ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑. พลกถา (๒๑)

๓. ตติยวรรค
๑. พลกถา (๒๑)
ว่าด้วยกำลัง
[๓๕๔] สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. กำลังของพระตถาคตก็คือกำลังของพระสาวก กำลังของพระสาวกก็คือ กำลังของพระตถาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำลังของพระตถาคตกับกำลังของพระสาวกเป็นอันเดียวกัน กำลังของ พระสาวกกับกำลังของพระตถาคตก็เป็นอันเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำลังของพระสาวกก็เช่นเดียวกับกำลังของพระตถาคต กำลังของพระ ตถาคตก็เช่นเดียวกับกำลังของพระสาวกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๔/๑๘๙) @ เพราะมีความเห็นว่า ทสพลญาณ ๑๐ ก็มีได้ในสันดานของเหล่าพระสาวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๔/๑๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑. พลกถา (๒๑)

สก. บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรมของพระสาวก ก็เช่นเดียวกับบุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรมของพระ ตถาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระตถาคตทรงเป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมม- ปฏิสรณะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสาวกก็เป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมม- ปฏิสรณะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระตถาคตเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ให้กำเนิดแก่มรรค ที่ยังไม่มีใครให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้เข้าใจ มรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรคใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสาวกก็เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ให้กำเนิดแก่มรรค ที่ยังไม่มีใครให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้เข้าใจ มรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงซึ่งความยิ่งและ หย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ (อินทริยปโรปริยัตตญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑. พลกถา (๒๑)

สก. พระสาวกเป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง เป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๕๕] ปร. พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะใช่ไหม สก. ใช่ ปร. หากพระสาวกรู้ฐานะและอฐานะได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงฐานะและอฐานะ (ฐานาฐานญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก” ปร. พระสาวกรู้วิบากแห่งกรรมสมาทานทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. หากพระสาวกรู้วิบากแห่งกรรมสมาทานทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคต คือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงวิบากแห่งกรรมสมาทาน(กรรมวิปากญาณ) ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก” ปร. พระสาวกรู้ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวงได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. หากพระสาวกรู้ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวงได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึง ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวง(สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ) มีได้ทั่วไป แก่พระสาวก” ปร. พระสาวกรู้โลกซึ่งมีธาตุหลายอย่างต่างๆ กันได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. หากพระสาวกรู้โลกซึ่งมีธาตุหลายอย่างต่างๆ กันได้ ดังนั้น ท่านจึง ควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งมีธาตุ หลายอย่างต่างๆ กัน (นานาธาตุญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑. พลกถา (๒๑)

ปร. พระสาวกรู้ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างๆ กันได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. หากพระสาวกรู้ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างๆ กันได้” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความ ที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างๆ กัน (นานาธิมุตติกญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก” ปร. พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. หากพระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือ ปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ (ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก” ปร. พระสาวกรู้การระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. หากพระสาวกรู้การระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนได้ ดังนั้น ท่านจึง ควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงการระลึก ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก” ปร. พระสาวกรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. หากพระสาวกรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้ ดังนั้น ท่านจึงควร ยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงจุติและปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก” ปร. อาสวะของพระตถาคตสิ้นไปแล้วและของพระสาวกก็สิ้นไปแล้วมิใช่หรือ สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑. พลกถา (๒๑)

ปร. เหตุอะไรๆ ที่ทำให้ต่างกันระหว่างความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระตถาคต กับความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระสาวก หรือระหว่างความหลุดพ้นของพระตถาคต กับความหลุดพ้นของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม สก. ไม่มี ปร. หากไม่มีเหตุอะไรๆ ที่ทำให้ต่างกันระหว่างความสิ้นไปแห่งอาสวะของ พระตถาคตกับความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระสาวก หรือระหว่างความหลุดพ้นของ พระตถาคตกับความหลุดพ้นของพระสาวก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลัง ของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะ (อาสวัก- ขยญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก” [๓๕๖] ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้น ไปแห่งอาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลาย มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑. พลกถา (๒๑)

ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลาย มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน แห่งอินทรีย์ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน แห่งอินทรีย์ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๒. อริยันติกถา (๒๒)

ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน แห่งอินทรีย์ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง อาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน แห่งอินทรีย์ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พลกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๓๙-๓๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=41              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=7416&Z=7572                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=696              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=696&items=24              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4251              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=696&items=24              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4251                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.1/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :