ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๙] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑)
อารัมมณปัจจัย
[๒๐] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาวิญญาณัญจายตนะที่เป็นอดีต พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอดีตซึ่งมีอดีตธรรม เป็นอารมณ์ พิจารณาเจโตปริยญาณ ... ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ... ยถากัมมูปค- ญาณ พระอริยะพิจารณากิเลสที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งละได้แล้ว พิจารณา กิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่งมีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะ ปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็น อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาวิญญาณัญจายตนะที่เป็นอนาคต พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอนาคตซึ่งมีอดีต- ธรรมเป็นอารมณ์ พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณ เห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นอนาคตซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็น อนาคตซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วย จิตที่เป็นปัจจุบันซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณ- ปัจจัย (๓) [๒๑] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาอิทธิวิธญาณที่ เป็นอนาคตซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ อนาคตังส- ญาณ ฯลฯ บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นอนาคตซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็น อนาคตซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอดีตซึ่งมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ พิจารณาเจโตปริยญาณ ... อนาคตังสญาณ ... พระอริยะ พิจารณากิเลสที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดย เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์ นั้น ราคะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอดีต ซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็น ปัจจุบันซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ และอาวัชชนจิต โดยอารัมมณปัจจัย (๓) [๒๒] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความ พรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ ที่เป็นปัจจุบันซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณและอาวัชชน- จิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาทิพพจักขุที่เป็นอดีต พิจารณาทิพพโสตธาตุ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอดีตซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ พิจารณาเจโตปริยญาณ พระอริยะพิจารณากิเลสที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งละ ได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็น อดีตซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอาวัชชนจิตโดย อารัมมณปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาทิพพจักขุที่เป็นอนาคต พิจารณาทิพพโสตธาตุ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอนาคตซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็น อารมณ์ พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ เห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นอนาคตซึ่งมีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์ นั้น ราคะที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็น อนาคตซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๓)
อธิปติปัจจัย
[๒๓] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลพิจารณาวิญญาณัญจายตนะที่เป็นอดีตให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอดีตซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่ง มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิด เพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคล พิจารณาวิญญาณัญจายตนะที่เป็นอนาคตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอนาคตซึ่งมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๗๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

อดีตธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิด เพลินขันธ์ที่เป็นอนาคตซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๒) [๒๔] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและ สหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลพิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอนาคตซึ่งมี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาเจโตปริย- ญาณ ฯลฯ อนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ เป็นอนาคตซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำ ความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคล พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอดีตซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ฯลฯ พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ อนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๒) [๒๕] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๗๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคล พิจารณาทิพพจักขุที่เป็นอดีตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาทิพพโสตธาตุ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอดีตซึ่งมีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาเจโตปริยญาณให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ราคะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคล พิจารณาทิพพจักขุที่เป็นอนาคตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาทิพพโสต- ธาตุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอนาคตซึ่งมี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาเจโตปริย- ญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นอนาคตซึ่งมี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิด เพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิด ขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๓)
อนันตรปัจจัย
[๒๖] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ภวังคจิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัย แก่อาวัชชนจิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๗๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปฏิสนธิจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่มีอดีตธรรมเป็น อารมณ์เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (๓) [๒๗] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็น อารมณ์ซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อิทธิวิธญาณที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็น ปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ เจโตปริยญาณเป็นปัจจัยแก่ วุฏฐานะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ อนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มี อดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ วุฏฐานะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (๒) [๒๘] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ ซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย ปฏิสนธิจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่มี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ ภวังคจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ ภวังคจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ปฏิสนธิจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็น ปัจจัยแก่ภวังคจิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ ภวังคจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็น อารมณ์เป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (๒)
สมนันตรปัจจัย
[๒๙] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีต ธรรมเป็นอารมณ์โดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[๓๐] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีต ธรรมเป็นอารมณ์โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย (ปัจจัยแม้ทั้ง ๓ เหมือนกับปฏิจจวาร)
อุปนิสสยปัจจัย
[๓๑] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีต- ธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ อนัตตานุปัสสนาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ อนัตตานุปัสสนาที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ อนัตตานุปัสสนาที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๓๒] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ อนัตตานุปัสสนาที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ อนัตตานุปัสสนาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบัน ธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนาที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนาที่มีปัจจุบัน ธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๓๓] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ อนัตตานุปัสสนาที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ อนัตตานุปัสสนาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูป- นิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ อนัตตานุปัสสนาที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
อาเสวนปัจจัย
[๓๔] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย (๑)
กัมมปัจจัย
[๓๕] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น วิบากซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดย กัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดย กัมมปัจจัย (๓) [๓๖] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์โดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ เป็นวิบากซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ โดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบัน ธรรมเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ โดยกัมมปัจจัย (๓) [๓๗] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ เป็นวิบากซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ โดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ โดยกัมมปัจจัย (๓)
วิปากปัจจัยเป็นต้น
[๓๘] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยวิปากปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๓๙] เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ กัมมปัจจัย มี ๙ วาระ วิปากปัจจัย มี ๓ วาระ อาหารปัจจัย มี ๓ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๓ วาระ ฌานปัจจัย มี ๓ วาระ มัคคปัจจัย มี ๓ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๔๐] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๔๑] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และ กัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบัน ธรรมเป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๓) [๔๒] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และ กัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคต ธรรมเป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๓)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๔๓] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ (ย่อ ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ) โนวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๔๔] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๓ วาระ นอนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ นอาเสวนปัจจัย ” มี ๓ วาระ นกัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ นวิปากปัจจัย ” มี ๓ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๓ วาระ ย่อ) โนนัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๔๕] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๗ วาระ อนันตรปัจจัย ” มี ๗ วาระ สมนันตรปัจจัย ” มี ๗ วาระ สหชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๙. อตีตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร

อัญญมัญญปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ นิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๙ วาระ อาเสวนปัจจัย ” มี ๓ วาระ กัมมปัจจัย ” มี ๙ วาระ วิปากปัจจัย ” มี ๓ วาระ อาหารปัจจัย ” มี ๓ วาระ อินทรียปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฌานปัจจัย ” มี ๓ วาระ มัคคปัจจัย ” มี ๓ วาระ สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ อัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ นัตถิปัจจัย ” มี ๗ วาระ วิคตปัจจัย ” มี ๗ วาระ อวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ
ปัญหาวาร จบ
อตีตารัมมณติกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๘๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๑ หน้าที่ ๕๗๔-๕๘๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=41&siri=42              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=41&A=13596&Z=13982                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=1970              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=41&item=1970&items=63              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=41&item=1970&items=63                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu41



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :