ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
ว่าด้วยรูปเป็นกรรม
[๕๒๗] สก. รูปที่เป็นกายกรรม๑- ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. รูปที่เป็นกายกรรม เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มี ความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความ ตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ รูปที่เป็นกายกรรม ในที่นี้หมายถึงกายวิญญัติรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๗-๕๓๗/๒๓๘) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๗/๒๓๘) @ เพราะมีความเห็นว่า รูปที่เป็นกายกรรม (กายวิญญัติ) และรูปที่เป็นวจีกรรม (วจีวิญญัติรูป) ที่เกิดจาก @กุศลจิต เป็นกุศลกรรม ส่วนรูปที่เกิดจากอกุศลจิต จัดเป็นอกุศลกรรม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่ @เห็นว่า เจตนาเท่านั้นจัดเป็นกรรม รูปไม่จัดเป็นกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๗/๒๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความจงใจ ไม่มีความปรารถนา ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากรูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วย จิตที่เป็นกุศลเป็นกุศล” สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ... เจตนา ... สัทธา ... วิริยะ ... สติ ... สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นกายกรรมเกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ... เจตนา ... สัทธา ... วิริยะ ... สติ ... สมาธิ ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๒๘] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศลทั้งหมดนั้น เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย จิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย จิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๒๙] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย จิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤต ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น อัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย จิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น อัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๐] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลที่วิปปยุต จากผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลที่วิปปยุตจาก ผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย จิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจาก ผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๗๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุต จากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย จิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุต จากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๑] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลที่วิปปยุต จากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นกุศล ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย จิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤต ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๗๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย จิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น อัพยากฤต ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๒] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากรูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความ นึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วย จิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล” สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๗๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๗๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล ทั้งหมดนั้นเป็นกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ พึงอธิบายรูปที่เป็นวจีกรรมให้พิสดารเหมือนรูปที่เป็นกายกรรม [๕๓๓] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความ ผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความจงใจ ไม่มีความปรารถนา ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากรูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความจงใจ ไม่มีความปรารถนา ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็น อกุศล เป็นอกุศล” สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล ทั้งหมดนั้นเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๔] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากรูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้น ด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล” สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความ นึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล ทั้งหมดนั้นเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๕] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๗๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๖] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอกุศล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น อกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤต ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๗๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น อัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็น อัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๗] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลที่วิปปยุต จากผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลที่วิปปยุต จากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะ ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๗๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น อกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอกุศล ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น อกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤต ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากกายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ ดังนั้น ท่าน จึงควรยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้” สก. รูปเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขายตนะเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. กายเป็นรูป กายกรรมก็เป็นรูปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มโนเป็นรูป มโนกรรมก็เป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มโนเป็นนาม มโนกรรมก็เป็นนามใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กายเป็นนาม กายกรรมก็เป็นนามใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กายเป็นรูป แต่กายกรรมเป็นนามใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มโนเป็นรูป แต่มโนกรรมเป็นนามใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มโนเป็นนาม มโนกรรมก็เป็นนามใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กายเป็นนาม กายกรรมก็เป็นนามใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น จักขุวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสตายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น โสตวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ฆานายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น ฆานวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชิวหายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น ชิวหาวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กายายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๓๙] สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่า เป็นตัวกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรม ด้วยกาย วาจา ใจ”๑- มีอยู่จริง มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม” สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)

สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและ ทุกข์อันเป็นภายในจึงเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา(ความจงใจทางกาย) เป็น เหตุ หรือว่าเมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในจึงเกิดขึ้น เพราะ วจีสัญเจตนา(ความจงใจทางวาจา) เป็นเหตุ หรือว่า เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อัน เป็นภายใน จึงเกิดขึ้น เพราะมโนสัญเจตนา(ความจงใจทางใจ) เป็นเหตุ”๑- มีอยู่ จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม” สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก วจีสัญเจตนา ๔ อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก มโนสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก วจีสัญเจตนา ๔ อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มโนสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม” สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๕/๕๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)

สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ ถ้าโมฆบุรุษนามว่า สมิทธินี้ ถูกปาตลีบุตรปริพาชกถามอย่างนี้ จะพึงตอบอย่างนี้ว่า ท่านปาตลีบุตร บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจ อันให้ผล เป็นสุข ย่อมเสวยสุข บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจ อันให้ผลเป็นทุกข์ ย่อมเสวยทุกข์ บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความ จงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจ อันให้ผลเป็นอทุกขมสุข ย่อมเสวยผลเป็น อทุกขมสุข อานนท์ โมฆบุรุษนามว่าสมิทธิเมื่อตอบอย่างนี้ ชื่อว่าตอบโดยชอบแก่ ปาตลีบุตรปริพาชก”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม”
รูปังกัมมันติกถา จบ
๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
ว่าด้วยชีวิตินทรีย์
[๕๔๐] สก. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มีใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยง ไม่มีแก่สภาวธรรมที่มีรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๓๐๐/๓๕๙-๓๖๐ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๐/๒๓๙) @ เพราะมีความเห็นว่า ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มี มีแต่ที่เป็นนามเท่านั้น ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่ @เห็นว่า ชีวิตินทรีย์มีทั้งที่เป็นนามและรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๐/๒๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๘๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๖๖-๕๘๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=101              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=12403&Z=12861                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1242              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1242&items=43              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5370              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1242&items=43              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5370                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv8.9/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :