ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๗. ลักขณกถา (๓๙)

๗. ลักขณกถา (๓๙)
ว่าด้วยลักษณะ
[๔๐๐] สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะบางส่วน เป็นพระโพธิสัตว์บางส่วนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะ ๓ ส่วน เป็นพระโพธิสัตว์ ๓ ส่วนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะครึ่งหนึ่ง เป็นพระโพธิสัตว์ครึ่งหนึ่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะ พระเจ้าจักรพรรดิก็ เป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๐/๒๐๖) @ เพราะมีความเห็นว่า ผู้เป็นพระโพธิสัตว์จะต้องบริบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ทุกภพทุกชาติ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๐/๒๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๒๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๗. ลักขณกถา (๓๙)

สก. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะ พระเจ้าจักรพรรดิก็ เป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุรพประโยค บุรพจริยา การบอกกล่าวธรรม การแสดงธรรมของ พระโพธิสัตว์เป็นเช่นไร บุรพประโยค บุรพจริยา การบอกกล่าวธรรม การแสดงธรรม ของพระเจ้าจักรพรรดิก็เป็นเช่นนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๐๑] สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ หมู่เทวดารับก่อน หมู่มนุษย์รับภายหลัง ฉันใด เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิประสูติ หมู่เทวดารับก่อน หมู่มนุษย์รับภายหลัง ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ เทพบุตร ๔ องค์ รับพระโพธิสัตว์นั้นแล้ววาง ไว้ตรงพระพักตร์ของพระมารดา แล้วทูลว่า “ข้าแต่พระเทวี ขอพระองค์จงพอ พระทัยเถิด พระโอรสผู้มีศักดิ์ใหญ่ของพระองค์ประสูติแล้ว” ฉันใด เมื่อพระเจ้า จักรพรรดิ ประสูติ เทพบุตร ๔ องค์ รับพระเจ้าจักรพรรดินั้นแล้ววางไว้ตรงพระ พักตร์ของพระมารดา แล้วทูลว่า “ข้าแต่พระเทวี ขอพระองค์จงพอพระทัยเถิด พระโอรสผู้มีศักดิ์ใหญ่ของพระองค์ประสูติแล้ว” ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ ธารน้ำทั้ง ๒ คือ ธารน้ำเย็นและธารน้ำร้อน ไหลลงจากอากาศ ชนทั้งหลายสรงพระโพธิสัตว์และพระมารดา ฉันใด เมื่อพระเจ้า จักรพรรดิประสูติ ธารน้ำทั้ง ๒ คือ ธารน้ำเย็นและธารน้ำร้อนไหลลงจากอากาศ ชนทั้งหลายสรงพระเจ้าจักรพรรดิและพระมารดา ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๒๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๗. ลักขณกถา (๓๙)

สก. พระโพธิสัตว์พอประสูติแล้วเดี๋ยวนั้น ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสอง อันราบเรียบ บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ดำเนินไปได้ ๗ ก้าว มีฉัตรขาวกั้นตามไป ทรงแลดูทิศทั้งปวง และเปล่งอาสภิวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นใหญ่ในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐในโลก นี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก” ฉันใด พระเจ้า จักรพรรดิพอประสูติแล้วเดี๋ยวนั้น ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันราบเรียบ บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ดำเนินไปได้ ๗ ก้าว มีฉัตรขาวกั้นตามไป ทรงแลดูทิศ ทั้งปวง และเปล่งอาสภิวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นใหญ่ในโลก เราเป็น ผู้ประเสริฐในโลก นี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก” ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติย่อมปรากฏแสงสว่างรัศมีอันเจิดจ้า แผ่นดินไหว อย่างสะท้านสะเทือน ฉันใด เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิประสูติก็ย่อมปรากฏแสงสว่าง รัศมีอันเจิดจ้า แผ่นดินไหวอย่างสะท้านสะเทือน ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระกายตามปกติของพระโพธิสัตว์ ฉายพระรัศมีออกไปวาหนึ่งโดยรอบ ฉันใด พระกายตามปกติของพระเจ้าจักรพรรดิก็ฉายพระรัศมีออกไปวาหนึ่งโดยรอบ ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโพธิสัตว์ทรงมหาสุบิน ฉันใด พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงมหาสุบิน ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์” ใช่ไหม สก. ใช่๑- @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยพระลักษณะ ๓๒ ประการ เช่น พระเจ้าจักรพรรดิ มิได้เป็นพระโพธิสัตว์ก็มี @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๒/๒๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๒๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)

ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหาบุรุษสมบูรณ์ ด้วยลักษณะ ๓๒ ประการ มีคติเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ๑. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์ โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรส มากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต ๒. ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะได้เป็นพระอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีกิเลสในโลก”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะจึงเป็นพระโพธิสัตว์ได้
ลักขณกถา จบ
๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
ว่าด้วยการหยั่งลงสู่นิยาม
[๔๐๓] สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม๒- ประพฤติพรหมจรรย์๒- แล้วใน ศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม ปร.๓- ใช่๔- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๙๙-๒๐๐/๑๕๙-๑๖๐ @ คำว่า นิยามก็ดี พรหมจรรย์ก็ดี เป็นชื่อของอริยมรรค ดังนั้น คำว่า หยั่งลงสู่นิยาม หมายถึง @บรรลุอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖) @ เพราะมีความเห็นว่า พระโพธิสัตว์โชติปาละเคยได้อริยมรรคมาแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่า @กัสสปะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๒๕-๔๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=59              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=9310&Z=9395                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=956              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=956&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4622              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=956&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4622                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv4.7/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :