ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
ว่าด้วยกรรมที่สั่งสม
[๗๓๗] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ผัสสะกับผัสสะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน เวทนากับเวทนาที่สั่งสมเป็น คนละอย่างกัน สัญญากับสัญญาที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน เจตนากับเจตนาที่สั่งสม เป็นคนละอย่างกัน จิตกับจิตที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน สัทธากับสัทธาที่สั่งสม เป็นคนละอย่างกัน วิริยะกับวิริยะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน สติกับสติที่สั่งสมเป็น คนละอย่างกัน สมาธิกับสมาธิที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน ปัญญากับปัญญาที่สั่งสม เป็นคนละอย่างกัน ราคะกับราคะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ อโนตตัปปะกับ อโนตตัปปะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๗/๒๘๓) @ เพราะมีความเห็นว่า กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน กรรมที่สั่งสม วิปปยุตจากจิต เป็น @อัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า กรรมและกรรมที่สั่งสมเป็น @ไวพจน์กัน สัมปยุตด้วยจิต และรับรู้อารมณ์ได้ ต่างกันในเวลาให้ผลเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๗/๒๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)

[๗๓๘] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกุศลกรรมเป็นกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกุศลกรรมเป็นกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๓๙] สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับอกุศลกรรมเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับอกุศลกรรมเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)

สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๐] สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต กรรมรับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต กรรมรับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมก็แตกสลายไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมที่สั่งสมก็แตก สลายไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมที่สั่งสมไม่แตก สลายไปใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)

สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมไม่แตกสลายไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๑] สก. เมื่อกรรมมีอยู่ กรรมที่สั่งสมก็มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อกรรมมีอยู่ กรรมที่สั่งสมเป็นแดนเกิดแห่งวิบากใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นอย่างเดียวกัน วิบากกรรมก็เป็นอย่างเดียวกัน ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อกรรมมีอยู่ กรรมที่สั่งสมเป็นแดนเกิดแห่งวิบาก วิบากรับรู้อารมณ์ได้ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิบากไม่มีอารมณ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๔๒] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)

สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่ง วจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาครั้นปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ เบียดเบียนบ้างแล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียน บ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคล ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาถูกผัสสะที่มี ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มี ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน เหมือน มนุษย์ เทวดาบางพวก๑- และวินิปาติกะ๒- บางพวก ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้นเพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูก ต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เรากล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลแห่งกรรม”๓- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละ อย่างกัน”
กัมมูปจยกถา จบ
ปัณณรสมวรรค จบ
@เชิงอรรถ : @ เทวดาบางพวก หมายถึงกามาวจรเทวดา ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ @ปรนิมมิตวสวัตดี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒๓/๔๔๐) @ วินิปาติกะ หมายถึงเวมานิกเปรต ได้แก่ เปรตผู้อยู่ในวิมานเสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรม @เสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมานมีร่างกาย @เป็นทิพย์ สวยงาม แต่เวลาจะเสวยทุกข์ก็ต้องออกจากวิมานนี้ไปและร่างกายกลายเป็นร่างกายที่น่าเกลียด @น่ากลัว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๑) @ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๘๑/๗๙-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

รวมกถาที่มีในวรรค

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปัจจยตากถา ๒. อัญญมัญญปัจจยกถา ๓. อัทธากถา ๔. ขณลยมุหุตตกถา ๕. อาสวกถา ๖. ชรามรณกถา ๗. สัญญาเวทยิตกถา ๘. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา ๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา ๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา ๑๑. กัมมูปจยกถา
ตติยปัณณาสก์ จบ
รวมวรรคที่มีในตติยปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๑๑ เริ่มด้วยติสโสปิอนุสยกถา วรรคที่ ๑๒ เริ่มด้วยสังวโรกัมมันติกถา วรรคที่ ๑๓ เริ่มด้วยกัปปัฏฐกถา วรรคที่ ๑๔ เริ่มด้วยกุสลากุสลปฏิสันทหนกถา วรรคที่ ๑๕ เริ่มด้วยปัจจยตากถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๘๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๘๑-๗๘๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=173              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=16883&Z=16992                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1634              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1634&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6378              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1634&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6378                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv15.11/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :