ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ
จัมเปยยขันธกะ มี ๓๖ เรื่อง คือ เรื่องพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กรุงจัมปา เรื่องพระกัสสป โคตรในวาสภคามขวนขวายในสิ่งที่พึงปรารถนาเพื่อภิกษุอาคันตุกะ ครั้นท่านทราบว่าพวกภิกษุอาคันตุกะชำนาญทางโคจรดีแล้ว จึงเลิกขวนขวายในเวลานั้น แต่ถูกภิกษุอาคันตุกะลงอุกเขปนีย กรรมเพราะไม่ทำจึงไปเฝ้าพระชินเจ้า เรื่องภิกษุชาวกรุงจัมปาทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูปบ้าง ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนีย กรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูปบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๒๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ

ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง ภิกษุหลายรูป ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนีย กรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุหลายรูปบ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง เรื่องพระผู้มีพระภาคได้ ทรงสดับแล้วตรัสห้ามเพราะไม่ชอบธรรม เรื่องกรรมที่ญัตติวิบัติ อนุสาวนาสมบูรณ์ วิบัติโดยอนุสาวนา สมบูรณ์ด้วยญัตติ วิบัติทั้งสองอย่าง ทำกรรมผิดธรรมวินัย ผิดสัตถุศาสน์ ทำกรรมที่ถูกคัดค้านกรรมที่กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เรื่องแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป พระตถาคตทรงอนุญาตกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมเท่านั้น เรื่องสงฆ์ ๕ ประเภท คือ สงฆ์จตุวรรค สงฆ์ปัญจวรรค สงฆ์ทสวรรค สงฆ์วีสติวรรค และสงฆ์อติเรกวีสติวรรค เรื่องยกเว้นอุปสมบทกรรม ปวารณากรรมและอัพภานกรรม นอกนั้นสงฆ์จตุวรรคทำได้ เรื่องยกเว้นกรรม ๒ อย่าง คือ อุปสมบทกรรมใน มัชฌิมประเทศและอัพภานกรรม นอกนั้นสงฆ์ปัญจวรรคทำได้ทั้งสิ้น เรื่องยกเว้นอัพภานกรรมอย่างเดียว นอกนั้นสงฆ์ทสวรรคทำได้ เรื่องสงฆ์วีสติวรรคทำกรรมได้ทุกอย่าง เรื่องสรุปคน ๒๔ จำพวกคือ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ผู้ต้องอันติมวัตถุ ผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ เพราะไม่สละทิฏฐิบาป บัณเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนผู้ฆ่ามารดา คนผู้ฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๒๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ

คนประทุษร้ายภิกษุณี คนทำลายสงฆ์ คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต อุภโตพยัญชนก ภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส ภิกษุผู้อยู่ในนานาสีมา ภิกษุผู้อยู่ใน อากาศด้วยฤทธิ์ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใดมีภิกษุนั้นครบจำนวนสงฆ์พอดี รวม ๒๔ จำพวก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ เพราะคนพวกนั้นเป็นคณปูรกะไม่ได้ เรื่องสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตหรืออัพภาน เป็นกรรมที่ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ เรื่องสงฆ์มีผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเป็นที่ ๔ สงฆ์มีภิกษุ ผู้ควรมานัตเป็นที่ ๔ สงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่ ๔ สงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานเป็นที่ ๔ สงฆ์ ๕ ประเภทนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศว่าทำสังฆกรรมให้ไม่ได้ เรื่องคน ๒๗ จำพวกคือ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ผู้ต้องอันติมวัตถุ วิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ถูกลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ เพราะไม่สละทิฏฐิบาป บัณเฑาะก์คนลักเพศ ภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนผู้ฆ่ามารดา คนผู้ฆ่าบิดา คนผู้ฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี คนผู้ทำลายสงฆ์ คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต อุภโตพยัญชนก ภิกษุผู้อยู่ในนานาสังวาส ภิกษุผู้อยู่ในนานาสีมา ภิกษุผู้อยู่ใน อากาศด้วยฤทธิ์ และภิกษุผู้ถูกสงฆ์ทำกรรม ๒๗ จำพวกนี้ค้านไม่ขึ้น เรื่องคำคัดค้านของภิกษุปกตัตตะฟังขึ้น เรื่องบุคคลที่ถูกขับ ออกไปดีและบุคคลที่ถูกขับออกไปไม่ดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๒๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ

เรื่องคน ๑๑ จำพวก คือ บัณเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุ ผู้เข้ารีตเดียรถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนผู้ฆ่ามารดา คนผู้ฆ่าบิดา คนผู้ฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี คนผู้ทำลายสงฆ์ คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต อุภโตพยัญชนก คน ๑๑ จำพวกนี้ไม่ควรรับเข้าหมู่ เรื่องคน ๓๒ จำพวก คือ คนมือด้วน เท้าด้วน ทั้งมือ ทั้งเท้าด้วน คนหูวิ่น คนจมูกแหว่ง คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกแหว่ง คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด คนมีง่ามมือง่ามเท้าขาด คนเอ็นขาด คนมือเป็นแผ่น คนค่อม คนเตี้ย คนคอพอก คนถูกสักหมายโทษ มีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย คนมีหมายจับ คนเท้าปุก คนมีโรคเรื้อรัง คนมีรูปร่างไม่สมประกอบ คนตาบอดข้างเดียว คนง่อย คนกระจอก คนเป็นโรคอัมพาต คนเคลื่อนไหวเองไม่ได้ คนชราทุพพลภาพ คนตาบอดทั้งสองข้าง คนใบ้ คนหูหนวก คนทั้งบอดทั้งใบ้ คนทั้งบอดทั้งหนวก คนทั้งใบ้ทั้งหนวก คนทั้งบอด ทั้งใบ้ ทั้งหนวก ๓๒ จำพวกนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศว่ารับเข้าหมู่ได้ เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ การลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้ไม่ทำคืนอาบัติ การลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุไม่สละทิฏฐิบาป ๗ กรณี เป็นกรรมไม่ชอบธรรม เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมภิกษุที่ต้องอาบัติไม่ชอบธรรมอีก ๗ กรณี เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมภิกษุที่ชอบธรรม ๗ กรณี เรื่องกรรมที่ควรทำต่อหน้ากลับทำลับหลัง กรรมที่ควรทำ โดยการสอบถามกลับไม่ซักถาม กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา กลับทำโดยไม่ปฏิญญา ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๓๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ

ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ลงนิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ให้ปริวาสแก่ภิกษุ ผู้ควรอุกเขปนียกรรม ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร ทำกรรมอย่างหนึ่งแก่ภิกษุผู้ควรกรรมอย่างหนึ่ง รวม ๑๖ กรณีเป็นกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรม ไม่ชอบด้วยวินัย เรื่องทำกรรมนั้นๆ แก่ภิกษุผู้ควรแก่กรรมนั้นๆ รวม ๑๖ กรณี เป็นกรรมที่ชอบด้วยธรรมชอบด้วยวินัย เรื่องทำกรรม แต่ละอย่างไม่ชอบด้วยธรรม ไม่ชอบด้วยวินัย ๑๖ กรณี ๒ หมวด เรื่องทำกรรมที่ชอบด้วยธรรม ชอบด้วยวินัย ๑๖ กรณี ๒ หมวด เรื่องหมุนเวียนกรรมมีกรรมแต่ละข้อเป็นมูล พระชินเจ้าตรัสว่า ไม่ชอบด้วยธรรม เรื่องสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง เรื่องภิกษุในอาวาสอื่นพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลง ตัชชนียกรรม และภิกษุในอาวาสอื่นแบ่งพวกโดยชอบธรรมก็มี แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปก็มี พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปก็มี ลงตัชชนียกรรมเรื่องพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม แบ่งพวก โดยชอบธรรม แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป และพร้อมเพรียงกัน โดยธรรมปฏิรูป นักปราชญ์ผู้มีปัญญาพึงจัดแต่ละข้อเป็นมูลหมุนเวียน เรื่องสงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้โง่เขลาไม่ฉลาด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๓๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ

เรื่องสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล เรื่องสงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ด่าบริภาษคฤหัสถ์ เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้นำหมู่ตรัสอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิบาป เรื่องการระงับตัชชนียกรรมเป็นต้นแก่ภิกษุผู้กลับตัวได้ ภิกษุผู้มีปัญญาพึงลงตัชชนียกรรมให้ถูกต้องตามวินัย ภิกษุผู้ประพฤติเรียบร้อยอนุวัตรตามระเบียบวินัยเหล่านั้น ขอระงับกรรมเหล่านั้นตามนัยแห่งกรรมที่กล่าวไว้ก่อน เรื่องในกรรมนั้นๆ สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมคัดค้านว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ถูก ต้องทำใหม่ และเมื่อกรรมระงับ ภิกษุเหล่านั้นเป็นธรรมวาที พระมหามุนีทรงเห็นภิกษุพวกเข้ากรรมได้รับความลำบาก โดยกรรมาวิบัติจึงทรงชี้วิธีระงับได้ ดุจนายแพทย์ผู้ชำนาญได้ บอกตัวยาไว้ฉะนั้น
จัมเปยยขันธกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๓๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๓๒๗-๓๓๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=57              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=5862&Z=5936                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=237              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=237&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=237&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/horner-brahmali#BD.4.479 https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/brahmali#



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :