ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
ว่าด้วยอสัญญสัตว์
[๓๘๑] สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา เป็น สัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่มีสัญญา เป็นการได้ อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็น สัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการ ได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญามิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๑/๒๐๐) @ เพราะมีความเห็นว่า อสัญญสัตว์มีสัญญาได้เฉพาะในขณะจุติและปฏิสนธิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๑/๒๐๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๑. อสัญญกถา (๓๑)

สก. หากภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัญญามีอยู่ในหมู่ อสัญญสัตว์” สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ๑- ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ๒- มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์” สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อสัญญสัตว์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ หมายถึงกามภพ รูปภพ (เว้นอสัญญสัตว์) (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗) @ อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ หมายถึงอสัญญสัตว์ (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๑. อสัญญกถา (๓๑)

[๓๘๒] สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่มี สัญญา เป็นการได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มี สัญญา เป็นคติที่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็น กำเนิดที่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้ อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นเป็นภพที่มี ขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการ ได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้ ด้วย สัญญานั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ อสัญญสัตว์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้ ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๑. อสัญญกถา (๓๑)

สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่ไม่ มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่ไม่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มี ขันธ์ ๑ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้ อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ แต่อสัญญสัตว์ไม่ทำกิจที่ควรทำด้วย สัญญาได้ ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่มนุษย์ไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้ ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๑. อสัญญกถา (๓๑)

[๓๘๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีเทพชื่ออสัญญ- สัตว์ จุติ(เคลื่อน)จากชั้นนั้น เพราะเกิดสัญญาขึ้น”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น สัญญาจึงมีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม ปร. บางคราวมี บางคราวไม่มี สก. อสัญญสัตว์บางคราวเป็นสัญญสัตว์ บางคราวเป็นอสัญญสัตว์ ภพแห่ง อสัญญสัตว์บางคราวเป็นภพที่มีสัญญา บางคราวเป็นภพที่ไม่มีสัญญา บางคราว เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ บางคราวเป็นภพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บางคราวสัญญามีในหมู่อสัญญสัตว์ บางคราวไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. คราวไหนมี คราวไหนไม่มี ปร. ในจุติกาล๒- ในปฏิสนธิกาลมี๓- แต่ในฐิติกาล(ปวัตติกาล)ไม่มี๔- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๔๖/๓๓ @ จุติกาล หมายถึงเวลาหลังจากตายแล้วจิตเคลื่อนไปสู่อีกภพหนึ่ง @ ปฏิสนธิกาล หมายถึงเวลาเกิด @ ฐิติกาล หมายถึงเวลาที่จิตดำรงอยู่ระหว่างปฏิสนธิกาลกับจุติกาล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)

สก. อสัญญสัตว์ ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นสัญญสัตว์ ในฐิติกาล เป็นอสัญญสัตว์ ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นภพที่มีสัญญา ในฐิติกาล เป็นภพ ที่ไม่มีสัญญา ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ในฐิติกาล เป็นภพ ที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อสัญญกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๘๗-๓๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=51              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=8493&Z=8585                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=838              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=838&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4491              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=838&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4491                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.11/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :