุทธเจ้าถึงจะได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่าง ดีเช่นนี้ ก็ยังกลัว ยังหวาดหวั่นอยู่ สะดุ้ง ตกใจ แต่เวลานี้ข้าพระพุทธเจ้าไม่ว่า จะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดีเพียงผู้เดียวก็ไม่กลัวหวาดหวั่น ไม่สะดุ้งตกใจแต่อย่างใดเลย มีความโปร่งเบากายยิ่ง ครองชีวิตด้วยปัจจัยที่ผู้อื่นให้ มีจิตอิสระ ดุจมฤค ข้าพระพุทธเจ้าเห็นประโยชน์อย่างนี้ ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไป ที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี ฯลฯ จึงมักจะเปล่งอุทานเนืองๆ ว่า ‘สุขหนอ สุขหนอ’ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ผู้ใดไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้กำเริบภายในจิต และล่วงพ้นความเป็นภพและอภพต่างๆ ได้แล้ว ทวยเทพไม่สามารถมองเห็นผู้นั้น ผู้ปราศจากภัย มีความสุข ไม่เศร้าโศก
เทวทัตตวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องของพระเทวทัต
[๓๓๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคมตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงโกสัมพี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงโกสัมพี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ในกรุงโกสัมพีนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๗๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๖๗-๑๗๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=47              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=3070&Z=3217                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=337              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=337&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=8764              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=337&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=8764                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :