ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๗๔] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยเหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย เหตุปัจจัย โทสะเป็นปัจจัยแก่โมหะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย โทสะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์ โมหะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓) [๗๕] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดย เหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่ สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๗๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โทสะและโมหะเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดยเหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่วิปปยุตจากอาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โทสะและโมหะเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โทสะและโมหะ เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓)
อารัมมณปัจจัย
[๗๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะ ขันธ์ที่ สัมปยุตด้วยอาสวะจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะ ขันธ์และโมหะที่ วิปปยุตจากอาสวะจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยอาสวะ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (๓) [๗๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระ อริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

พระอริยะพิจารณากิเลสที่วิปปยุตจากอาสวะซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว พิจารณากิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ ที่วิปปยุตจากอาสวะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (ในที่นี้ไม่มีความ ยินดี) บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มี ความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่วิปปยุตจากอาสวะด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจา- ยตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะเป็น ปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ อาวัชชนจิต และโมหะโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว ยินดี เพลิดเพลินกุศลนั้น เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลยินดี เพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะ เพราะ ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ โทมนัส ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (๓) [๗๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์และ โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะจึงเกิดขึ้น (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๔๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์และโมหะที่สหรคต ด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ขันธ์ที่วิปปยุตจาก อาสวะและโมหะจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะ ปรารภขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วย อุทธัจจะ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (๓)
อธิปติปัจจัย
[๘๐] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะโดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วย โทมนัสเป็นปัจจัยแก่โมหะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย อธิปติปัจจัย อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยโทมนัสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โมหะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๔๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๘๑] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อาสวะโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณา มรรค ฯลฯ พิจารณาผล ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทาน ศีล รักษาอุโบสถแล้วยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะ ทำความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๒)
อนันตรปัจจัย
[๘๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่ สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๔๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและ ที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคต ด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์และ โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่ง เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) [๘๓] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะซึ่ง เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ ผลสมาบัติโดย อนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่ สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคต ด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยอนันตรปัจจัย (๓) [๘๔] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคต ด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๔๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่ สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่โมหะที่ สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์และ โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิด ก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓)
สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๘๕] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย
[๘๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยอาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่ วิปปยุตจากอาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๕๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะ ที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยอุปนิสสย- ปัจจัย (๓) [๘๗] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ โมหะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำ สมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และโมหะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ โมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วมีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ และโมหะ แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ โมหะเป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ศรัทธา ฯลฯ ศีล ฯลฯ โมหะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และ โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดย อุปนิสสยปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๕๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๘๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูป- นิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วย วิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดย อุปนิสสยปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่ สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วย วิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒)
ปุเรชาตปัจจัย
[๘๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อาสวะโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา- ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่ วิปปยุตจากอาสวะโดยปุเรชาตปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๕๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส จึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดย ปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ และโมหะ ที่สหรคตด้วยโทมนัสที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วย โทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยปุเรชาตปัจจัย (๓)
ปัจฉาชาตปัจจัย
[๙๐] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อาสวะโดยปัจฉาชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ โดยปัจฉาชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่วิปปยุต จากอาสวะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่วิปปยุตจากอาสวะโดยปัจฉาชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๕๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อาเสวนปัจจัย
[๙๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ (อาวัชชนจิตและวุฏฐานะไม่มี)
กัมมปัจจัย
[๙๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยกัมมปัจจัย เจตนาที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคต ด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่โมหะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและ ที่วิปปยุตจากอาสวะโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย เจตนาที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โมหะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะโดย กัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๕๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

วิปากปัจจัย
[๙๓] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อาสวะโดยวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย
[๙๔] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์โดยอาหารปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ โดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอาหารปัจจัย อาหารที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคต ด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่โมหะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย อาหารที่สหรคตด้วย โทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โมหะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย (๓) [๙๕] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อาสวะโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ กวฬิงการาหารเป็น ปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหารปัจจัย (๑)
อินทรียปัจจัยเป็นต้น
[๙๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยอินทรียปัจจัย มี ๔ วาระ เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี ๔ วาระ เป็น ปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี ๔ วาระ เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๕๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

วิปปยุตตปัจจัย
[๙๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อาสวะโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย วิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ พึงขยายให้พิสดาร) (๑) [๙๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัย แก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดยวิปปยุตตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยวิปปยุตตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่วิปปยุตจากอาสวะโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัสที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัสที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๕๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อัตถิปัจจัย
[๙๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย อัตถิปัจจัย ขันธ์ที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วย อุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่โมหะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอัตถิปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับสหชาตปัจจัย) (๓) [๑๐๐] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (ย่อ พึงขยายให้พิสดาร) (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะปรารภ ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึง เกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยอาสวะโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๕๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตะ ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยโทมนัสที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์และโมหะที่ สหรคตด้วยโทมนัสที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (๓) [๑๐๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและ ปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๑ และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย อัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัสที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ที่ สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่โมหะโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัย แก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ และโมหะที่สหรคตด้วยโทมนัส ที่สหรคตด้วย วิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดย อัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยโทมนัสที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่ สหรคตด้วยอุทธัจจะ และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และโมหะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๐๒] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย มี ๔ วาระ วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ อาหารปัจจัย มี ๔ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๔ วาระ ฌานปัจจัย มี ๔ วาระ มัคคปัจจัย มี ๔ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๕๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๑๐๓] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๑๐๔] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก อาสวะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉา- ชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ และที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และ ปุเรชาตปัจจัย (๓) [๑๐๕] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุป- นิสสยปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๖๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และ ปัจฉาชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สัมปยุตด้วยอาสวะและที่วิปปยุตจากอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๓)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๐๖] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัย มีปัจจัยละ ๙ วาระ) โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๑๐๗] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๙ วาระ ฯลฯ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๓ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๙ วาระ ฯลฯ นมัคคปัจจัย ” มี ๙ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๖ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๙ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๗. อาสวสาสวทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๑๐๘] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๕ วาระ ฯลฯ อวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
ปัจจนียานุโลม จบ
อาสวสัมปยุตตทุกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๒ หน้าที่ ๒๔๔-๒๖๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=42&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=6652&Z=7187                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=384              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=42&item=384&items=19              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=42&item=384&items=19                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu42



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :