ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติกขันธกะ]

๑. สังคีตินิทาน

๑๑. ปัญจกสติกขันธกะ
๑. สังคีตินิทาน
ว่าด้วยมูลเหตุการทำสังคายนาครั้งที่ ๑
[๔๓๗] ๑- ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่าน ทั้งหลาย คราวหนึ่งผมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูปเดินทางไกล จากกรุงปาวาไปกรุงกุสินารา ขณะที่ผมแวะลงข้างทาง นั่งพักที่ ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง สมัยนั้น อาชีวกคนหนึ่งถือดอกมณฑารพจากกรุงกุสินารา เดินสวนทางจะไป กรุงปาวา ท่านทั้งหลาย ผมได้เห็นอาชีวกนั้นเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงถามอาชีวก นั้นดังนี้ว่า “ท่านทราบข่าวพระศาสดาของเราบ้างไหม” อาชีวกตอบว่า “เราทราบ พระสมณะโคดมปรินิพพานได้ ๗ วันเข้าวันนี้ เรา ถือดอกมณฑารพดอกนี้มาจากที่ปรินิพพานนั้น” ท่านทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากราคะ บางรูปประคองแขนคร่ำครวญ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนคนเท้าขาดเพ้อรำพันว่า “พระผู้มีพระภาคปรินิพพาน เร็วนัก พระสุคตปรินิพพานเร็วนัก ดวงตาในโลกอันตรธานไปเสียแล้ว” ส่วนภิกษุ ทั้งหลายที่ปราศจากราคะ มีสติสัมปชัญญะ ก็อดกลั้นไว้ว่า “สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง จะหาความเที่ยงแท้ในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า” ท่านทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ผมได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “พอเถิด พวก ท่านอย่าโศกเศร้า อย่าคร่ำครวญไปเลย พระผู้มีพระภาคตรัสบอกไว้ก่อนแล้วมิใช่ หรือว่า ความเป็นต่างๆ กัน ความพลัดพราก ความผันแปรเป็นอื่นจากสิ่งที่รักใคร่ ชอบใจทุกอย่างมีอยู่เสมอ สิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว ถูกปรุงแต่งแล้ว มีความแตกสลาย เป็นธรรมดา อย่าได้เสื่อมสลายไปเลยนั้น จะหาได้แต่ที่ไหนในฐานะนี้ นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จะมีได้” @เชิงอรรถ : @ ที.ม. (แปล) ๑๐/๒๓๑/๑๗๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๗๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติกขันธกะ]

๑. สังคีตินิทาน

ท่านทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้บวชตอนแก่ชื่อสุภัททะ๑- นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้น ได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “พอทีเถิด พวกท่านอย่าโศกเศร้า อย่าคร่ำครวญ เลย พวกเรารอดพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะรูปนั้นที่คอยจ้ำจี้จ้ำไชพวกเราอยู่ว่า ‘สิ่งนี้ควรแก่พวกเธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกเธอ’ บัดนี้ พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักทำ สิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่ทำสิ่งนั้น” ท่านทั้งหลาย เอาเถิด พวกเราจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัยกัน ก่อนที่ อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อน ที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวกวินยวาทีจะอ่อนกำลัง
พระมหากัสสปะคัดเลือกภิกษุทำสังคายนา
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกภิกษุ ทั้งหลายเถิด” ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะจึงคัดเลือกพระอรหันต์ได้ ๔๙๙ รูป ภิกษุทั้งหลายได้กราบเรียนท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านพระ อานนท์นี้ยังเป็นเสขบุคคลก็จริง แต่ไม่ลำเอียงเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะ ความหลง เพราะความกลัว อนึ่ง ท่านพระอานนท์นั้นได้ศึกษาพระธรรมและวินัย เป็นอันมากในสำนักของพระผู้มีพระภาค ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกท่านพระ อานนท์ด้วย” ท่านพระมหากัสสปะจึงเลือกท่านพระอานนท์
กำหนดเขตการอยู่จำพรรษา
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะสังคายนาพระธรรม และวินัยที่ไหนหนอ” ลำดับนั้น เห็นพร้อมกันว่า “กรุงราชคฤห์มีโคจรคามมาก @เชิงอรรถ : @ ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๓๐๓/๑๓๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๗๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติกขันธกะ]

๑. สังคีตินิทาน

เสนาสนะมีเพียงพอ ทางที่ดีพวกเราพึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ สังคายนาพระ ธรรมและวินัย ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์” ต่อมา ท่านพระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๔๓๘] ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและวินัย ภิกษุ เหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ นี่เป็นญัตติ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและวินัย ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ท่าน รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อ สังคายนาพระธรรมและวินัย ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ท่านรูป นั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สงฆ์แต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระ ธรรมและวินัยแล้ว ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ สงฆ์เห็นด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้เดินทางไปกรุงราชคฤห์เพื่อสังคายนาพระธรรม และวินัย ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เถระได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค ทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ถ้ากระไร พวกเราจะปฏิสังขรณ์ เสนาสนะที่ทรุดโทรมในเดือนแรก จะประชุมสังคายนาพระธรรมและวินัยตอนกลาง เดือน”
ท่านพระอานนท์บรรลุอรหัตตผล
ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมในเดือนแรก ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า “พรุ่งนี้เป็นวันประชุม การที่เราผู้ยังเป็นเสขบุคคลอยู่จะไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๗๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติกขันธกะ]

๑. สังคีตินิทาน

ร่วมประชุมด้วย ไม่สมควรเลย” จึงให้เวลากลางคืนเป็นส่วนมากล่วงไปด้วย กายคตาสติ๑- พอถึงเวลาใกล้รุ่งก็เอนกาย ด้วยตั้งใจว่า “จะนอนพัก” แต่ศีรษะ ยังไม่ทันถึงหมอน เท้ายังไม่ทันยกขึ้นจากพื้น ในระหว่างนี้จิตได้หลุดพ้นจากกิเลส อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น
เรื่องท่านพระอุบาลีตอบคำถามเกี่ยวกับพระวินัย
[๔๓๙] ครั้นท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ลำดับนั้น ท่าน พระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าจะสอบ ถามพระวินัยกับท่านพระอุบาลี” ท่านพระอุบาลีจึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหา กัสสปะถามพระวินัย จะได้ตอบต่อไป”
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามท่านท่านพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี พระ ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน” ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงเวสาลี ขอรับ” ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร” ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร” ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร” ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะเสพเมถุนธรรม” @เชิงอรรถ : @ กายคตาสติ คือ สติอันไปในกาย กำหนดพิจารณากายนี้ให้เห็นว่า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ไม่สะอาด @ไม่งาม น่ารังเกียจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๗๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๗๕-๓๗๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=100              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=7298&Z=7369                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=614              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=614&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=9323              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=614&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=9323                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd21/en/brahmali# https://suttacentral.net/pli-tv-kd21/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :