ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

๕. สัพพมัตถีติกถา
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีอยู่
๑. วาทยุตติ
ว่าด้วยหลักการใช้วาทะ
[๒๘๒] สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในโอกาส๓- ทั้งปวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในกาลทั้งปวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่โดยประการทั้งปวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสัพพัตถิกวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๒/๑๗๐) @ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตมีอยู่จริงเหมือนปัจจุบัน ซึ่งจัดเป็นสัสสตทิฏฐิ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๒/๑๗๐) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๑ หน้า ๑๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในสภาวธรรมทั้งปวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ประกอบกัน” จึงยอมรับว่า “สิ่งทั้งปวง มีอยู่” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. แม้แต่สิ่งที่ไม่มีก็ชื่อว่ามีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความเห็นอย่างนี้ว่า “ความเห็นที่เห็นว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ” มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
วาทยุตติ จบ
๒. กาลสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงกาล
[๒๘๓] สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้ว มิใช่หรือ ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. หากอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญ ไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่” สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่ บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่” สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันยังไม่ดับไป ยังไม่หายไป ยังไม่แปรผันไป ยังไม่ สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อดีตมีอยู่ อดีตยังไม่ดับ ยังไม่หายไป ยังไม่แปรผันไป ยังไม่สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๗๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. อดีตมีอยู่ อดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น [๒๘๔] สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญ ไปแล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากรูปที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ ดับสูญไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นอดีตมีอยู่” สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๗๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. หากรูปที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า “รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่” สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันยังไม่ดับไป ยังไม่หายไป ยัง ไม่แปรผันไป ยังไม่สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตยังไม่ดับไป ยังไม่หายไป ยังไม่แปรผันไป ยังไม่สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผัน ไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๗๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. เวทนาที่เป็นอดีตมีอยู่ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณที่เป็น อดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวิญญาณที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ ดับสูญไปแล้ว ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่” สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวิญญาณที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่” สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันยังไม่ดับไป ฯลฯ ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตยังไม่ดับไป ฯลฯ ยังไม่ ดับสูญไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเกิดแล้ว เกิดมีแล้ว ฯลฯ ปรากฏแล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตเกิดแล้ว ฯลฯ ปรากฏ แล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ ดับสูญ ไปแล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันดับไปแล้ว ฯลฯ ดับ สูญไปแล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ ปรากฏใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่มี ฯลฯ ยังไม่ปรากฏใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น [๒๘๕] สก. เมื่อบัญญัติว่า ปัจจุบันกับรูป หรือบัญญัติว่ารูปกับปัจจุบันให้มี ความหมายว่าปัจจุบันรูป โดยไม่แยก ปัจจุบันและรูปนี้นั้น มีความหมายอย่าง เดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นปัจจุบันเมื่อดับไป ก็ละความเป็นปัจจุบันได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. ละความเป็นรูปไปด้วยใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อบัญญัติว่า ปัจจุบันกับรูป หรือบัญญัติว่า รูปกับปัจจุบันให้มีความ หมายว่าปัจจุบันรูป โดยไม่แยก ปัจจุบันและรูปนี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นปัจจุบันเมื่อดับไป ไม่ละความเป็นรูปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ปร. เมื่อบัญญัติว่า สีขาวกับผ้า หรือบัญญัติว่าผ้ากับสีขาว ให้มีความหมาย ว่า ผ้าสีขาว โดยไม่แยก สีขาวและผ้านี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ผ้าขาวเมื่อถูกย้อมย่อมละความเป็นผ้าขาวไปด้วยใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ละความเป็นผ้าไปด้วยใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ปร. เมื่อบัญญัติว่า สีขาวกับผ้า หรือบัญญัติว่าผ้ากับสีขาว ให้มีความหมาย ว่า ผ้าสีขาว โดยไม่แยก สีขาวและผ้านี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

ปร. ผ้าขาวเมื่อถูกย้อมย่อมไม่ละความเป็นผ้าไปด้วยใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ไม่ละความเป็นผ้าขาวใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๘๖] สก. รูปไม่ละความเป็นรูปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปละความเป็นรูปได้ เพราะเหตุนั้น รูปจึงไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากรูปไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่าน ก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปไม่ละความเป็นรูป” สก. นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงชื่อว่าเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปไม่ละความเป็นรูป เพราะเหตุนั้น รูปจึงชื่อว่าเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปไม่ละความเป็นรูป เพราะเหตุนั้น รูปจึงชื่อว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงชื่อว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. อดีตเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีต” สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพาน จึงชื่อว่าเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีต เพราะเหตุนั้น อดีตจึงชื่อว่าเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีต เพราะเหตุนั้น อดีตจึงชื่อว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพาน จึงชื่อว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๘๗] สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นอดีตเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากรูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่าน ก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต รูปที่เป็นอดีตจึง เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต รูปที่เป็นอดีตจึง ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนาที่เป็นอดีต ... สัญญาที่เป็นอดีต ... สังขารที่เป็นอดีต ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็น อนาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็น ปัจจุบันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็น อนาคตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็น ปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เป็นอดีตเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิญญาณที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็น ธรรมดามิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวิญญาณที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไป เป็นธรรมดา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็น อดีตไม่ละความเป็นอดีต” สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอดีตจึงเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอดีตจึงไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
วจนโสธนา
ว่าด้วยการซักฟอกถ้อยคำ
[๒๘๘] สก. อดีตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากอดีตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ คำว่า “อดีตมีอยู่” ก็ผิด ก็หรือว่า หากสภาวะที่มีอยู่ไม่ใช่อดีต คำว่า “สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีต” ก็ผิด สก. อนาคตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากอนาคตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ คำว่า “อนาคตมีอยู่” ก็ผิด ก็หรือว่า หากสภาวะที่มีอยู่มิใช่อนาคต คำว่า “สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคต” ก็ผิด สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตแล้วจึงเป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. อนาคตกับปัจจุบันเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อนาคตกับปัจจุบันเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(อนาคต) แล้วจึงเป็น(ปัจจุบัน) เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึง เป็น(อนาคต) ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(อนาคต) แล้วจึงเป็น(ปัจจุบัน) เป็น(ปัจจุบัน) แล้ว จึงเป็น(อนาคต) ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็น(อนาคต) แล้วจึงไม่เป็น(ปัจจุบัน) ไม่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงไม่เป็น(อนาคต) ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นปัจจุบันแล้วจึงเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปัจจุบันกับอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปัจจุบันกับอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงเป็น(อดีต) เป็น(อดีต) แล้วจึง เป็น(ปัจจุบัน) ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงเป็น(อดีต) เป็น(อดีต) แล้วจึง เป็น(ปัจจุบัน) ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงไม่เป็น(อดีต) ไม่เป็น(อดีต) แล้วจึงไม่เป็น(ปัจจุบัน) ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นอนาคตแล้วจึงเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุบันแล้วจึงเป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อนาคต ปัจจุบัน และอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อนาคต ปัจจุบัน และอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตแล้วจึงเป็น(ปัจจุบันและอดีต) เป็น(ปัจจุบัน และอดีต) แล้วจึงเป็น(อนาคต) ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตแล้วจึงเป็น(ปัจจุบันและอดีต) เป็น(ปัจจุบัน และอดีต) แล้วจึงเป็น(อนาคต) ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นอนาคตแล้วจึงไม่เป็น(ปัจจุบันและอดีต) ไม่เป็น (ปัจจุบันและอดีต) แล้วจึงไม่เป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

อตีตจักขุรูปาทิกถา
ว่าด้วยจักษุและรูปที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๘๙] สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการ ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลเห็นรูปที่เป็นอดีตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสตประสาท สัททารมณ์ โสตวิญญาณ อากาสธาตุ มนสิการ ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลได้ยินเสียงที่เป็นอดีตได้ด้วยโสตประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ฆานประสาท คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ วาโยธาตุ มนสิการ ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลดมกลิ่นที่เป็นอดีตได้ด้วยฆานประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชิวหาประสาท รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ อาโปธาตุ มนสิการ ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลลิ้มรสที่เป็นอดีตได้ด้วยชิวหาประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. กายประสาท โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ ปฐวีธาตุ มนสิการ ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะที่เป็นอดีตได้ด้วยกายประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอดีต มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอนาคต มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลเห็นรูปที่เป็นอนาคตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กายประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอนาคต มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็น ปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นปัจจุบันได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอดีต มีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นอดีตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กายประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่ เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันได้ ด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบัน ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอดีตมีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็น ปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นปัจจุบันได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอนาคต มีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นอนาคตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กายประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่ เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันได้ ด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบัน ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอนาคต มีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอดีต มีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นอดีตด้วยจักขุประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง และมนสิการที่เป็น ปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นปัจจุบันด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กาย- ประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็น อดีตมีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตด้วยมโนทวารที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอนาคต มีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นอนาคตด้วยจักขุประสาทที่เป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นปัจจุบันด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กายประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตด้วยมโนทวารที่เป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็น ปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบัน ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อตีตญาณาทิกถา
ว่าด้วยญาณที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๐] สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณ นั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณ นั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้น ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณ นั้นใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณ นั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วย ญาณนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำให้ แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำ ให้แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วย ญาณนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๙๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วย ญาณนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำให้ แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำให้ แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อรหันตาทิกถา
ว่าด้วยพระอรหันต์ เป็นต้น
[๒๙๑] สก. ราคะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โทสะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีโทสะด้วยโทสะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โมหะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มานะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีมานะด้วยมานะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีวิจิกิจฉาด้วยวิจิกิจฉานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ถีนะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีถีนะด้วยถีนะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อุทธัจจะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอุทธัจจะด้วยอุทธัจจะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๐๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. อหิริกะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอหิริกะด้วยอหิริกะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ สีลัพพตปรามาสที่เป็นอดีต ฯลฯ กามราคะ อย่างละเอียดที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของพระอนาคามี มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๐๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ... สีลัพพตปรามาสที่เป็นอดีต ... กามราคะอย่าง หยาบที่เป็นอดีต ... พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ... สีลัพพตปรามาสที่เป็นอดีต ... ราคะที่เป็นเหตุให้ สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีต ... โทสะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีต ... โมหะที่ เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๙๒] สก. ราคะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีราคะด้วยราคะ นั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ราคะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะ นั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. โทสะที่เป็นอดีต ฯลฯ อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่า มีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่ามีอโนตตัปปะ ด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ พระอนาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิ ด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของปุถุชน มีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ พระอนาคามี ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ พระสกทาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิ ด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ พระสกทาคามี ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ พระโสดาบันชื่อว่ามีทิฏฐิ ด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของ ปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ พระ โสดาบันชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ราคะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ แต่พระอรหันต์ไม่ชื่อว่ามีราคะ ด้วยราคะนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ราคะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๐๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. โทสะที่เป็นอดีต ฯลฯ อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ แต่ พระอรหันต์ไม่ชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีอโนตตัปปะ ด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ แต่พระอนาคามีไม่ชื่อว่ามี ทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐิ นั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของ พระอนาคามีมีอยู่ แต่พระอนาคามีไม่ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามี จิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ แต่พระสกทาคามีไม่ ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วย ทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๐๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของ พระสกทาคามีมีอยู่ แต่พระสกทาคามีไม่ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามี จิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ แต่พระโสดาบันไม่ชื่อว่า มีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วย ทิฏฐินั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของ พระโสดาบันมีอยู่ แต่พระโสดาบันไม่ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชน ไม่ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๐๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

อตีตหัตถาทิกถา
ว่าด้วยมือที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๓] สก. มือที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อมือที่เป็นอดีตมีอยู่ การจับและการวางย่อมปรากฏใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เท้าที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเท้าที่เป็นอดีตมีอยู่ การก้าวไปและถอยกลับย่อมปรากฏใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ข้อพับที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อข้อพับที่เป็นอดีตมีอยู่ การคู้เข้าและเหยียดออกย่อมปรากฏใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ท้องที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อท้องที่เป็นอดีตมีอยู่ ความหิวและกระหายย่อมปรากฏใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กายที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กายที่เป็นอดีตได้รับการยกย่องและการลงโทษ ได้รับการตัดและการทำลาย เป็นของทั่วไปแก่ฝูงกา แร้ง เหยี่ยวใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๐๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในกายที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กายที่เป็นอดีตยังถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคา เครื่องจองจำ คือเชือก เครื่องจองจำคือโซ่ตรวน เครื่องจองจำคือบ้าน เครื่องจองจำคือนิคม เครื่องจองจำคือนคร เครื่องจองจำคือชนบท ด้วยการจองจำมีการผูกที่คอเป็นที่ ๕ ๑- ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. น้ำที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลทำกิจที่ต้องทำด้วยน้ำได้ด้วยน้ำนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ไฟที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยไฟได้ด้วยไฟนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ลมที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยลมได้ด้วยลมนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ การจองจำมีการผูกคอเป็นที่ ๕ คือ มือ ๒ เท้า ๒ คอ ๑ เรียกเครื่องจองจำนี้ว่า จำห้าประการ @ได้แก่ (๑) ตรวนใส่เท้า (๒) เท้าติดขื่อไม้ (๓) โซ่ล่ามคอ (๔) คาไม้ใส่คอทับโซ่ (๕) มือ ๒ ข้าง สอด @เข้าไปในคาและไปติดกับขื่อไม้ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๐๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

อตีตักขันธาทิสโมธานกถา
ว่าด้วยการประมวลขันธ์ที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๔] สก. รูปขันธ์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปขันธ์มี ๓ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ขันธ์มี ๑๕ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักขายตนะที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขายตนะมี ๓ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อายตนะมี ๓๖ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักขุธาตุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุธาตุมี ๓ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

สก. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ธาตุมี ๕๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักขุนทรีย์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุนทรีย์มี ๓ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อินทรีย์มี ๖๖ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระเจ้าจักรพรรดิทั้ง ๓ พระองค์ทรงพบกันได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ทรงพบกันได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

ปทโสธนกถา
ว่าด้วยการซักฟอกบท
[๒๙๕] สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. สภาวะที่มีอยู่ เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากอดีตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ดังนั้น อดีตจึงไม่ เป็นอดีต สภาวะที่ไม่ใช่อดีตจึงเป็นอดีต ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า อดีตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ดังนั้น อดีตจึงไม่เป็นอดีต สภาวะที่ไม่ใช่อดีตจึงเป็นอดีต” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ สภาวะที่ไม่ใช่อดีต เป็นอดีต” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า อดีตมีอยู่ สภาวะที่มี อยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ดังนั้น อดีตจึงไม่เป็นอดีต สภาวะที่ไม่เป็นอดีตจึง เป็นอดีต” คำนั้นของท่านผิด สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตใช่ไหม ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากอนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ดังนั้น อนาคตจึงไม่เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคตจึงเป็นอนาคต ท่านกล่าวคำขัด แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า อนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ดังนั้น อนาคตจึงไม่เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคตจึงเป็น อนาคต” คำนั้นของท่านผิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตไม่เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคต เป็นอนาคต” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า อนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ดังนั้น อนาคตจึงไม่ เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคตจึงเป็นอนาคต” คำนั้นของท่านผิด ปร. ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันใช่ไหม สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ดังนั้น ปัจจุบันจึงไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็นปัจจุบันจึงเป็นปัจจุบัน ท่านกล่าวคำ ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็น ปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ดังนั้น ปัจจุบันจึงไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็น ปัจจุบันจึงเป็นปัจจุบัน” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ปัจจุบันไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็น ปัจจุบันเป็นปัจจุบัน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็น ปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า ยอมรับว่า ปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ดังนั้น ปัจจุบันจึงไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็นปัจจุบันจึงเป็นปัจจุบัน” คำนั้นของท่านผิด ปร. นิพพานมีอยู่ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานใช่ไหม สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ปร. ท่านจงรับนิคคหะดังต่อไปนี้ หากนิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น นิพพานจึงไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็นนิพพาน ท่านกล่าวคำขัด แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น นิพพานจึงไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็น นิพพาน” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “นิพพานไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพาน เป็นนิพพาน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น นิพพานจึง ไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็นนิพพาน” คำนั้นของท่านผิด
สุตตสาธนะ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตร
[๒๙๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง หนึ่ง คือ รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต รูปที่เป็นปัจจุบัน รูปที่เป็นภายในตน รูปที่เป็นภายนอกตน รูปหยาบ รูปละเอียด รูปชั้นต่ำ รูปชั้นประณีต รูปไกล หรือรูปใกล้ ประมวลเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือวิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณ ที่เป็นอนาคต วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน วิญญาณที่เป็นภายในตน วิญญาณที่เป็น ภายนอกตน วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

วิญญาณไกล หรือวิญญาณใกล้ ประมวลเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น อดีตจึงมีอยู่ อนาคตก็มีอยู่ สก. อดีตมีอยู่ อนาคตก็มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓ ประการนี้ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ในอดีต ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูก ลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน หลักการ ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ (๑) รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” บัญญัติรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า “มีอยู่” ไม่เรียก รูปนั้นว่า “จักมี” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด ฯลฯ วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” (๒) รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกรูปนั้นว่า “จักมี” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “จักมี” บัญญัติรูปนั้นว่า “จักมี” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า “มีอยู่” ไม่เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด ฯลฯ วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” ตั้งชื่อวิญญาณ นั้นว่า “จักมี” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “จักมี” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (๓) รูปใดเกิดอยู่ ปรากฏอยู่ เรียกรูปนั้นว่า “มีอยู่” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “มีอยู่” บัญญัติรูปนั้นว่า “มีอยู่” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ไม่เรียกรูปนั้นว่า “จักมี” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒-๓๑/๑-๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

ฯลฯ วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏอยู่ เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบทกับชนชาววัสสภัญญชนบททั้ง ๒ พวก เป็นผู้ถืออเหตุกวาทะ๑- เป็นผู้ถืออกิริยวาทะ๒- เป็นผู้ถือนัตถิกวาทะ๓- ได้สำคัญหลักการ ๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ว่าไม่ ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ใส่โทษและ ถูกคัดค้าน”๔- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่” สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรนี้ว่า “ท่านพระผัคคุณะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็น เครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นมีอยู่หรือ ฯลฯ ชิวหานั้นมีอยู่หรือ @เชิงอรรถ : @ อเหตุกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมองไม่มี (สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗) @ อกิริยวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความ @เห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม (ที.สี.อ. ๑/๑๖๖/๑๔๕, สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗) @ นัตถิกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (ที.สี.อ. ๑/๑๖๘/๑๔๖, @สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗) @ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๖๒/๑๐๐-๑๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นมีอยู่หรือ’ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ‘ผัคคุณะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นไม่มีเลย ฯลฯ ชิวหานั้นไม่มีเลย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นไม่มีเลย”๑- มีอยู่จริง มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่” สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระนันทกะได้กล่าวดังนี้ว่า ‘เมื่อก่อนเรามีโลภะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โลภะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อก่อนเรามีโทสะ ฯลฯ เมื่อก่อนเรามีโมหะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โมหะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๓/๗๖ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๗/๒๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๕. สัพพมัตถีติกถา

ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ(ความ กำหนัด) นันทิ(ความเพลิดเพลิน) ตัณหา(ความทะยานอยาก) มีอยู่ในกวฬิงการาหาร ไซร้ วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขาร ทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชรา และมรณะต่อไป ที่ใดมีชาติ ชรา และมรณะต่อไป เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย และ มีความคับแค้น’ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามีอยู่ในผัสสาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามีอยู่ในวิญญาณาหาร ฯลฯ เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย และมีความคับแค้น”๑- มีอยู่จริงใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่” สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มีในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะไม่ตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใด วิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่ใดไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขาร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๖๔/๑๒๓-๑๒๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๖. อตีตักขันธาทิกถา

ทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชรา และมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ ชรา และมรณะต่อไป เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความคับแค้น’ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มีในผัสสาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มี ในมโนสัญเจตนาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มีในวิญญาณาหาร ฯลฯ เรากล่าวว่า ที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความคับแค้น”๑- มีอยู่จริงใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่”
สัพพมัตถีติกถา จบ
๖. อตีตักขันธาทิกถา
ว่าด้วยอดีตขันธ์ เป็นต้น
๑. นสุตตสาธนะ
ว่าด้วยการไม่อ้างพระสูตร
[๒๙๗] ปร. อดีตเป็นขันธ์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๖๔/๑๒๓-๑๒๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๑๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๑๗๕-๒๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=25              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=3751&Z=4680                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=301              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=301&items=88              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3804              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=301&items=88              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3804                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.6/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :