ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๓. เจตสิกกถา (๖๕)
ว่าด้วยเจตสิก
[๔๗๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตมีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิด พร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มี” @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๕-๔๗๗/๒๒๓) @ เพราะมีความเห็นว่า ไม่สามารถจะแยกสภาวธรรมที่เรียกว่า เจตสิกออกจากจิตได้ จึงถือว่าไม่มีเจตสิก @อยู่จริง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๕-๔๗๗/๒๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๐๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๓. เจตสิกกถา (๖๕)

สก. ผัสสะเกิดร่วมกับจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากผัสสะเกิดร่วมกับจิต ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ผัสสะเป็นเจตสิก” สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เกิดร่วมกับจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากอโนตตัปปะเกิดร่วมกับจิต ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อโนตตัปปะเป็นเจตสิก” [๔๗๖] ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับจิต” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมเป็นเจตสิก” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับผัสสะ” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมเป็นผัสสิกะ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับจิต” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมเป็นเจตสิก” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับเวทนา ฯลฯ เกิดร่วมกับ สัญญา ฯลฯ เกิดร่วมกับเจตนา ฯลฯ เกิดร่วมกับสัทธา ฯลฯ เกิดร่วมกับวิริยะ ฯลฯ เกิดร่วมกับสติ ฯลฯ เกิดร่วมกับสมาธิ ฯลฯ เกิดร่วมกับปัญญา ฯลฯ เกิดร่วมกับราคะ ฯลฯ เกิดร่วมกับโทสะ ฯลฯ เกิดร่วมกับโมหะ ฯลฯ เกิดร่วม กับอโนตตัปปะ” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมเป็นอโนตตัปปาสิกะ” ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๐๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๓. เจตสิกกถา (๖๕)

[๔๗๗] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จิตนี้และสภาวธรรมที่เป็นเจตสิก ย่อมปรากฏแก่ผู้รู้แจ้งชัดแล้วโดยความเป็นอนัตตา ครั้นรู้ชัดสภาวธรรมทั้ง ๒ นั้น ทั้งที่หยาบและประณีต จึงเป็นผู้มีความเห็นโดยชอบ ทราบชัดว่า มีความแตกดับเป็นธรรมดา” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงมีอยู่ สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เกวัฏฏะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ทายจิต ทายเจตสิก ทายวิตกวิจาร ของสัตว์อื่นๆ ของบุคคลอื่นๆ ว่า ใจของท่าน เป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการอย่างนี้ ความคิดของท่านเป็นดังนี้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงมีอยู่
เจตสิกกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๔๘/๑๐๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๐๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๐๕-๕๐๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=85              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=11078&Z=11125                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1136              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1136&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5009              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1136&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5009                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv7.3/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :