ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๑๐๐. สีโมกกันติกเปยยาล

[๑๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ วันอุโบสถของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส เป็นวัน ๑๔ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงอนุวัตตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงอนุวัตตามพวก ภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันอุโบสถของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส เป็นวัน ๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๔ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงอนุวัตตามพวก ภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันอุโบสถของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส เป็นวัน ๑ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงให้ความพร้อม เพรียงแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะพึงไปนอกสีมาทำอุโบสถเถิด ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสไม่ปรารถนาก็ไม่พึงให้ความพร้อม เพรียงแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะพึงไปนอกสีมาทำอุโบสถเถิด ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงให้ความพร้อม เพรียงแก่พวกภิกษุอาคันตุกะหรือไปนอกสีมา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันอุโบสถของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส เป็นวัน ๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงให้ความพร้อมเพรียงแก่ภิกษุที่อยู่ใน อาวาส หรือไปนอกสีมา ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความ พร้อมเพรียงแก่ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหรือไปนอกสีมา ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวน มากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะไม่ปรารถนาก็ไม่พึงให้ความพร้อมเพรียงแก่พวกภิกษุ ที่อยู่ในอาวาส พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงไปนอกสีมาทำอุโบสถเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๘๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๑๐๑. ลิงคาทิทัสสนะ

๑๐๑. ลิงคาทิทัสสนะ
ว่าด้วยการเห็นลักษณะเป็นต้น
[๑๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะได้เห็นอาการของ ภิกษุที่อยู่ในอาวาส๑- ลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส๒- เครื่องหมายของภิกษุที่อยู่ ในอาวาส๓- สิ่งส่อแสดงภิกษุที่อยู่ในอาวาส๔- ของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส เตียง ตั่ง ฟูก หมอน น้ำฉัน น้ำใช้ จัดไว้ดี บริเวณกวาดสะอาด ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า “มีพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสอยู่หรือไม่มีหนอ” ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะได้ยินอาการของภิกษุที่ อยู่ในอาวาส ลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เครื่องหมายของภิกษุที่อยู่ในอาวาส สิ่งส่อแสดงภิกษุที่อยู่ในอาวาสของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ได้ยินเสียงเท้าของพวก ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกำลังจงกรม เสียงสาธยาย เสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้ว ไม่ แน่ใจว่า “มีพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสอยู่หรือไม่มีหนอ” @เชิงอรรถ : @ อาการ หมายถึงอาจารสัณฐาน คือมีอาจาระ ซึ่งทำให้รู้ว่ามีข้อวัตรมั่นคง เช่นจัดเครื่องเสนาสนะมีเตียง @ตั่งเป็นต้นไว้เรียบร้อยดี @ ลิงค์ หมายถึงเครื่องเสนาสนะมีเตียงตั่งเป็นต้นที่จัดไว้เรียบร้อยดี ซึ่งทำให้รู้ว่า มีภิกษุหลีกเร้นอยู่ แม้จะ @ไม่ปรากฏกายให้เห็นก็ตาม @ นิมิต หมายถึงเครื่องเสนาสนะมีเตียงตั่งเป็นต้นที่จัดไว้เรียบร้อยดี ซึ่งพอเห็นแล้วเป็นเหตุให้กำหนดรู้ได้ว่า @“มีภิกษุทั้งหลายอยู่” @ อุทเทส หมายถึงเครื่องเสนาสนะมีเตียงตั่งเป็นต้นที่จัดไว้เรียบร้อยดี ซึ่งเป็นเหตุให้อ้างได้ว่า “ภิกษุเหล่านั้น @มีบริขารอย่างนี้” (วิ.อ. ๓/๑๗๙/๑๔๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๗๙/๓๔๐, ปาจิตฺยาทิโยชนา ๑๗๙/๓๑๓ ม.) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๘๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๑๐๑. ลิงคาทิทัสสนะ

ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสได้เห็นอาการของ พวกภิกษุอาคันตุกะ ลักษณะของพวกภิกษุอาคันตุกะ เครื่องหมายของพวกภิกษุ อาคันตุกะ สิ่งส่อแสดงพวกภิกษุอาคันตุกะของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้เห็นบาตร จีวร ผ้านิสีทนะ รอยน้ำล้างเท้าอันเป็นของภิกษุพวกอื่น ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า “มีพวกภิกษุอาคันตุกะอยู่หรือไม่มีหนอ” ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสได้ยินอาการของ พวกภิกษุอาคันตุกะ ลักษณะของพวกภิกษุอาคันตุกะ เครื่องหมายของพวกภิกษุ อาคันตุกะ สิ่งส่อแสดงพวกภิกษุอาคันตุกะของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้ยินเสียงเท้า ของพวกภิกษุอาคันตุกะกำลังเดินมา เสียงรองเท้ากระทบพื้น เสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า “มีพวกภิกษุอาคันตุกะอยู่หรือไม่มีหนอ” ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๘๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๑๐๒. นานาสังวาสกาทิอุปสถกรณะ

ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย
๑๐๒. นานาสังวาสกาทิอุโปสถกรณะ
ว่าด้วยภิกษุเป็นนานาสังวาสเป็นต้นทำอุโบสถ
[๑๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะเห็นพวกภิกษุที่อยู่ใน อาวาสผู้เป็นนานาสังวาส๑- เข้าใจว่าเป็นสมานสังวาส ไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะเห็นพวกภิกษุที่อยู่ใน อาวาสผู้เป็นสมานสังวาส เข้าใจว่าเป็นนานาสังวาส ไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสเห็นพวกภิกษุอาคันตุกะ ผู้เป็นนานาสังวาส เข้าใจว่าเป็นสมานสังวาส ไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้อง อาบัติ @เชิงอรรถ : @ ภิกษุผู้เป็นนานาสังวาสคือมีสังวาสต่างกันหรือต่างพวกกัน มี ๒ กลุ่ม คือ เป็นนานาสังวาสเพราะลัทธิ @เช่นประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมและเป็นนานาสังวาสเพราะกรรมเช่นถูกลงอุกเขปนียกรรม @เป็นต้น (วิ.อ. ๓/๑๘๐/๑๔๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๘๐/๔๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๘๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๑๐๓. นคันตัพพวาร

ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ต้อง อาบัติทุกกฏ ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ไม่ต้อง อาบัติ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสเห็นพวกภิกษุ อาคันตุกะผู้เป็นสมานสังวาส เข้าใจว่าเป็นนานาสังวาสไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วม กัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
๑๐๓. นคันตัพพวาร
ว่าด้วยสถานที่ไม่ควรไปในวันอุโบสถ
[๑๘๑] ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ๑- ไปสู่ อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์๒- เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่ มิใช่อาวาส๓- ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย @เชิงอรรถ : @ อาวาสที่มีภิกษุ หมายถึงในอาวาสใด มีภิกษุพอที่จะทำอุโบสถอยู่ ไม่พึงออกจากอาวาสนั้นไปสู่อาวาส @ที่ไม่มีภิกษุพอที่จะทำอุโบสถ (วิ.อ. ๓/๑๘๑/๑๔๓) @ ไปกับสงฆ์ หมายถึงไปกับภิกษุทั้งหลายที่มีจำนวนครบองค์สงฆ์ คือ ไปกับภิกษุอื่นๆ รวมกับตัวภิกษุ @นั้นเองเป็น ๔ รูปเป็นอย่างน้อย (วิ.อ. ๓/๑๘๑/๑๔๓) @ สถานที่มิใช่อาวาส หมายถึงสถานที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างและศาลาเป็นต้น (วิ.อ. ๓/๑๘๑/๑๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๘๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๑๐๓. นคันตัพพวาร

ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่ มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มี ภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มี อันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่ มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๘๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๑๐๔. คันตัพพวาร

ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็น นานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุ ผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๑๐๔. คันตัพพวาร
ว่าด้วยสถานที่ควรไปในวันอุโบสถ
[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่ อาวาสที่มีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นสมานสังวาส ซึ่งตนเองรู้ว่า “เรา สามารถไปถึงในวันนี้แหละ” ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่ อาวาสซึ่งมีภิกษุ ฯลฯ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ ของพวกภิกษุผู้เป็นสมานสังวาส ซึ่งตนเองรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ” ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุไปสู่ อาวาสที่มีภิกษุ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๘๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๑๐๕. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา

... ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ... ... ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้ เป็นสมานสังวาส ซึ่งตนเองรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ” ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ... ... ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ... ... ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้ เป็นสมานสังวาส ซึ่งตนเองรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”
๑๐๕. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา
ว่าด้วยการแสดงบุคคลที่ควรเว้นในอุโบสถกรรม
[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีภิกษุณีนั่ง อยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ... ในบริษัทที่มีสิกขมานานั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีสามเณรนั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีสามเณรีนั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ด้วย ... ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีภิกษุต้องอันติมวัตถุ๑- นั่งอยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย กรรมเพราะไม่เห็นอาบัตินั่งอยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง พึงปรับอาบัติตามธรรม ... ในบริษัทที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัตินั่งอยู่ด้วย ... ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัททที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปนั่งอยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง พึงปรับอาบัติตามธรรม @เชิงอรรถ : @ ภิกษุต้องอันติมวัตถุ หมายถึงภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๘๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๑๐๕. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีบัณเฑาะก์นั่งอยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ... ในบริษัทที่มีคนลักเพศนั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์นั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีสัตว์ดิรัจฉานอยู่ด้วย๑- ... ... ในบริษัทที่มีคนฆ่ามารดานั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีคนฆ่าบิดานั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีคนฆ่าพระอรหันต์นั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีคนประทุษร้ายภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั่งอยู่ด้วย ... ... ในบริษัทที่มีคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตนั่งอยู่ด้วย ... ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีอุภโตพยัญชนกนั่งอยู่ ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องปาริวาสิกปาริสุทธิ
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงทำอุโบสถด้วยการให้ปาริวาสิกปาริสุทธิ๒- เว้นแต่บริษัท ยังไม่ลุกขึ้น ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ไม่พึงทำอุโบสถในวันมิใช่วันอุโบสถ เว้นแต่วันที่ สงฆ์สามัคคี
ภาณวารที่ ๓ จบ
อุโปสถขันธกะ ที่ ๒ จบ
ในขันธกะนี้ มี ๘๖ เรื่อง
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงสัตว์ดิรัจฉานที่พระผู้มีพระภาคทรงห้ามอุปสมบท (วิ.สงฺคห.๒๔๕, กงฺขา.อ. ๑๑๖) @ ปาริวาสิกปาริสุทธิ ให้ปาริสุทธิค้าง หมายถึงภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันด้วยประสงค์จะทำอุโบสถ ขณะ @นั้นเอง ได้มีภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า “วันนี้ ไม่ควรทำอุโบสถ เพราะฤกษ์ไม่ดี” ดังนี้เป็นต้น ภิกษุทั้งหลาย @จึงสละเลิกปาริสุทธิแล้วลุกขึ้น มีภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า “ประโยชน์ได้ล่วงเลยบุคคลผู้มัวแต่รอฤกษ์ ยามอยู่ @พวกท่านจะได้ประโยชน์อะไรจากดวงดาว” ภิกษุทั้งหลายจึงตกลงจะทำสังฆกรรมต่อไป โดยไม่ต้อง นำ @ปาริสุทธิมาใหม่ อย่างนี้ไม่สมควร เพราะปาริสุทธิที่ให้ไว้ก่อน เป็น “ปาริวาสิกปาริสุทธิ” แปลว่า @ปาริสุทธิค้าง ปาริสุทธิที่ให้แล้วแต่งดไว้ก่อน (ดู กงฺขา.อ. ๔๐๓-๔๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๘๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๘๐-๒๘๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=65              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=5249&Z=5413                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=197              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=197&items=7              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=197&items=7                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i147-e.php#topic34 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/brahmali#pli-tv-kd2:34.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/horner-brahmali#Kd.2.34



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :