ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
๑๖๗. สัตถกัมมปฏิกเขปกถา
ว่าด้วยการทรงห้ามทำสัตถกรรม๒-
เรื่องริดสีดวงทวาร
[๒๗๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถีตามพระอัธยาศัย แล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต ในกรุงราชคฤห์นั้น @เชิงอรรถ : @ ผลไม้ที่เพาะพันธุ์ไม่ได้ หมายถึงผลไม้ที่มีเมล็ดอ่อน ไม่สามารถให้เกิดหน่อได้ (วิ.อ. ๓/๒๗๙/๑๗๖) @ สัตถกรรม คือ การผ่าตัดด้วยศัสตรา การบ่งด้วยเข็มหรือหนาม การตัดด้วยกรรไกรหรือใช้เล็บหยิก @ในที่ลับ (วิ.อ. ๓/๒๗๙/๑๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๗๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๗. สัตถกัมมปฏิกเขปกถา

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นริดสีดวงทวาร นายแพทย์อากาสโคตรกำลัง ทำการผ่าตัดด้วยศัสตรา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตามเสนาสนะ เสด็จเข้าไปทางที่อยู่ของ ภิกษุนั้น นายแพทย์อากาสโคตรเห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระโคดมผู้เจริญโปรดเสด็จมาทอดพระเนตรวัจมรรค ของภิกษุรูปนี้ เหมือนปากเหี้ย” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า “โมฆบุรุษนี้เยาะเย้ยเรา” จึงเสด็จกลับ จากที่นั้นแล้วรับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในวิหารหลังโน้นมีภิกษุเป็นไข้หรือ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นอาพาธเป็นโรคอะไร” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ภิกษุนั้นเป็นริดสีดวงทวาร นายแพทย์อากาสโคตร กำลังทำการผ่าตัดด้วยศัสตรา พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “การกระทำของโมฆบุรุษนั้นไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย ไฉน โมฆบุรุษนั้นจึงให้ทำการผ่าตัดด้วยศัสตราในที่แคบเล่า ในที่แคบมีผิวเนื้ออ่อน แผล หายยาก ผ่าตัดลำบาก ภิกษุทั้งหลาย การทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้ เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ผ่าตัดด้วยศัสตราในที่แคบ รูปใดให้ผ่าตัด ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
เรื่องทรงห้ามทำวัตถิกรรม๑-
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามผ่าตัดด้วย ศัสตรา” จึงเลี่ยงให้ทำการบีบหัวริดสีดวง @เชิงอรรถ : @ วัตถิกรรม คือ การใช้หนังหรือผ้าผูกรัดที่ทวารหนักเพื่อรัดหัวริดสีดวง (วิ.อ. ๓/๒๗๙/๑๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๗๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๘. มนุสสมังสปฏิกเขปกถา

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงให้ทำการบีบหัวริดสีดวงเล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ทำการบีบหัวริดสีดวง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริงพระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ผ่า ตัดทวารหนักด้วยศัสตราหรือบีบหัวริดสีดวง ประมาณ ๒ นิ้วรอบๆ ที่แคบ รูปใดให้ผ่าหรือให้บีบ ต้องอาบัติถุลลัจจัย”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๗๘-๘๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=13              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=1339&Z=1371                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=57              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=57&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3955              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=57&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3955                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/brahmali#pli-tv-kd6:22.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/horner-brahmali#BD.4.294



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :