ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
ว่าด้วยอนุสัยรับรู้อารมณ์ไม่ได้
[๕๕๔] สก. อนุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. อนุสัยเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๔/๒๔๔) @ เพราะมีความเห็นว่า อนุสัยทั้ง ๗ วิปปยุตจากจิต เป็นอเหตุกะ เป็นอัพยากฤต จึงไม่สามารถรับรู้ @อารมณ์ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อนุสัยทั้ง ๗ สามารถรับรู้อารมณ์ได้ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๔/๒๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)

สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นับเนื่องในขันธ์ไหน ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์ สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)

สก. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ แต่กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้ อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๕๕] สก. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชา- สังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๐๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)

สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นสภาวธรรม ที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิชชานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นับเนื่องในขันธ์ไหน ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์ สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๐๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)

สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ แต่อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้ อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๕๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตกำลังเป็นไปอยู่ ท่านยอม รับว่า “เป็นผู้มีอนุสัย” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. อนุสัยเหล่านั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๐๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา (๘๘)

ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตกำลังเป็นไปอยู่ ท่านยอม รับว่า “เป็นผู้มีราคะ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ราคะนั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น ราคะจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
อนุสยาอนารัมมณกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๐๒-๖๐๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=107              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=13222&Z=13323                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1327              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1327&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5497              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1327&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5497                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv9.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :