ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๑. ฉคติกถา (๗๓)

๘. อัฏฐมวรรค
๑. ฉคติกถา (๗๓)
ว่าด้วยคติ ๖
[๕๐๓] สก. คติมี ๖ ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. คติ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๕ อย่าง คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต มนุษย์ เทวดามิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากคติพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๕ อย่าง คือ นรก กำเนิดดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต มนุษย์ เทวดา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คติมี ๖” สก. คติมี ๖ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อสูรจำพวกกาลกัญชิกา มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสพกามเหมือนกัน มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเปรตทั้งหลาย และแต่งงานกับเปรตทั้งหลาย ได้มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอสูรจำพวกกาลกัญชิกา มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสพกามเหมือนกัน มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเปรตทั้งหลาย และแต่งงานกับเปรต ทั้งหลายได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คติมี ๖” @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๓/๒๓๒) @ เพราะมีความเห็นว่า คติมี ๖ คือ (๑) เทวคติ (๒) มนุสสคติ (๓) เปตคติ (๔) อสุรกายคติ (แยก @มาจากนิรยคติ) (๕) ติรัจฉานคติ (๖) นิรยคติ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า คติมีเพียง ๕ @โดยไม่แยกอสุรกายออกเป็นคติหนึ่งต่างหาก แต่จัดพวกอสุรกายฝ่ายชั่วเข้าในเปตคติ และจัดพวกอสุรกาย @ฝ่ายดีเข้าในเทวคติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๓/๒๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๑. ฉคติกถา (๗๓)

สก. คติมี ๖ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พวกอสูรที่เป็นบริวารของท้าวเวปจิตติ มีรูปร่างเหมือนกัน มีการ เสพกามเหมือนกัน มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเทวดาทั้งหลาย และ แต่งงานกับเทวดาทั้งหลายได้มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพวกอสูรที่เป็นบริวารท้าวเวปจิตติ มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสพ กามเหมือนกัน มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเทวดาทั้งหลาย และแต่ง งานกับเทวดาทั้งหลายได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คติมี ๖” สก. คติมี ๖ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พวกอสูรที่เป็นบริวารของท้าวเวปจิตติเป็นเทวดามาก่อนมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพวกอสูรที่เป็นบริวารของท้าวเวปจิตติเป็นเทวดามาก่อน ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า “คติมี ๖” [๕๐๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “คติมี ๖” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. อสุรกายมีมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากอสุรกายมี ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “คติมี ๖”
ฉคติกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๓๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๓๕-๕๓๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=93              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=11711&Z=11750                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1193              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1193&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5219              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1193&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5219                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv8.1/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :