ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)

๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)
ว่าด้วยกำลังฤทธิ์
[๖๒๑] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป๑- ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. อายุนั้นสำเร็จได้ด้วยฤทธิ์ คตินั้นสำเร็จได้ด้วยฤทธิ์ การได้อัตภาพนั้น ก็สำเร็จได้ด้วยฤทธิ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปที่เป็นอดีต ตลอดกัปที่เป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พึงดำรงอยู่ได้ตลอด ๒-๓-๔ กัปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ กัป ในที่นี้หมายถึงกัป ๓ อย่าง คือ (๑) มหากัปปะ (กัปใหญ่) ช่วงระยะเวลายาวนานจนไม่มีใครนับได้ว่ากี่ปี @บางทีเรียกว่า อสงไขยกัป (๒) กัปเปกเทสะ (ส่วนแห่งกัป) ระยะเวลาที่ยังกำหนดนับได้ ใช้นับอายุของ @พรหม เช่น พวกเทวดาชั้นพรหมมีอายุประมาณ ๑ กัป (๓) อายุกัปปะ (อายุกัป) ช่วงระยะเวลาที่นับเป็นปี @ได้ ใช้นับอายุของสัตว์นรก เทวดา และมนุษย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๑-๖๒๔/๒๕๘ @ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๒๓/๑๘๗-๑๘๘, ๑๕๖/๒๑๖-๒๑๗) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๑/๒๕๘) @ เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีฤทธิ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดมหากัป ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า @ผู้มีฤทธิ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดกัป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๑/๒๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๗๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)

สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อยังมีอายุ๑- ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ หรือว่าเมื่อหมดอายุก็ดำรง อยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ ปร. เมื่อยังมีอายุ ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ได้ สก. หากเมื่อยังมีอายุ ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป” ฯลฯ เมื่อยังมีอายุ ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ หรือว่าเมื่อหมดอายุก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ ปร. เมื่อหมดอายุ ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ สก. บุคคลที่ตายแล้ว พึงดำรงอยู่ได้ หรือว่าบุคคลที่ทำกาละแล้วพึงดำรง อยู่ได้ ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๒๒] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไปเลย” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “เวทนาที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไปเลย ฯลฯ สัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เจตนาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ จิตที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ คำว่า อายุ นี้แปลมาจากคำว่า ชีวิตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๗๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)

สัทธาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ วิริยะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ สติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ สมาธิ ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไปเลย” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “รูปจงเป็นของเที่ยง” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “เวทนาจงเป็นของเที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ จงเป็นของเที่ยง” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่าได้ เกิดเลย” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าได้ แก่เลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา อย่าได้เจ็บเลย ฯลฯ สัตว์ ทั้งหลายผู้มีความตายเป็นธรรมดา อย่าได้ตายเลย” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรง อยู่ได้ตลอดกัป” ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)

ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใด ผู้หนึ่งได้เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ตลอด ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป”๑- มีอยู่จริง มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์จึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป [๖๒๔] สก. ผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า ไม่แก่ ๒. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความเจ็บเป็นธรรมดาว่า ไม่เจ็บ ๓. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า ไม่ตาย ๔. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันผลแห่งกรรมชั่วที่เศร้าหมอง ให้ เกิดในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และ มรณะต่อไปว่า ไม่บังเกิด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๖๗/๑๑๒, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๘๒๒/๓๘๕-๓๙๐, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๕๑/๒๗๙-๒๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๘. สมาธิกถา (๑๑๓)

ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการนี้แล”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์พึงดำรง อยู่ได้ตลอดกัป”
อิทธิพลกถา จบ
๘. สมาธิกถา (๑๑๓)
ว่าด้วยสมาธิ
[๖๒๕] สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอดีตเป็นสมาธิใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอนาคตเป็นสมาธิใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๘๒/๒๕๘-๒๕๙ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสัพพัตถิกวาทและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๕/๒๕๙) @ เพราะมีความเห็นว่า เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดขึ้นนานๆ หลายขณะจิตจึงจะเป็นสมาธิ ซึ่งต่างกับความเห็น @ของสกวาทีที่เห็นว่า เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดขึ้น แม้ในขณะจิตดวงเดียว ก็เป็นสมาธิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๕/๒๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๘๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๗๘-๖๘๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=131              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=14813&Z=14897                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1460              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1460&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5808              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1460&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5808                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv11.5/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :