ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
นวกัมมทานกถา
ว่าด้วยวิธีการที่ภิกษุให้นวกรรม
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีให้นวกรรม
[๓๒๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กีฏาคิรีชนบทตามพระอัธยาศัย แล้ว ได้เสด็จจาริกไปทางเมืองอาฬวี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองอาฬวี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ ในเมืองอาฬวีนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๔๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ให้นวกรรมอย่างนี้ คือ ให้นวกรรม๑- ด้วยอาการเพียงวางก้อนดินบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝาบ้าง ให้นวกรรม ด้วยอาการเพียงติดตั้งประตูบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยูบ้าง ให้นวกรรม ด้วยอาการเพียงติดตั้งกรอบเช็ดหน้าบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาวบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีดำบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลืองบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงมุงหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดไม้หลบหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียง ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถูบ้าง ให้นวกรรม ๒๐ ปีบ้าง ให้นวกรรม ๓๐ ปีบ้าง ให้นวกรรมตลอดชีวิตบ้าง ให้นวกรรมวิหาร ที่สร้างเสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟบ้าง บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุชาวเมืองอาฬวีจึงมอบนวกรรมให้อย่างนี้ คือ ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวาง ก้อนดินบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียง ติดตั้งประตูบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยูให้บ้าง ให้นวกรรมด้วย อาการเพียงติดกรอบเช็ดหน้าบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาวบ้าง ให้นวกรรม ด้วยอาการเพียงทาสีดำบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลืองบ้าง ให้นวกรรม ด้วยอาการเพียงมุงหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง ให้ นวกรรมด้วยอาการเพียงติดไม้หลบหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงปฏิสังขรณ์ เสนาสนะที่ทรุดโทรมบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถูบ้าง ให้นวกรรม ๒๐ ปีบ้าง ให้นวกรรม ๓๐ ปีบ้าง ให้นวกรรมตลอดชีวิตบ้าง ให้นวกรรมวิหารที่สร้าง เสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟบ้าง” ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ ให้นวกรรม หมายถึงให้นวกรรมสมมติ (วิมติ.ฏีกา ๒/๓๒๓/๓๒๑) คืออนุมัติการก่อสร้าง หรืออนุญาต @ให้ก่อสร้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๔๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ฯลฯ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวางก้อนดิน ... ไม่พึงให้ นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดตั้งประตู ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยู ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติด ตั้งกรอบเช็ดหน้า ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาว ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วย อาการเพียงทาสีดำ ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลือง ... ไม่พึงให้นวกรรม ด้วยอาการเพียงมุงหลังคา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกหลังคา ... ไม่ พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดให้หลบหลังคา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียง ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถู ... ไม่พึงให้ นวกรรม ๒๐ ปี ... ไม่พึงให้นวกรรม ๓๐ ปี ... ไม่พึงให้นวกรรมตลอดชีวิต ... ไม่พึง ให้นวกรรมวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟ รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมวิหารที่ยังไม่ได้สร้าง หรือที่สร้าง ค้างไว้ ให้ตรวจดูวิหารเล็กแล้วให้นวกรรม ๕-๖ ปี ให้ตรวจดูงานในเรือนมุงแถบ เดียวแล้ว ให้นวกรรม ๗-๘ ปี ให้ตรวจดูงานในวิหารใหญ่หรือปราสาทแล้วให้ นวกรรม ๑๐-๑๒ ปี”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๔๕-๑๔๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=41              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=2630&Z=2698                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=294              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=294&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=8019              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=294&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=8019                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/brahmali#pli-tv-kd16:17.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.17.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :