ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค]

๑. สังวโรกัมมันติกถา (๑๑๖)

๑๒. ทวาทสมวรรค
๑. สังวโรกัมมันติกถา (๑๑๖)
ว่าด้วยความสำรวมเป็นกรรม
[๖๓๐] สก. ความสำรวมเป็นกรรมใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ความสำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความสำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความ สำรวมชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมกายินทรีย์ เป็นกายกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความสำรวมกายินทรีย์เป็นกายกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความสำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความสำรวมกายินทรีย์เป็นกายกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความสำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความ สำรวมชิวหินทรีย์ เป็นชิวหากรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๐/๒๖๑) @ เพราะมีความเห็นว่า เจตนาไม่ชื่อว่ากรรม ความสำรวมและความไม่สำรวมเท่านั้นชื่อว่ากรรม @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๐/๒๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค]

๑. สังวโรกัมมันติกถา (๑๑๖)

สก. ความสำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความสำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความสำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความสำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความสำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความ สำรวมชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมกายินทรีย์ เป็นกายกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๓๑] สก. ความไม่สำรวมเป็นกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่สำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความไม่สำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมกายินทรีย์ เป็นกายกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความไม่สำรวมกายินทรีย์เป็นกายกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค]

๑. สังวโรกัมมันติกถา (๑๑๖)

สก. ความไม่สำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความไม่สำรวมกายินทรีย์เป็นกายกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่สำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความ ไม่สำรวมชิวหินทรีย์ เป็นชิวหากรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความไม่สำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความไม่สำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่สำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความไม่สำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความไม่สำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมกายินทรีย์ เป็นกายกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๓๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความสำรวมก็ดี ความไม่สำรวมก็ดี เป็นกรรม” ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค]

๒. กัมมกถา (๑๑๗)

ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ความสำรวมก็ดี ความไม่สำรวมก็ดีจึงเป็นกรรม
สังวโรกัมมันติกถา จบ
๒. กัมมกถา (๑๑๗)
ว่าด้วยกรรม
[๖๓๓] สก. กรรมทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบากมีวิบากใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๔๙/๓๘๑-๓๘๒, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๔/๒๕ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๓-๖๓๕/๒๖๒) @ เพราะมีความเห็นว่า กรรมทุกอย่างต้องให้ผล ไม่มีอโหสิกรรม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า @เจตนาทุกอย่างเป็นกรรม เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลให้ผล ส่วนเจตนาที่เป็นอัพยากฤตไม่ให้ผล @(เป็นอโหสิกรรม) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๓-๖๓๕/๒๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๘๙-๖๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=135              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=15034&Z=15101                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1476              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1476&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5889              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1476&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5889                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv12.1/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :