ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)

๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
ว่าด้วยมนสิการรวบยอด
[๗๔๙] สก. บุคคลมนสิการรวบยอด๑- ได้ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า “เป็นจิต” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า “เป็นจิต” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น ฯลฯ จำสัญญานั้นด้วยสัญญานั้น ฯลฯ จงใจเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น ฯลฯ คิดจิตนั้น @เชิงอรรถ : @ มนสิการรวบยอด หมายถึงพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ในขณะเดียวกัน @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๙-๗๕๓/๒๘๕-๒๘๖) @ เพราะมีความเห็นว่า ในการพิจารณาอารมณ์ทั้งหลาย บุคคลสามารถพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ใน @ขณะเดียวกัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า บุคคลไม่สามารถพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ใน @ขณะเดียวกัน แต่สามารถพิจารณาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ส่วนอารมณ์อื่นๆ ที่เหลือสามารถ @พิจารณาได้โดยนัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๙-๗๕๓/๒๘๕-๒๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)

ด้วยจิตนั้น ฯลฯ ตรึกถึงวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ฯลฯ ตรองวิจารนั้นด้วยวิจารนั้น ฯลฯ เอิบอิ่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น ฯลฯ ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น ฯลฯ รู้ชัดปัญญานั้นด้วย ปัญญานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๕๐] สก. บุคคลเมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อม มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว- ธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว- ธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว- ธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว- ธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)

สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว- ธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ อย่าง ฯลฯ จิต ๓ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๕๑] สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อม มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)

สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ อย่าง ฯลฯ จิต ๓ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๕๒] สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อม มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ สภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)

สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ สภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็น อนาคต” ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็น อนาคต” ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ อย่าง ฯลฯ จิต ๓ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๕๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลมนสิการรวบยอด” ได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญา๑- ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า @เชิงอรรถ : @ เห็นด้วยปัญญา หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาปัญญา (ขุ.ธ.อ. ๗/๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๙๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๕. รูปังเหตูติกถา (๑๖๐)

สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น บุคคลจึงมนสิการรวบยอดได้
อธิคัยหมนสิการกถา จบ
๕. รูปังเหตูติกถา (๑๖๐)
ว่าด้วยรูปเป็นเหตุ
[๗๕๔] สก. รูปเป็นเหตุใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. อโลภะเป็นเหตุใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อโทสะเป็นเหตุ ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ โลภะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะเป็นเหตุใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๗๗-๒๗๙/๑๑๘ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗) @ เพราะมีความเห็นว่า รูปสามารถเป็นเหตุให้แก่รูปได้ เช่น มหาภูตรูป ๔ ชื่อว่าเป็นเหตุให้แก่อุปาทายรูปได้ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๙๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๙๔-๗๙๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=177              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=17140&Z=17244                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1657              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1657&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6432              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1657&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6432                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv16.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :