ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๔. นิยตัสสนิยามกถา (๑๒๙)
ว่าด้วยนิยามของบุคคลผู้แน่นอน
[๖๖๓] สก. บุคคลผู้แน่นอน๑- ก้าวลงสู่นิยาม๒- ได้ใช่ไหม ปร.๓- ใช่๔- สก. บุคคลผู้แน่นอนในมิจฉัตตะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้ บุคคลผู้แน่นอน ในสัมมัตตะก็ก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยามได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ บุคคลผู้แน่นอน ในที่นี้หมายถึงผู้เป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับเอกังสพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่า จักบรรลุ @โพธิญาณ (ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้) ในอนาคตอย่างแน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙) @ นิยาม ในที่นี้หมายถึงนิยาม ๒ อย่าง คือ (๑) มิจฉัตตนิยามหรือเรียกว่าอนันตริยกรรม (๒) สัมมัตต- @นิยามหรือเรียกว่าอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓/๒๖๙) @ เพราะมีความเห็นว่า พระโพธิสัตว์ผู้ได้รับเอกังสพยากรณ์ชื่อว่าเข้าถึงนิยามแล้ว โดยเชื่อว่าการได้รับ @พยากรณ์เช่นนั้นเป็นการก้าวลงสู่นิยามประเภทหนึ่ง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า การได้รับ @เอกังสพยากรณ์ไม่ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงนิยาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓/๒๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค]

๔. นิยตัสสนิยามกถา (๑๒๙)

สก. บุคคลผู้แน่นอนก้าวลงสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้แน่นอนเจริญมรรคมาก่อนแล้วจึงก้าวลงสู่นิยามในภายหลังใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้แน่นอนเจริญโสดาปัตติมรรคมาก่อนแล้วจึงก้าวลงสู่โสดาปัตติ- นิยามในภายหลังใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้แน่นอนเจริญสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรคมาก่อนแล้วจึงก้าวลงสู่อรหัตตนิยามในภายหลังใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้แน่นอนเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์มาก่อนแล้วจึงก้าวลงสู่นิยามใน ภายหลังใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๖๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนก้าวลงสู่นิยามได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระโพธิสัตว์เป็นผู้ไม่ควรจะบรรลุธรรมในชาตินั้นใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น บุคคลผู้แน่นอนจึงก้าวลงสู่นิยามได้
นิยตัสสนิยามกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๑๕-๗๑๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=147              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=15573&Z=15600                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1521              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1521&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6063              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1521&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6063                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv13.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :