ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๒. อวิวิตตกถา (๒๐๑)
ว่าด้วยผู้ไม่สงัด
[๘๗๙] สก. ปุถุชนไม่สงัดจากสภาวธรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓ ๑- ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. ปุถุชนไม่สงัดจากผัสสะที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ เวทนาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ สัญญาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ เจตนาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ จิตที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ สัทธาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ วิริยะที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ สติที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ สมาธิที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นไป ในธาตุ ๓ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปุถุชนไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในขณะที่ถวายจีวร ปุถุชนเข้าปฐมฌานอยู่ ฯลฯ เข้าอากาสานัญ- จายตนฌานอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ สภาวธรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓ หมายถึงสภาวธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๙/๓๑๕) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๙/๓๑๕) @ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ยังละสภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ไม่ได้ ชื่อว่ามีสภาวธรรม ๓ ประการนี้ @ได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ปุถุชนไม่สามารถมีสภาวธรรม ๓ @ประการได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๙/๓๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค]

๓. สัญโญชนกถา (๒๐๒)

สก. ในขณะที่ถวายบิณฑบาต ฯลฯ ถวายเสนาสนะ ฯลฯ ถวายคิลาน- ปัจจัยเภสัชบริขาร ปุถุชนเข้าจตุตถฌานอยู่ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๘๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปุถุชนไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ปุถุชนกำหนดรู้กรรมที่ให้เข้าถึงรูปธาตุและอรูปธาตุได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น ปุถุชนจึงไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓
อวิวิตตกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๙๑๑-๙๑๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=219              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=19553&Z=19575                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1836              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1836&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7087              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1836&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7087                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv21.2/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :