ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
๗๒. อุโปสถาคารกถา
ว่าด้วยโรงอุโบสถ
เรื่องยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงตามบริเวณวิหาร
[๑๔๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงตามบริเวณวิหารโดยไม่ กำหนดที่ พระอาคันตุกะทั้งหลายไม่รู้ว่า “วันนี้สงฆ์จะทำอุโบสถ ณ ที่ไหน” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงตาม บริเวณวิหารโดยไม่กำหนดที่ รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติวิหาร เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น หรือถ้ำ ที่สงฆ์ ต้องการให้เป็นโรงอุโบสถแล้วจึงทำอุโบสถ” ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสมมติโรงอุโบสถอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
วิธีสมมติโรงอุโบสถและกรรมวาจาสมมติโรงอุโบสถ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นโรงอุโบสถ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นโรงอุโบสถ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นโรงอุโบสถ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๑๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๗๒. อุโปสถาคารกถา

วิหารมีชื่อนี้สงฆ์สมมติให้เป็นโรงอุโบสถแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เรื่องสมมติโรงอุโบสถ ๒ แห่งในอาวาสเดียวกัน
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์สมมติโรงอุโบสถ ๒ แห่ง ภิกษุทั้งหลาย ประชุมกันในโรงอุโบสถทั้ง ๒ แห่งด้วยตั้งใจว่า “สงฆ์จักทำอุโบสถ ณ ที่นี้ สงฆ์จัก ทำอุโบสถ ณ ที่นี้” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์ไม่พึงสมมติ โรงอุโบสถ ๒ แห่ง ภิกษุสงฆ์หมู่ใดสมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถอนโรงอุโบสถแห่งหนึ่งแล้ว จึงทำอุโบสถในโรงอุโบสถอีกแห่งหนึ่ง”
วิธีถอนโรงอุโบสถและกรรมวาจาถอนโรงอุโบสถ
ภิกษุทั้งหลาย พึงถอนโรงอุโบสถอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงถอนโรง อุโบสถมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วย กับการถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น พึงทักท้วง โรงอุโบสถมีชื่อนี้สงฆ์ถอนแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๑๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๗๓. อุโปสถปมุขานุชานนา

๗๓. อุโปสถปมุขานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถ
เรื่องสมมติโรงอุโบสถเล็กเกินไป
[๑๔๒] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์สมมติโรงอุโบสถเล็กเกินไป ถึงวัน อุโบสถ ภิกษุสงฆ์ลงประชุมกันมาก ภิกษุทั้งหลายต้องนั่งฟังปาติโมกข์ ณ พื้นที่ ที่มิได้สมมติ ภิกษุทั้งหลายจึงได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘พึง สมมติโรงอุโบสถแล้วจึงทำอุโบสถ’ ก็พวกเรานั่งฟังปาติโมกข์ ณ พื้นที่ที่มิได้สมมติ อุโบสถเป็นอันพวกเราทำแล้วหรือไม่หนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุนั่งในพื้นที่ที่สมมติ แล้วก็ตาม ยังมิได้สมมติแล้วก็ตามฟังปาติโมกข์อยู่ อุโบสถย่อมเป็นอันเธอได้ทำแล้ว ทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถให้ใหญ่ เท่าที่จำนงเถิด”
วิธีสมมติและกรรมวาจาสมมติพื้นที่ด้านหน้าในโรงอุโบสถ
ภิกษุทั้งหลาย พึงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถอย่างนี้ ในเบื้องต้นพึงทักนิมิต ครั้นทักนิมิตแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้โดยรอบเพียงใด ถ้าสงฆ์พร้อม กันแล้ว สงฆ์พึงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถด้วยนิมิตเหล่านั้น นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้โดยรอบเพียงใด สงฆ์สมมติพื้นที่ ด้านหน้าโรงอุโบสถด้วยนิมิตเหล่านั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสมมติพื้นที่ด้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

๗๓. อุโปสถปมุขานุชานนา

หน้าโรงอุโบสถด้วยนิมิตเหล่านั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น พึงทักท้วง พื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถสงฆ์ได้สมมติด้วยนิมิตเหล่านั้นแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เรื่องภิกษุนวกะลงประชุมก่อน
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ ภิกษุผู้นวกะทั้งหลายลงประชุมกัน ก่อนแล้วหลีกไปด้วยคิดว่า “ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายยังไม่มาเลย” อุโบสถมีในเวลาวิกาล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ เราอนุญาตให้ภิกษุ ผู้เถระทั้งหลายลงประชุมก่อน”
ทรงอนุญาตให้ภิกษุหลายวัดทำอุโบสถร่วมกัน
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ อาวาสหลายแห่งมีสีมาร่วมกัน ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสเหล่านั้น กล่าวแย้งกันว่า “ขอสงฆ์จงทำอุโบสถในอาวาสของพวกเรา ขอสงฆ์ จงทำอุโบสถในอาวาสของพวกเรา” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในกรุงราชคฤห์นี้ อาวาสหลายแห่ง มีสีมาร่วมกัน ภิกษุทั้งหลายในอาวาสเหล่านั้น กล่าวแย้งกันว่า ‘ขอสงฆ์จงทำอุโบสถ ในอาวาสของพวกเรา ขอสงฆ์จงทำอุโบสถในอาวาสของพวกเรา’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทุกรูปต้องประชุมทำอุโบสถในที่แห่งเดียวเท่านั้น หรือภิกษุผู้เถระอยู่ ในอาวาสใดก็ต้องประชุมทำอุโบสถในอาวาสนั้น สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกกันทำอุโบสถ ภิกษุสงฆ์หมู่ใดพึงทำ ต้องอาบัติทุกกฏ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๒๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๑๗-๒๒๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=55              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=4243&Z=4318                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=157              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=157&items=5              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=157&items=5                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i147-e.php#topic8 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/brahmali#pli-tv-kd2:8.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd2/en/horner-brahmali#BD.4.139



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :