ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงตัชชนียกรรม ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ คือ ๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้๑- ๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ๒- @เชิงอรรถ : @ ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ คือ เว้นจากการกำหนดอาบัติ หมายถึงต้องอาบัติไม่มีขอบเขต @(วิ.อ. ๓/๔๐๗/๒๔๒) @ มีสีลวิบัติในอธิสีล คือ ต้องอาบัติปาราชิก หรืออาบัติสังฆาทิเสส @มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร คือ ต้องอาบัติที่เหลืออีก ๕ มีถุลลัจจัยเป็นต้น @มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ คือ ประกอบด้วยความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลก @ไม่มีที่สุดเป็นต้น (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘-๔๙, ดู ที.สี. (แปล) ๙/๕๓/๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม ๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๔)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๖)
อากังขมานฉักกะ จบ
อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในตัชชนียกรรม
[๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมพึงประพฤติชอบ การประพฤติ ชอบในเรื่องนั้น ดังนี้ ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมอีก ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ๑- ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
อัฏฐารสวัตตะในตัชชนียกรรม จบ
@เชิงอรรถ : @ ปกตัตตภิกษุ ได้แก่ ภิกษุผู้มีศีลและอาจาระเสมอกับภิกษุทั้งหลาย หรือภิกษุโดยปกติที่ไม่ถูกลงโทษ หรือ @ไม่ต้องอาบัติปาราชิก (วิ.อ. ๓/๓๙๔/๒๔๐, ๗๕/๒๕๖, ๑๐๒/๒๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรม
[๘] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ โลหิตกะ พวกเธอถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวว่า “พวกกระผมถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับ ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ พวกกระผมจะปฏิบัติอย่างไร” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงระงับตัชชนียกรรม แก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะเถิด”
หมวดที่ ๑
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีก อย่างหนึ่ง คือ ๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

๔. ตำหนิกรรม ๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ แล (๓)
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรม
หมวดที่ ๑
[๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย ๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ]

๑. ตัชชนียกรรม

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ แล (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีก อย่างหนึ่งคือ ๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมอีก ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ตำหนิกรรม ๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ แล (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ แล (๓)
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๑. ตัชชนียกรรม

วิธีระงับตัชชนียกรรมและกรรมวาจา
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมอย่างนี้ คือ พวกภิกษุนิสิต ของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผู้เจริญ พวกกระผมถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ ตัวได้ พวกกระผมจึงขอระงับตัชชนียกรรม” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ โลหิตกะเหล่านี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิต ของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ โลหิตกะเหล่านี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ ตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิต ของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น พึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและ พระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวก ภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะเหล่านี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๒. นิยสกรรม

กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนีย กรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ การระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ตัชชนียกรรมสงฆ์ระงับแล้วแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ตัชชนียกรรมที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๑๔-๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=275&Z=454                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=28              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=28&items=15              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=28&items=15                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali#pli-tv-kd11:4.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#Kd.11.3.2



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :