ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๒. อัญญาณกถา (๑๑)
ว่าด้วยความไม่รู้
[๓๑๔] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๔/๑๘๓) @ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ที่ยังไม่รู้ชื่อและโคตรของบุคคลและสถานที่ เป็นต้น ชื่อว่ายังมีอวิชชาอยู่ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๔/๑๘๒-๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๒. อัญญาณกถา (๑๑)

สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชา- สังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชา- สังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากอวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความ ไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และอวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของปุถุชนนั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และอวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นก็ มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์ ไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของปุถุชนไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๒. อัญญาณกถา (๑๑)

สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ถูกความไม่รู้ครอบงำ จะพึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูด ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นเรือนหลังเดียว ดักปล้นในทางเปลี่ยว ผิดภรรยาของผู้อื่น ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนถูกความไม่รู้ครอบงำจะพึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ ฯลฯ ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ถูกความไม่รู้ครอบงำแล้ว จะพึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และพระอรหันต์ถูกความไม่รู้ครอบงำแล้ว ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ฯลฯ ไม่ปล้นชาวบ้าน ไม่ปล้นชาวนิคมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนถูกความไม่รู้ครอบงำแล้ว ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ฯลฯ ไม่ปล้นชาวบ้าน ไม่ปล้นชาวนิคมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน เบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ในปฏิจจสมุปบาท ที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๒. อัญญาณกถา (๑๑)

สก. ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน เบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ใน ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ใน พระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้ จึงมี ของปุถุชนนั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้ จึงมี ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ใน พระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น [๓๑๕] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๒. อัญญาณกถา (๑๑)

สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้วตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดราก ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละราคะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๒. อัญญาณกถา (๑๑)

สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อ ละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” [๓๑๖] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ ความไม่รู้ของพระ อรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๒. อัญญาณกถา (๑๑)

สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของ พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระ อรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของ พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ ราคะ ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ความไม่รู้ของ พระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อ ละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้น มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๒. อัญญาณกถา (๑๑)

สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ความ ไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์ นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความไม่รู้ของพระ อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละ ได้แล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความไม่รู้ ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๒. อัญญาณกถา (๑๑)

สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละ ราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ความไม่รู้ ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๑๗] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่ง รูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ฯลฯ สังขารเป็นดังนี้ ฯลฯ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๑๐๑/๑๙๒-๑๙๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๗๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๒. อัญญาณกถา (๑๑)

สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๕/๖๐๘ @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖/๒๔-๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๗๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๒. อัญญาณกถา (๑๑)

สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรค พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ ธรรมจักษุที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิด ขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” ใช่ไหม สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๒๓๓-๒๓๔/๕๕๕ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๗๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๓. กังขากถา (๑๒)

ปร. พระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง ไม่รู้ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากพระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง ไม่รู้ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ ดังนั้น ท่านควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ ของพระอรหันต์มีอยู่” สก. พระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง ไม่รู้ ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น ความไม่รู้ของพระอรหันต์ จึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ไม่รู้โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัญญาณกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๒๖๒-๒๗๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=31              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=5654&Z=5919                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=490              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=490&items=32              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4097              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=490&items=32              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4097                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv2.2/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :