ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๘. กุกกุฬกถา (๑๗)

๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
ว่าด้วยเถ้ารึง
[๓๓๘] สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. สุขเวทนา สุขทางกาย สุขทางใจ ทิพยสุข สุขของมนุษย์ สุขในลาภ สุขในสักการะ สุขในการไป สุขในการนอน สุขในความมีอำนาจ สุขในความเป็นใหญ่ สุขของคฤหัสถ์ สุขของสมณะ สุขมีอาสวะ สุขไม่มีอาสวะ สุขมีอุปธิ สุขไม่มีอุปธิ สุขเจืออามิส สุขไม่เจืออามิส สุขมีปีติ สุขไม่มีปีติ สุขในฌาน สุขอันเกิดจากวิมุตติ สุขในกาม สุขในเนกขัมมะ สุขอันเกิดจากวิเวก สุขอันเกิดจากความสงบ สุขอันเกิด จากความตรัสรู้ มีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากสุขเวทนา ฯลฯ สุขอันเกิดจากความตรัสรู้มีอยู่ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สังขารทั้งปวงเป็นทุกขเวทนา ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายโคกุลิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๘/๑๘๖) @ เพราะมีความเห็นว่า สังขารทั้งปวงเร่าร้อนดุจถ่านเพลิง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๘/๑๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๘. กุกกุฬกถา (๑๗)

ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของ ร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นของร้อน รูป เป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน จักขุสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวย อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น ปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟ คือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส โสตะ (หู) เป็นของร้อน เสียงเป็นของร้อน ฯลฯ ฆานะ (จมูก) เป็นของร้อน กลิ่นเป็นของร้อน ฯลฯ ชิวหา(ลิ้น)เป็นของร้อน รสเป็นของร้อน ฯลฯ กายเป็นของ ร้อน โผฏฐัพพะเป็นของร้อน ฯลฯ มโน(ใจ)เป็นของร้อน ธรรมารมณ์เป็นของร้อน มโนวิญญาณเป็นของร้อน มโนสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข หรือทุกข์ หรือที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือ โมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด (๒) เสียงที่พึงรู้แจ้ง ทางหู ฯลฯ (๓) กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ (๔) รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๕๔/๖๓-๖๔, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๘/๒๗-๒๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๘. กุกกุฬกถา (๑๗)

(๕) โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕ ประการนี้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่ จำกัด” ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้วที่เธอทั้งหลายได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เรา เห็นนรก๒- ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ขุมแล้ว ในนรก ๖ ขุมนั้น สัตว์ย่อมเห็นรูป อย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่น่า ปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่า พอใจ ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหูได้ ฯลฯ ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งทางจมูกได้ ฯลฯ ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ ไม่น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๖๖/๑๖๗, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๗๙/๓๐๙ @ นรก หมายถึงอเวจีมหานรก (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๓๕/๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๘. กุกกุฬกถา (๑๗)

น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ไม่รู้ แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้วที่เธอทั้งหลายได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เรา ได้เห็นสวรรค์๒- ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ชั้นแล้ว ในสวรรค์ ๖ ชั้นนั้น บุคคลย่อมเห็น รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่ไม่ น่าปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่ น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหูได้ ฯลฯ ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งทางจมูกได้ ฯลฯ ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ไม่รู้ แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ”๓- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๓๕/๑๖๙-๑๗๐ @ สวรรค์ หมายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๓๕/๕๒) @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๓๕/๑๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๘. กุกกุฬกถา (๑๗)

สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้งปวงไม่ ่เที่ยงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทานมีผลไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่เป็นที่พึงพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่เป็นที่พึงพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๘. กุกกุฬกถา (๑๗)

สก. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพรหมจรรย์มีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็น ดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “วิเวก๑- เป็นความสุขของผู้สันโดษ๒- ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก ความเป็นผู้ปราศจากราคะคือความล่วงกามทั้งหลายได้ เป็นสุขในโลก ความกำจัดอัสมิมานะได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง๓- สุขยิ่งกว่าสุขนั้นเราได้ถึงแล้ว นั้นเป็นสุขอย่างยิ่ง วิชชา ๓ เราได้บรรลุโดยลำดับแล้ว นั่นแลเป็นสุขอย่างยิ่ง” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
กุกกุฬกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ วิเวก หมายถึงนิพพานที่สงัดจากอุปธิกิเลส (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๔) @ ผู้สันโดษ หมายถึงผู้สันโดษในมัคคญาณ ๔ (โสดาปัตติมัคคญาณ สกทาคามิมัคคญาณ อนาคามิมัคค- @ญาณ อรหัตตมัคคญาณ) (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๕) @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๕/๘-๙, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๑๑/๑๙๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๑๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๑๐-๓๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=37              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=6780&Z=6920                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=639              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=639&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4166              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=639&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4166                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv2.8/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :