ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๗] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดย เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขโดย เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ซึ่งสหรคตด้วย สุขโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) [๑๘] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคต ด้วยสุข ฯลฯ (สภาวธรรมที่มีสุขเป็นมูลมี ๓ วาระ) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย เหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สหรคตด้วยปีติ และที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วย สุขโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

อารัมมณปัจจัย
[๑๙] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ แล้วพิจารณากุศลนั้นด้วยจิตที่สหรคตด้วยปีติ ออกจากฌานที่สหรคตด้วยปีติ ออก จากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาฌานเป็นต้นนั้นด้วยจิตที่สหรคตด้วยปีติ พระ อริยะมีจิตสหรคตด้วยปีติพิจารณากิเลสที่สหรคตด้วยปีติซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลส ที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติเห็นแจ้งขันธ์ที่สหรคต ด้วยปีติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะ ปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สหรคตด้วยปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติ ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ แล้วพิจารณากุศลนั้นด้วยจิตที่สหรคตด้วยสุข ออกจากฌานที่สหรคตด้วยปีติ ออก จากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาฌานเป็นต้นนั้นด้วยจิตที่สหรคตด้วยสุข พระ อริยะมีจิตสหรคตด้วยสุขพิจารณากิเลสที่สหรคตด้วยปีติซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลส ที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสหรคตด้วยสุขเห็นแจ้งขันธ์ที่สหรคต ด้วยปีติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะ ปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สหรคตด้วยสุขจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติ ขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ แล้วพิจารณากุศลนั้นด้วยจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ออกจากฌานที่สหรคตด้วย ปีติ ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาฌานเป็นต้นนั้นด้วยจิตที่สหรคตด้วย อุเบกขา พระอริยะมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาพิจารณากิเลสที่สหรคตด้วยปีติซึ่งละได้ แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา เห็นแจ้งขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

เพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สหรคตด้วยอุเบกขา จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของ บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยปีติด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่สหรคต ด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคต ด้วยปีติ ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาจึงเกิดขึ้น (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคต ด้วยสุขโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้นด้วยจิตที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ออกจากฌานที่สหรคตด้วยปีติ ออกจากมรรค ออกจากผลแล้ว พิจารณาฌาน เป็นต้นนั้นด้วยจิตที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข พระอริยะมีจิตสหรคตด้วย ปีติและที่สหรคตด้วยสุขพิจารณากิเลสที่สหรคตด้วยปีติซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลส ที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข เห็นแจ้งขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดี เพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สหรคตด้วยปีติ และที่สหรคตด้วยสุขจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติ ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขจึงเกิดขึ้น (๔) [๒๐] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภ ขันธ์ที่สหรคตด้วยสุข ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขจึงเกิดขึ้น (๔) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นด้วยจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ออกจากฌานที่ สหรคตด้วยอุเบกขา ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาฌานเป็นต้นนั้นด้วยจิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

ที่สหรคตด้วยอุเบกขา พระอริยะมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาพิจารณากิเลสที่สหรคตด้วย อุเบกขาซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสหรคต ด้วยอุเบกขาเห็นแจ้งขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่ สหรคตด้วยอุเบกขาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาด้วย เจโต- ปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะโดยอารัมมณปัจจัย ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสา- นุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาให้ทาน สมาทาน ศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นด้วยจิตที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ออกจากฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาฌาน เป็นต้นนั้นด้วยจิตที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข พระอริยะมีจิตสหรคตด้วย ปีติและที่สหรคตด้วยสุขพิจารณากิเลสที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งละได้แล้ว พิจารณา กิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วย สุขเห็นแจ้งขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สหรคตด้วยปีติ และที่สหรคตด้วยสุขจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วย อุเบกขา ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขจึงเกิดขึ้น (๔) [๒๑] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ แก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่สภาว- ธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติและ สหรคตด้วยสุขให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ บุคคลมีจิตสหรคตด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๓๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

อุเบกขา เห็นแจ้งขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สหรคตด้วยอุเบกขาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะ จึงเกิดขึ้น รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคต ด้วยสุขด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และ อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคต ด้วยสุข ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอารัมมณปัจจัย (ย่อ) (๔)
อธิปติปัจจัย
[๒๒] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติ ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สหรคต ด้วยปีติ ออกจากฌานที่สหรคตด้วยปีติ ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณา ฌานเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สหรคตด้วยปีติ บุคคลมีจิต สหรคตด้วยปีติยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่สหรคต ด้วยปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขโดยอธิปติ- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติ ให้ทาน ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๓๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ที่สหรคตด้วยสุขโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติ ให้ทาน ฯลฯ ด้วยจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา (ย่อ) (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติให้ทาน ฯลฯ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอธิปติปัจจัย (๔) [๒๓] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยสุข ให้ทาน ฯลฯ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดย อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ ฯลฯ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ที่สหรคตด้วยปีติโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ (ย่อ) (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอธิปติปัจจัย (๔) [๒๔] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วย อุเบกขาโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ ฯลฯ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ (ย่อ) (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ (ย่อ) (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ และที่สหรคตด้วยสุขโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ (ย่อ) (๔) [๒๕] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สหรคตด้วยปีติโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ ฯลฯ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยสุขโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ ฯลฯ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ (ย่อ) (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ ฯลฯ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอธิปติปัจจัย (๔)
อนันตรปัจจัย
[๒๖] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ สหรคตด้วยปีติซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัย แก่โคตรภูโดยอนันตรปัจจัย (ด้วยเหตุนี้พึงแสดงว่าเป็นปัจจัยแก่บททั้งปวง) อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่สหรคตด้วย ปีติโดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัย แก่โคตรภูที่สหรคตด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ โวทานที่สหรคตด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ผล สมาบัติที่สหรคตด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่สหรคตด้วย อุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดย อนันตรปัจจัย มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากซึ่งสหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่มโน- วิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

ภวังคจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย กุศลและอกุศลที่สหรคตด้วยปีติ เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สหรคตด้วยอุเบกขา กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็น ปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติซึ่งเกิดก่อนๆ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่โคตรภูที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข โดยอนันตรปัจจัย ฯลฯ อนุโลมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่สหรคต ด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย (๔) [๒๗] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคต ด้วยสุขซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่ โคตรภูที่สหรคตด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย ฯลฯ อนุโลมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัย แก่ผลสมาบัติที่สหรคตด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคต ด้วยปีติซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ฯลฯ อนุโลมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่ ผลสมาบัติที่สหรคตด้วยปีติโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่สหรคต ด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดย อนันตรปัจจัย กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุที่เป็นวิบากโดย อนันตรปัจจัย มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากซึ่งสหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่มโน- วิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่ ภวังคจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย กุศลและอกุศลที่สหรคตด้วยสุข เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สหรคตด้วยอุเบกขา กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะผลเป็น ปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดก่อนๆ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ฯลฯ อนุโลมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคต ด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย (๔) [๒๘] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วย อุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดหลังๆ ฯลฯ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ วิญญาณ ๔ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ที่สหรคตด้วยอุเบกขา เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็น ปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่สหรคต ด้วยปีติ ฯลฯ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ มโนธาตุที่เป็น วิบากเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากซึ่งสหรคตด้วยปีติ ฯลฯ ภวังคจิตที่ สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ กุศลและอกุศล ที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สหรคตด้วยปีติ กิริยาเป็นปัจจัยแก่ วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจาก นิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่สหรคตด้วยปีติโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอนันตร- ปัจจัย (๔) (อนึ่ง พึงกำหนดข้อความเหล่านี้เท่านั้นเป็นหลัก) [๒๙] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ แก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่สภาว- ธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่สหรคตด้วยปีติและที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ภวังคจิตที่ สหรคต ด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่ เป็นวิบากซึ่งสหรคตด้วยปีติและสหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็น กิริยา ฯลฯ ภวังคจิตที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่ สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ กุศลและอกุศลที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สหรคตด้วยอุเบกขา กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็น ปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติ และที่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคต ด้วยสุขซึ่งเกิดหลังๆ ฯลฯ อนุโลมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัย แก่ผลสมาบัติที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอนันตรปัจจัย (๔)
สมนันตรปัจจัย
[๓๐] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ โดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)
สหชาตปัจจัย
[๓๑] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ โดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย สหชาตปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือนกับปฏิจจวาร สหชาตปัจจัย มี ๑๐ วาระ)
อัญญมัญญปัจจัยและนิสสยปัจจัย
[๓๒] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ โดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มเป็น ๑๐ วาระ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

อุปนิสสยปัจจัย
[๓๓] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติอาศัยศรัทธาที่สหรคตด้วย ปีติแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌานที่สหรคตด้วยปีติให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยปีติอาศัยศีลที่สหรคตด้วยปีติ ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยปีติอาศัยจาคะที่ สหรคตด้วยปีติ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌานที่สหรคตด้วยปีติให้เกิดขึ้น ฯลฯ ทำสมาบัติ ให้เกิดขึ้น มีจิตสหรคตด้วยปีติ ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ งัดแงะ ปล้นไม่ให้เหลือ ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ฆ่า ชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติ ... ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติ ... ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยสุขอาศัยศรัทธาที่สหรคตด้วย ปีติแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยสุข อาศัยศีลที่สหรคตด้วยปีติ ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีจิตสหรคตด้วยสุข ลักทรัพย์ ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอาศัยศรัทธาที่สหรคต ด้วยปีติแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือ ทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอาศัยศีลที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ ความปรารถนาเป็น ปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป- นิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขอาศัย ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติแล้วให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขอาศัยศีลที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสย- ปัจจัย (๔) [๓๔] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยสุขอาศัยศรัทธาที่สหรคตด้วย สุขแล้วให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยสุขอาศัยศีลที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และกายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และกายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และกายวิญญาณที่ สหรคตด้วยสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๔๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติอาศัยศรัทธาที่สหรคตด้วยสุข แล้ว ให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยปีติอาศัยศีลที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และกายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และกายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอาศัยศรัทธาที่สหรคต ด้วยสุขแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ฯลฯ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วย อุเบกขาอาศัยศีลที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และกายวิญญาณที่ สหรคตด้วยสุขแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และกายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคต ด้วยอุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป- นิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขอาศัย ศรัทธาที่สหรคตด้วยสุขแล้วให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขอาศัยศีลที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และกายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยสุขแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และกายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคต ด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๔๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๓๕] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วย อุเบกขาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอาศัยศรัทธาที่ สหรคตด้วยอุเบกขาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ฯลฯ ถือทิฏฐิ มี จิตสหรคตด้วยอุเบกขาอาศัยศีลที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสย- ปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติอาศัยศรัทธาที่สหรคตด้วย อุเบกขาแล้วให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยปีติอาศัยศีลที่สหรคตด้วย อุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคต ด้วยอุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยสุขอาศัยศรัทธาที่สหรคตด้วย อุเบกขาแล้วให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยสุขอาศัยศีลที่สหรคตด้วย อุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคต ด้วยอุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และกายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๔๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ และที่สหรคตด้วยสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขอาศัย ศรัทธาที่สหรคตด้วยอุเบกขาแล้วให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยปีติและ ที่สหรคตด้วยสุขอาศัยศีลที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสย- ปัจจัย (๔) [๓๖] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาว- ธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติอาศัยศรัทธาที่สหรคตด้วย ปีติและที่สหรคตด้วยสุขแล้วให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยปีติอาศัยศีล ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่า ชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนาเป็น ปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป- นิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยสุขอาศัยศรัทธาที่สหรคตด้วย ปีติและที่สหรคตด้วยสุขแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยสุขอาศัย ศีลที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา และกายวิญญาณที่ สหรคตด้วยสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๔๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอาศัยศรัทธาที่สหรคต ด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ฯลฯ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอาศัยศีลที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคต ด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตสหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขอาศัย ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล รักษา อุโบสถ ทำฌานที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ ทำมรรค ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ มีจิตสหรคตด้วยปีติและ ที่สหรคตด้วยสุข อาศัยศีลที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาแล้วจึงให้ ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌานที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ... วิปัสสนา ... มรรค ... สมาบัติให้เกิดขึ้น มีจิตสหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ งัดแงะ ปล้นไม่ให้เหลือ ปล้นเรือน หลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสย- ปัจจัย (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๕๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

อาเสวนปัจจัย
[๓๗] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ สหรคตด้วยปีติซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัย แก่โคตรภูที่สหรคตด้วยปีติ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขโดย อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัย แก่โคตรภูที่สหรคตด้วยสุขโดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ โวทานที่สหรคตด้วยสุขโดยอาเสวนปัจจัย โคตรภูที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ มรรคที่สหรคตด้วยสุข โวทานที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่มรรคที่สหรคตด้วยสุข โดยอาเสวนปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติซึ่งเกิดก่อนๆ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย ฯลฯ โวทานที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่มรรคที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วย สุขโดยอาเสวนปัจจัย (๓) [๓๘] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วย ปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอาเสวนปัจจัย (ย่อ) (พึงดูนัยแห่งปีติแล้วเพิ่มเถิด) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดหลังๆ ฯลฯ โวทานที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็น ปัจจัยแก่มรรคที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอาเสวนปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๕๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๓๙] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สหรคตด้วยปีติ ฯลฯ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วย ปีติและที่สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย ฯลฯ โวทานที่สหรคตด้วยปีติ และที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่มรรคที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดย อาเสวนปัจจัย (๓)
กัมมปัจจัย
[๔๐] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมม- ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย กัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่ง สหรคตด้วยปีติโดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขโดยกัมม- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ที่สหรคต ด้วยสุขโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขโดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่ง สหรคตด้วยสุขโดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สหรคตด้วยปีติ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งสหรคตด้วยอุเบกขาโดยกัมมปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๕๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ที่สหรคต ด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่ง สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยกัมมปัจจัย (๔) [๔๑] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข ... (พึงดูการนับทั้ง ๔ แล้วเพิ่มเถิด) [๔๒] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วย อุเบกขาโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ ฯลฯ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขโดย กัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและ ที่สหรคตด้วยสุขโดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ (๔) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยปีติ ... (พึงเพิ่มเป็น ๔ วาระ ผู้รู้พึงจำแนกสภาวธรรมที่สหรคตด้วย ปีติ) (๔)
วิปากปัจจัย
[๔๓] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดย วิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งสหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๕๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

โดยวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (พึงขยายวาระทั้ง ๑๐ ให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัยในปฏิจจวาร)
อาหารปัจจัยเป็นต้น
[๔๔] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดย อาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย เป็นปัจจัย โดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัตถิปัจจัย (พึงขยาย วาระทั้ง ๑๐ ให้พิสดาร) เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย (นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัยเหมือนกับอนันตรปัจจัย) เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๔๕] เหตุปัจจัย มี ๑๐ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๑๖ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๑๖ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๑๖ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๑๖ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๑๐ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๑๐ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๑๐ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๑๖ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๑๐ วาระ กัมมปัจจัย มี ๑๖ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๕๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

วิปากปัจจัย มี ๑๐ วาระ อาหารปัจจัย มี ๑๐ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๑๐ วาระ ฌานปัจจัย มี ๑๐ วาระ มัคคปัจจัย มี ๑๐ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๑๐ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๑๐ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๑๖ วาระ วิคตปัจจัย มี ๑๖ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๑๐ วาระ
(ผู้รู้พึงนับอนุโลมกุสลติกะ)
อนุโลม จบ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๔๖] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดย อารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๔) [๔๗] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๕๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดย อารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัยและกัมมปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่ สหรคตด้วยสุขโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๔) [๔๘] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วย อุเบกขาโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัยและกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ โดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข โดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ และที่สหรคตด้วยสุขโดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๔) [๔๙] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สหรคตด้วยปีติโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมม- ปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่สหรคตด้วยสุขโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมม- ปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สหรคตด้วยปีติและที่สหรคตด้วยสุขโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสย- ปัจจัย และกัมมปัจจัย (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๕๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๕๐] นเหตุปัจจัย มี ๑๖ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๑๖ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๑๖ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๑๖ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๑๖ วาระ นสหชาตปัจจัย มี ๑๖ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๖ วาระ นนิสสยปัจจัย มี ๑๖ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๖ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๖ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๖ วาระ นอาเสวนปัจจัย มี ๑๖ วาระ นกัมมปัจจัย มี ๑๖ วาระ นวิปากปัจจัย มี ๑๖ วาระ นอาหารปัจจัย มี ๑๖ วาระ นอินทรียปัจจัย มี ๑๖ วาระ นฌานปัจจัย มี ๑๖ วาระ นมัคคปัจจัย มี ๑๖ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๖ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๑๖ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๑๖ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๑๖ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๕๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

โนวิคตปัจจัย มี ๑๖ วาระ โนอวิคตปัจจัย มี ๑๖ วาระ ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑๖ วาระ (ผู้รู้พึงนับปัจจนียะ)
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
ทุกนัย
[๕๑] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๑๐ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นอนันตรปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นอาเสวนปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นกัมมปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นวิปากปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นอาหารปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นอินทรียปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นฌานปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นมัคคปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑๐ วาระ (ผู้รู้พึงนับอนุโลมปัจจนียะ)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๗. ปีติติกะ ๗. ปัญหาวาร

๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
ทุกนัย
[๕๒] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑๖ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๑๖ วาระ อนันตรปัจจัย ” มี ๑๖ วาระ สมนันตรปัจจัย ” มี ๑๖ วาระ สหชาตปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นิสสยปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๑๖ วาระ อาเสวนปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ กัมมปัจจัย ” มี ๑๖ วาระ วิปากปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ อาหารปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ อินทรียปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ ฌานปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ มัคคปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ อัตถิปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ นัตถิปัจจัย ” มี ๑๖ าระ วิคตปัจจัย ” มี ๑๖ วาระ อวิคตปัจจัย ” มี ๑๐ วาระ (ผู้รู้พึงนับปัจจนียานุโลม)
ปัจจนียานุโลม จบ
ปีติติกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๑๕๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๑ หน้าที่ ๑๓๔-๑๕๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=41&siri=7              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=41&A=3558&Z=4252                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=481              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=41&item=481&items=96              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=41&item=481&items=96                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu41



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :