ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๙๖] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุ ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๕๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๙๗] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยเหตุปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓)
อารัมมณปัจจัย
[๙๘] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้น พิจารณา กุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน พระอริยะออกจาก มรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ฯลฯ พิจารณา กิเลสที่ข่มได้แล้ว ฯลฯ รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ เห็นแจ้งขันธ์ที่มีเหตุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ... โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็น วิบากซึ่งมีเหตุจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วย จิตที่มีเหตุด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่มีเหตุ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปค- ญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่มีเหตุ ขันธ์ที่มี เหตุจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่มีเหตุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศล และอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากซึ่งไม่มีเหตุจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ เพราะปรารภขันธ์ที่มีเหตุ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุและโมหะจึงเกิดขึ้น (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๕๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีเหตุ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (๓) [๙๙] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุและโมหะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึง เกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากซึ่งไม่มีเหตุจึงเกิดขึ้นโดย เป็นตทารมณ์ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีเหตุและโมหะ ขันธ์ที่ไม่มี เหตุและโมหะจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะพิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผล โดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วซึ่งไม่มีเหตุ พิจารณากิเลส ที่ข่มได้แล้ว ฯลฯ รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุและโมหะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศล และอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากซึ่งมีเหตุจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ บุคคล เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่ง พร้อมด้วยจิตที่ไม่มีเหตุด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณ โดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีเหตุและโมหะ ขันธ์ที่มีเหตุจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ ๑ และโมหะที่ไม่มีเหตุ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ จึงเกิดขึ้น (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๕๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๑๐๐] สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะ ขันธ์ที่มีเหตุจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย อุทธัจจะ ขันธ์และโมหะที่ไม่มีเหตุจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มี เหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (๓)
อธิปติปัจจัย
[๑๐๑] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌาน ... พระอริยะออก จากมรรคแล้ว พิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ... พิจารณาผล ... ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่มีเหตุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดี เพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย อธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอธิปติปัจจัย มีอย่าง เดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๕๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอธิปติปัจจัย มี อย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะพิจารณานิพพานให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดย อธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๑)
อนันตรปัจจัย
[๑๐๒] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุซึ่งเกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ฯลฯ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค ฯลฯ โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค ฯลฯ มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล ฯลฯ ผลเป็นปัจจัยแก่ผล ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่มีเหตุ เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิต ที่ไม่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่มีเหตุโดย อนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่ง เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๕๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๑๐๓] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย ขันธ์ที่ไม่มีเหตุซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีเหตุซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ๕ โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่ไม่มีเหตุ เป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่ง เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วย วิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยอนันตรปัจจัย (๓) [๑๐๔] สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่ง เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่ง เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่ง เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย อุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๕๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุ โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย อุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓)
สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[๑๐๕] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยสหชาตปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับสหชาตปัจจัยในปฏิจจวาร ในที่นี้ไม่มีฆฏนา) เป็นปัจจัยโดย อัญญมัญญปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (ปัจจัยนี้ เหมือนกับนิสสยปัจจัยในปฏิจจวาร ในที่นี้ไม่มีฆฏนา)
อุปนิสสยปัจจัย
[๑๐๖] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุโดยอุปนิสสย- ปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่ไม่มีเหตุโดย อุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอุปนิสสย- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วย วิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๑๐๗] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอุปนิสสย- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๕๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สุขทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย โมหะเป็น ปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะ และโมหะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยสุขทางกายแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ อาศัยทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะ ... โมหะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ สุขทางกาย ฯลฯ โมหะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอุป- นิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สุขทางกายและโมหะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่ สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๑๐๘] สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย อุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอุป- นิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย อุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่ไม่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มี เหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย อุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ โดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
ปุเรชาตปัจจัย
[๑๐๙] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยปุเรชาต- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็น วิบากซึ่งไม่มีเหตุจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่ไม่มีเหตุโดยปุเรชาต- ปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่ เป็นวิบากซึ่งมีเหตุจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟัง เสียงด้วยทิพพโสตธาตุ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุโดยปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยปุเรชาต- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๕๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์และ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วย วิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยปุเรชาตปัจจัย (๓)
ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นต้น
[๑๑๐] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยปัจฉา- ชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย ปัจฉาชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่ไม่มีเหตุซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาต- ปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยปัจฉาชาต- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิด ภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอาเสวนปัจจัย (ปัจจัยนี้ เหมือนกับอนันตรปัจจัย ไม่มีอาวัชชนจิตและภวังคจิต ในอาเสวนปัจจัยพึงเว้นทั้ง ๙ วาระ)
กัมมปัจจัย
[๑๑๑] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีเหตุโดย กัมมปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๖๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งไม่มีเหตุ และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป โดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีเหตุและ กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
วิปากปัจจัย
[๑๑๒] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งมีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปากปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งมีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปากปัจจัย (๑)
อาหารปัจจัย
[๑๑๓] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหารปัจจัย (๑)
อินทรียปัจจัยเป็นต้น
[๑๑๔] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอินทรียปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ อินทรีย์ที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอินทรียปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์เป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดย อินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยฌานปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยฌานปัจจัย ได้แก่ องค์ฌานที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยฌานปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยสัมปยุตตปัจจัย (ใน ปฏิจจวาร มี ๖ วาระ เหมือนกับสัมปยุตตปัจจัย) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

วิปปยุตตปัจจัย
[๑๑๕] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตต- ปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตต- ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดย วิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีเหตุและโมหะโดย วิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุและโมหะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย วิปปยุตตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุโดย วิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุโดยวิปปยุตตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยวิปปยุตต- ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยวิปปยุตตปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยวิปปยุตต- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย อุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (๑)
อัตถิปัจจัย
[๑๑๖] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่โมหะและจิตตสมุฏฐาน- รูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โมหะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ที่มีเหตุ ฯลฯ (๓) [๑๑๗] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคต ด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความจนถึงอสัญญสัตตพรหม) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากซึ่ง ไม่มีเหตุจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่มีเหตุและโมหะโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุและโมหะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย อัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็น ปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ที่มีเหตุโดยอัตถิปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากซึ่งมีเหตุ จึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์และโมหะที่สหรคต ด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยอัตถิปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๑๑๘] สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย อุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่มีเหตุและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่มีเหตุและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย อัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอัตถิ- ปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย อัตถิปัจจัย ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่มีเหตุและมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่โมหะโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย อุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดย อัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดย อัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุ โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย อุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และโมหะโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๑๙] เหตุปัจจัย มี ๖ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย มี ๔ วาระ วิปากปัจจัย มี ๔ วาระ อาหารปัจจัย มี ๔ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๔ วาระ ฌานปัจจัย มี ๔ วาระ มัคคปัจจัย มี ๓ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๒. ปัจจนียุทธาร
[๑๒๐] สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย สห- ชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๓) [๑๒๑] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย สห- ชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๓) [๑๒๒] สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุและที่ไม่มีเหตุ โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๓)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๑๒๓] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ) โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒. สเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๑๒๔] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๖ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๖ วาระ นอนันตรปัจจัย ” มี ๖ วาระ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๖ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๒ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๖ วาระ ฯลฯ นมัคคปัจจัย ” มี ๖ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๖ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๖ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๑๒๕] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๔ วาระ อนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย ” มี ๙ วาระ อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๖ วาระ นิสสยปัจจัย ” มี ๙ วาระ อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๙ วาระ ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๓. เหตุสัมปยุตตทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

ปัจฉาชาตปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย ” มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย ” มี ๔ วาระ วิปากปัจจัย ” มี ๔ วาระ อาหารปัจจัย ” มี ๔ วาระ อินทรียปัจจัย ” มี ๔ วาระ ฌานปัจจัย ” มี ๔ วาระ มัคคปัจจัย ” มี ๓ วาระ สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๖ วาระ วิปปยุตตปัจจัย ” มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย ” มี ๙ วาระ นัตถิปัจจัย ” มี ๙ วาระ วิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ
สเหตุกทุกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๒ หน้าที่ ๕๑-๗๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=42&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=1396&Z=1982                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=80              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=42&item=80&items=23              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=42&item=80&items=23                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu42



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :