ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๓. ปาฏลิคามวัตถุ

๑๗๓. ปาฏลิคามวัตถุ
ว่าด้วยชาวปาฏลิคามถวายที่พัก
เรื่องทรงรับอาคารพักแรม
[๒๘๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระ อัธยาศัยแล้ว เสด็จไปทางปาฏลิคามพร้อมด้วยภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตามลำดับ จนถึงปาฏลิคาม อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามได้ทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง ปาฏลิคามแล้ว” จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามเห็นชัด ชวนให้ อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถา ครั้งนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับอาคารที่พักของพวกข้าพระองค์เถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วพากันเดินไปที่ อาคารที่พัก ปูลาดอาสนะทั่วอาคาร จัดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน แล้วพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พวกข้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๙๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๓. ปาฏลิคามวัตถุ

พระองค์ปูลาดอาสนะ ดาดเพดานทั่วอาคารที่พัก จัดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีป น้ำมันไว้แล้ว ขอพระองค์ทรงทราบเวลาอันเหมาะสมในบัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปที่อาคารพักแรมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรงชำระพระบาทแล้วเสด็จเข้าอาคารที่พัก ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แม้ภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าแล้ว เข้าอาคารที่พัก นั่งพิงฝาด้านตะวันตก ผินหน้าไปทางทิศตะวันออกห้อมล้อมพระ ผู้มีพระภาค แม้อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปอาคารที่พัก นั่ง พิงฝาด้านทิศตะวันออกผินหน้าไปทางทิศตะวันตกห้อมล้อมพระผู้มีพระภาค
โทษแห่งศีลวิบัติ ๕ ประการ๑-
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับอุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามว่า “คหบดี ทั้งหลาย ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษ ๕ ประการนี้ โทษ ๕ ประการ คือ ๑. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมถึงความเสื่อม โภคทรัพย์ใหญ่หลวง ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการ ที่ ๑ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๒. คหบดีทั้งหลาย กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อม กระฉ่อนไป นี้เป็นโทษประการที่ ๒ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๓. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะ เป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมไม่แกล้วกล้าเก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการ ที่ ๓ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๔. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็น โทษประการที่ ๔ แห่งศีลวิบัติของคนทุศีล @เชิงอรรถ : @ ที.ปา. ๑๑/๓๑๖/๒๐๙-๒๑๐, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๑๓/๓๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๙๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๓. ปาฏลิคามวัตถุ

๕. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้ว ย่อม ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษข้อที่ ๕ แห่งศีล วิบัติของบุคคลผู้ทุศีล คหบดีทั้งหลาย ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษ ๕ ประการนี้แล
อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ ๕ ประการ๑-
คหบดีทั้งหลาย ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มีอานิสงส์ ๕ ประการ อานิสงส์ ๕ ประการนี้ คือ ๑. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติในโลกนี้ ย่อมได้โภค ทรัพย์ใหญ่หลวง ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ ประการที่ ๑ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๒. คหบดีทั้งหลาย กิตติศัพท์อันดีงามของบุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ ย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งศีลสมบัติของ บุคคลผู้มีศีล ๓. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัท ก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๔. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๕. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ แห่ง ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล คหบดีทั้งหลาย ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @ ที.ปา. ๑๑/๓๑๖/๒๑๐, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๑๓/๓๕๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๙๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๔. สุนีธวัสสการวัตถุ

ครั้นทรงแสดงธรรมีกถาชี้แจงให้อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามเห็นชัด ชวนให้ อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถาจนดึกดื่นแล้ว ทรงส่งกลับด้วยรับสั่งว่า ราตรีใกล้จะสว่าง บัดนี้พวกท่าน จงรู้เวลาที่จะกลับเถิด พวกเขากราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไป เมื่อพวกเขากลับไปได้ไม่นาน พระผู้มี พระภาคได้เสด็จเข้าสุญญาคาร


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๙๗-๑๐๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=18              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=1715&Z=1777                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=67              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=67&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=67&items=4                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/brahmali#pli-tv-kd6:28.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/horner-brahmali#Kd.6.27.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :