ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๔. กามกถา (๗๖)

๔. กามกถา (๗๖)
ว่าด้วยกาม
[๕๑๓] สก. อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกามใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ความพอใจที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้นมีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากความพอใจเกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม” สก. ความกำหนัด ความพอใจ ความกำหนัดและความพอใจที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้น ... ความดำริ ความกำหนัด ความดำริและความกำหนัดที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้น ... ปีติ โสมนัส ปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้น มีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม” [๕๑๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ (๕) โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้ง ทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้”๓- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๓/๒๓๖) @ เพราะมีความเห็นว่า อายตนะ ๕ มีรูปายตนะ เป็นต้น ยกเว้นธัมมายตนะ ชื่อว่ากาม กิเลสกามไม่ชื่อว่า @กาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๓/๒๓๖) @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๗/๒๙๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๕๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๔. กามกถา (๗๖)

ปร. ดังนั้น อายตนะ ๕ เท่านั้นจึงเป็นกาม สก. อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกามใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ (๕) โผฏฐัพพะ ที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจ ให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่เรียกว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณ ในอริยวินัย (พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า) สังกัปปราคะของบุรุษ ชื่อว่ากาม๑- อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม สังกัปปราคะของบุรุษ ชื่อว่ากาม อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลก ตั้งอยู่ตามสภาพของตนเท่านั้น แต่ธีรชนทั้งหลาย ย่อมกำจัดความพอใจ ในอารมณ์ที่วิจิตรเหล่านั้น”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม”
กามกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ กาม หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริในวัตถุมีรูปร่างที่งดงาม เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/๑๔๘, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๓/๗๐) และเป็นชื่อเรียกกิเลสกามอีกชื่อหนึ่งในจำนวนชื่อเรียกกาม ๑๘ ชื่อ @(ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑/๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘/๖๖-๖๗) @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๕๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๕๐-๕๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=96              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=12041&Z=12083                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1214              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1214&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5312              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1214&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5312                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv8.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :