ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๓. ตติยนัย]

๓. อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

๓. ตติยนัย
๓. อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส
[๑๗๙] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่ สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สมุทยสัจ มัคคสัจ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ และธาตุ ๑ [๑๘๐] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่ สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับนิโรธสัจ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ และธาตุ ๑ [๑๘๑] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่ สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับชีวิตินทรีย์ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๒ อายตนะ ๑ และธาตุ ๑ [๑๘๒] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่ สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับอิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ อวิชชา สังขารที่เกิดเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย ผัสสะที่เกิดเพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย เวทนาที่เกิดเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาที่เกิดเพราะมี เวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานที่เกิดเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย กัมมภพที่ เกิดเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๓. ตติยนัย]

๓. อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ และธาตุ ๑ [๑๘๓] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่ สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับชาติ ชรา มรณะ ฌาน ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๒ อายตนะ ๑ และธาตุ ๑ [๑๘๔] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่ สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับโสกะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อัปปมัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา อธิโมกข์ มนสิการ สภาวธรรมที่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่เป็น เหตุและมีเหตุ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ และธาตุ ๑ [๑๘๕] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่ สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับสภาวธรรม ที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ และธาตุ ๑ [๑๘๖] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่ สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับสภาวธรรม ที่เป็นอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ และธาตุ ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๓. ตติยนัย]

๓. อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

[๑๘๗] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่ สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับสภาวธรรม ที่เป็นสังโยชน์ สภาวธรรมที่เป็นคันถะ สภาวธรรมที่เป็นโอฆะ สภาว- ธรรมที่เป็นโยคะ สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์ สภาวธรรมที่เป็นปรามาส สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ และธาตุ ๑ [๑๘๘] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่ สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับสภาวธรรม ที่เป็นเจตสิก สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต สภาวธรรมที่ระคนกับจิต สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมที่ระคนกับ จิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิต เป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑ และธาตุ ๑ [๑๘๙] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่ สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับสภาวธรรมที่ เกิดพร้อมกับจิต สภาวธรรมที่เป็นไปตามจิต ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์เหล่าไหนเลย แต่สงเคราะห์ เข้าได้กับอายตนะ ๑ และธาตุ ๑ [๑๙๐] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่ สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับสภาวธรรม ที่เป็นอุปาทาน สภาวธรรมที่เป็นกิเลส สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็น อารมณ์ของกิเลส สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๓. ตติยนัย]

รวมบทธรรมในตติยนัย ๙๐ บท

สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๓ อายตนะ ๑ และธาตุ ๑
รวมบทธรรมในตติยนัย ๙๐ บท
ขันธ์ ๓ สัจจะ ๓ อินทรีย์ ๑๖ ปัจจยาการ ๑๔ บท ต่อจากปัจจยาการอีก ๑๔ บท ในโคจฉกะ ๑๐ หมวด นับได้ ๓๐ บท จากจูฬันตรทุกะ ๒ บท จากมหันตรทุกะ ๘ บท
อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทสที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๔๑-๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=36&siri=4              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=36&A=692&Z=747                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=175              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=36&item=175&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=239              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=36&item=175&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=239                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :