ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

๑๑. คติอนุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงคติ
[๖๙] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลคนเดียวกันท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ [๗๐] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลคนละคนกันท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๒- [๗๑] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๓- @เชิงอรรถ : @ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง) จึงตอบปฏิเสธ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖) @ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ) จึงตอบปฏิเสธ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖) @ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นเอกัจจสัสสตทิฏฐิ (ลัทธิที่ถือว่าบางอย่างเที่ยง) จึงตอบปฏิเสธ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๗๒] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ท่องเที่ยว จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๑- [๗๓] สก. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลคนเดียวกัน บุคคลคนละคนกัน บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและ คนละคนกัน บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ ท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๒- [๗๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลก อื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้นท่องเที่ยวไป ๗ ชาติเป็นอย่างมาก ก็จะทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ทั้งปวงสิ้นไป”๓- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอมราวิกเขปทิฏฐิ (ลัทธิที่พูดหลบเลี่ยงไม่แน่นอนตายตัว) จึงตอบปฏิเสธ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖) @ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ เอกัจจสัสสตทิฏฐิ และอมราวิกเขปทิฏฐิ จึงตอบ @ปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖) @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๒๔/๒๒๔, ขุ.อิติ. (แปล) ๒๕/๒๔/๓๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ปร. ดังนั้น บุคคลจึงท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ได้ [๗๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก โลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้น และเบื้องปลายรู้ไม่ได้ (ที่สุด)เบื้องต้น (ที่สุด)เบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น บุคคลจึงท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ได้ [๗๖] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่น มาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๗] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดาก็มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มนุษย์กับเทวดาเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม๒- ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๒๔/๒๑๕ @ ฝ่ายสกวาทีประสงค์จะแยกมนุษย์กับเทวดาว่ามีคติภพต่างกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๗๘] สก. มนุษย์กับเทวดาเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากบุคคลเป็นมนุษย์แล้วจึงเป็นเทวดา เป็นเทวดาแล้วจึงเป็นมนุษย์ (ดังนั้น) ผู้เกิดเป็นมนุษย์กับเทวดาจึงเป็นคนละคนกัน คำที่ว่า “บุคคลผู้เกิดเป็น มนุษย์คนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด ฯลฯ อนึ่ง หากบุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวไป จุติจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น มิใช่คนละคนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้แต่ปาณาติบาตก็หยั่งรู้ไม่ได้ กรรมมีอยู่ ผลของกรรมก็มีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วก็มีอยู่ เมื่อกุศล และอกุศลให้ผลอยู่ คำที่ว่า “บุคคลคนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด [๗๙] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นยักษ์มีอยู่ ... เป็นเปรต ... เป็นสัตว์นรก ... เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ... เป็นอูฐ ... เป็นโค ... เป็นลา ... เป็นสุกร ... เป็นกระบือ มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มนุษย์กับกระบือเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๐] สก. มนุษย์กับกระบือเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นกระบือ เป็นกระบือแล้วเป็นมนุษย์ (ดังนั้น) ผู้เกิดเป็นมนุษย์กับกระบือจึงเป็นคนละคนกัน คำที่ว่า “บุคคลผู้เกิดเป็นมนุษย์คน เดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

อนึ่ง หากบุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวไป จุติจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น มิใช่คนละคนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้แต่ปาณาติบาตก็หยั่งรู้ไม่ได้ กรรมมีอยู่ ผลของกรรมก็มีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วก็มีอยู่ เมื่อกุศลและอกุศล ให้ผลอยู่ คำที่ว่า “บุคคลคนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด [๘๑] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นพราหมณ์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กษัตริย์กับพราหมณ์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๒] สก. บุคคลบางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทรมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กษัตริย์กับศูทรเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๓] สก. บุคคลบางคนเป็นพราหมณ์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทร ... เป็น กษัตริย์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พราหมณ์กับกษัตริย์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๔] สก. บุคคลบางคนเป็นแพศย์แล้วเป็นศูทร ... เป็นกษัตริย์ ... เป็น พราหมณ์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. แพศย์กับพราหมณ์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๕] สก. บุคคลบางคนเป็นศูทรแล้วเป็นกษัตริย์ ... เป็นพราหมณ์ ... เป็น แพศย์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ศูทรกับแพศย์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๖] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. คนมือด้วนก็เป็นคนมือด้วนอยู่เหมือนเดิม คนเท้าด้วนก็เป็นคนเท้า ด้วนอยู่เหมือนเดิม คนมีมือและเท้าด้วนก็เป็นคนมีมือและเท้าด้วนอยู่เหมือนเดิม ... คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คนมีหัว แม่มือหัวแม่เท้าด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ... คนมือหงิก ... คนมือแป ... คน เป็นโรคเรื้อน ... คนเป็นโรคต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ... คนเป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรคลมบ้าหมู ... อูฐก็เป็นอูฐอยู่เหมือนเดิม ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือก็เป็นกระบืออยู่เหมือนเดิมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดในเทวโลกแล้ว ยังเป็น โสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้นมิใช่หรือ สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ปร. หากบุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดในเทวโลกแล้ว ยังเป็น โสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลคน เดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้” [๘๘] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไป เกิดในเทวโลกแล้วยังเป็นโสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น” จึงยอมรับว่า “บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดใน เทวโลกแล้ว ยังเป็นมนุษย์อยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น” จึงยอมรับว่า “บุคคล คนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นจากโลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๙] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลมิใช่คนละคนกัน ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๐] สก. บุคคลมิใช่คนละคนกัน ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. คนมือด้วนก็เป็นคนมือด้วนอยู่เหมือนเดิม ... คนเท้าด้วนก็เป็นคนเท้า ด้วนอยู่เหมือนเดิม ... คนมีมือและเท้าด้วนก็เป็นคนมีมือและเท้าด้วนอยู่เหมือนเดิม ... คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คน มีหัวแม่มือหัวแม่เท้าด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ... คนมือหงิก ... คนเป็นโรคเรื้อน ... คนเป็นโรคต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ... คนเป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ลมบ้าหมู ... อูฐ ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือก็เป็นกระบืออยู่เหมือนเดิม ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๑] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เป็นผู้มีรูป๑- ท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ใช่๒- สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นผู้มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้มีสังขาร ฯลฯ เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงท่องเที่ยวไปพร้อมกับรูปกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑/๑๔๗) @ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้อยู่ในอันตรภพเมื่อจุติไปเกิดในครรภ์มารดา(ในภพอื่น) จะไปพร้อมกับรูป @กายของตนขณะอยู่ในอันตรภพ (คล้ายสัมภเวสี) คำว่า อันตรภพ หมายถึงภพที่อยู่ในระหว่างตายกับเกิด @หรือถพนี้กับภพหน้า (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑/๑๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๙๒] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ สก. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ใช่๒- สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นผู้ไม่มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสังขาร ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓- ฯลฯ สก. เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ใช่๔- สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๓] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ เพราะฝ่ายปรวาทียังยืนยันในเรื่องอันตรภพเหมือนเดิม @ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลในอรูปภพเป็นผู้ไม่มีรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๒/๑๔๘) @ เพราะมีความเห็นว่า มีสัญญีภพซึ่งมีเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณจึงตอบปฏิเสธ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๒/๑๔๘) @ เพราะมีความเห็นว่า มีอุปปัตติภพอื่นนอกจากสัญญีภพจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๒/๑๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. รูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ใช่๑- สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๙๔] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าไม่มีรูป ก็ไม่มีบุคคล ดังนั้น เมื่อบุคคลท่องเที่ยวไปจึงท่องเที่ยวไปด้วยรูปนั้น @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๓/๑๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ) สก. เมื่อขันธ์แตกดับ หากบุคคลนั้นแตกดับ ก็จะเป็นอุจเฉททิฏฐิที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเว้น เมื่อขันธ์แตกดับ หากบุคคลไม่แตกดับ บุคคลก็จะเที่ยงเสมอเหมือนนิพพาน๑-
คติอนุโยคะ จบ
๑๒. อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงอุปาทาบัญญัติ๒-
[๙๕] สก. เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓- ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เที่ยงเสมอเหมือนนิพพาน หมายถึง นิพพานคือภาวะที่ไม่เกิดไม่ดับ ถ้าถือว่าบุคคลเที่ยงเหมือนนิพพาน @ก็จัดเป็นสัสสตทิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๔/๑๔๘) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒ หน้า ๓ ในเล่มนี้ @ ปรวาทียังยึดถือความเห็นเดิมของตนที่ว่า บุคคลเที่ยง จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๕/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๔-๕๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=835&Z=1038                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=76              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=76&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3256              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=76&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3256                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.1/en/aung-rhysdavids#pts-cs1.1.158



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :