ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๙. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา (๙๒)

๙. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา (๙๒)
ว่าด้วยวาจาไม่เป็นไปตามที่คิด
[๕๖๔] สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา ไม่มีจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้มีผัสสะ มีเวทนา มีสัญญา มีเจตนา มีจิต มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวาจามีได้แก่บุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิต ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด” สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ผูกใจอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ผูกใจอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ มิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๔/๒๔๖-๒๔๗) @ เพราะมีความเห็นว่า วาจาที่เปล่งออกมาไม่อยู่ในการควบคุมของจิต จึงถือว่า วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๔/๒๔๖-๒๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๙. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา (๙๒)

สก. หากวาจามีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ผูกใจอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด” สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิตมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิต ท่าน ก็ไม่ควรยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด” สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลไม่ประสงค์จะกล่าวก็กล่าวได้ ไม่ประสงค์จะว่าก็ว่าได้ ไม่ประสงค์ จะร้องเรียกก็ร้องเรียกได้ ไม่ประสงค์จะพูดก็พูดได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลประสงค์จะกล่าวจึงกล่าวได้ ประสงค์จะว่าจึงว่าได้ ประสงค์จะ ร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ประสงค์จะพูดจึงพูดได้มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบุคคลประสงค์จะกล่าวจึงกล่าวได้ ประสงค์จะว่าจึงว่าได้ ประสงค์ จะร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ประสงค์จะพูดจึงพูดได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วาจา ไม่เป็นไปตามที่คิด” [๕๖๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด” ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๑๐. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา (๙๓)

ปร. บางคนคิดว่า “จะกล่าวอย่างหนึ่ง” แต่กล่าวไปอีกอย่างหนึ่ง คิดว่า “จะว่าอย่างหนึ่ง” แต่ว่าไปอีกอย่างหนึ่ง คิดว่า “จะร้องเรียกอย่างหนึ่ง” แต่ร้อง เรียกไปอีกอย่างหนึ่ง คิดว่า “จะพูดอย่างหนึ่ง” แต่พูดไปอีกอย่างหนึ่ง มีอยู่มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบางคนคิดว่า “จะกล่าวอย่างหนึ่ง” แต่กล่าวไปอีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คิดว่า “จะพูดอย่างหนึ่ง” แต่พูดไปอีกอย่างหนึ่งมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด”
นยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๑๖-๖๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=113              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=13503&Z=13549                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1358              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1358&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5557              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1358&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5557                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv9.9/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :