ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
๑๑. รูปีทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๑๑] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดย เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปและที่ไม่เป็นรูปโดย เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๑. รูปีทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อารัมมณปัจจัย
[๑๑๒] สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ อิตถินทรีย์ ฯลฯ ปุริสินทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ กวฬิงการาหารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) [๑๑๓] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศล นั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจาก มรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่ โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณา กิเลสที่ละได้แล้ว ฯลฯ พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว ฯลฯ พิจารณากิเลสที่เคยเกิด ขึ้น ฯลฯ บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่ไม่เป็นรูปโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิด ขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นรูปด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะเป็น ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และ อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑)
อธิปติปัจจัย
[๑๑๔] สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ กวฬิง- การาหารให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้น นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๑. รูปีทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ (ย่อ) นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่เป็นรูปให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ฯลฯ ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย อธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยอธิปติปัจจัย มี อย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปและที่ไม่เป็นรูปโดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓)
อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๑๑๕] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปซึ่ง เกิดหลังๆ ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย (สหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในที่นี้ ไม่มีฆฏนา อัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในที่นี้ ไม่มีฆฏนา)
อุปนิสสยปัจจัย
[๑๑๖] สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอุป- นิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุ โภชนะ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ อุตุ โภชนะ และเสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดย อุปนิสสยปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๗๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๑. รูปีทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน อาศัยศีล ฯลฯ ทุกข์ ทางกายแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑)
ปุเรชาตปัจจัย
[๑๑๗] สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยปุเรชาต- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ กวฬิงการาหารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วย ทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา- ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปโดย ปุเรชาตปัจจัย (๑)
ปัจฉาชาตปัจจัย
[๑๑๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยปัจฉาชาต- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย ปัจฉาชาตปัจจัย (๑)
อาเสวนปัจจัย
[๑๑๙] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอาเสวน- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปซึ่งเกิด หลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๗๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๑. รูปีทุกะ ๗. ปัญหาวาร

กัมมปัจจัย
[๑๒๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยกัมม- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดยกัมม- ปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมม- ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปและที่ไม่เป็นรูปโดย กัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๓)
วิปากปัจจัยและอาหารปัจจัย
[๑๒๑] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยวิปาก- ปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหารปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๗๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๑. รูปีทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อินทรียปัจจัย
[๑๒๒] สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอินทรียปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอินทรียปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่เป็นรูปและที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดย อินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์และจักขุวิญญาณเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วย จักขุวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย ฯลฯ กายินทรีย์ ฯลฯ
ฌานปัจจัยเป็นต้น
[๑๒๓] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดย ฌานปัจจัย มี ๓ วาระ เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ เป็นปัจจัยโดย สัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย
[๑๒๔] สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยวิปปยุตต- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปโดย วิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปโดย วิปปยุตตปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๗๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๑. รูปีทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตต- ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย วิปปยุตตปัจจัย (๑)
อัตถิปัจจัยเป็นต้น
[๑๒๕] สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความจนถึงอสัญญสัตตพรหม) กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปโดย อัตถิปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กวฬิงการาหารโดยเป็นสภาวะ ไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพ- โสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัย แก่กายวิญญาณ ฯลฯ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปโดย อัตถิปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๑. รูปีทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๑๒๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอัตถิ- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิ- ปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปและที่ไม่เป็นรูปโดย อัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) [๑๒๗] สภาวธรรมที่เป็นรูปและที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูป โดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดย อัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นรูปและที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณและจักขายตนะเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นรูปและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๑. รูปีทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นรูปและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๒) ... เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอวิคต- ปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๒๘] เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ วิปากปัจจัย มี ๓ วาระ อาหารปัจจัย มี ๔ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๖ วาระ ฌานปัจจัย มี ๓ วาระ มัคคปัจจัย มี ๓ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๑. รูปีทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ
อนุโลม จบ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๑๒๙] สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยสหชาตปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยสหชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปและที่ไม่เป็นรูปโดย สหชาตปัจจัยและกัมมปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นรูปและที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูป มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (๑) สภาวธรรมที่เป็นรูปและที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ (๒)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๓๐] นเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๗๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๑. รูปีทุกะ ๗. ปัญหาวาร

นอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ นสหชาตปัจจัย มี ๖ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ นนิสสยปัจจัย มี ๖ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ นมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ โนอวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๑๓๑] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๓ วาระ นอนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๑ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ (ทุกปัจจัย มีปัจจัยละ ๓ วาระ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๗๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

นสัมปยุตตปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๑ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๑๓๒] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๔ วาระ (พึงเพิ่มอนุโลมมาติกา) อวิคตปัจจัย ” มี ๗ วาระ
ปัจจนียานุโลม จบ
รูปีทุกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๒ หน้าที่ ๑๖๘-๑๗๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=42&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=4692&Z=4958                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=270              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=42&item=270&items=20              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=42&item=270&items=20                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu42



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :