ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
๑. กุสลวาร
[๗๒๕] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. กุสลวาร

สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาวธรรม เหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้ เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๒๖] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิด ขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว- ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะ นิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณ เหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. กุสลวาร

จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยรูปาวจรกุศลจิต
[๗๒๗] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม- ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว- ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยอรูปาวจรกุศลจิต
[๗๒๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ ได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตน- สัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว- ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๒. อกุสลวาร

นิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณ เหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยโลกุตตรกุศลจิต
[๗๒๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า) อยู่ในสมัยใด ในสมัย นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว- ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
๒. อกุสลวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยอกุศลจิต
[๗๓๐] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๒. อกุสลวาร

จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว- ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๓๑] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุต จากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย อุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดย มีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ฯลฯ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต ด้วยวิจิกิจฉา ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว- ธรรม เหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

๓. วิปากวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอเหตุกกุศลวิปากจิต
[๗๓๒] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นเพราะ ได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๓๓] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยสุข มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ ได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

เจตนา จิต สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ สุขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือ สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่า นี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๓๔] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสม กามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๓๕] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร กุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๓๖] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสม กามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยกามาวจรวิปากจิต
[๗๓๗] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย โสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณเกิดขึ้น โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต จากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นเพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร- กุศลกรรมโดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้ด้วยนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๓๘] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม- ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอรูปาวจรวิปากจิต
[๗๓๙] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ ได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล โยคาวจรบุคคล เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ เพราะ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยโลกุตตรวิปากจิต
[๗๔๐] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญโลกุตตรกุศลกรรมนั้น นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอกุศลวิปากจิต
[๗๔๑] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ทุกข์ เอกัคคตา มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๔๒] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ หรือมี โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรม ไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น อัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๔. กิริยาวาร

๔. กิริยาวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอเหตุกกิริยาจิต
[๗๔๓] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภ อารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิบาก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านั้นชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๔๔] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบาก แห่งกรรม สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง กรรม มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๔. กิริยาวาร

ขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และ ชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ใน สมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยกิริยาจิต
[๗๔๕] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง กรรม สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรตคด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย อุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ โยคาวจรบุคคลเจริญรูปาวจรฌาน ฯลฯ เจริญอรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่ เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ฯลฯ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ จตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ ละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา

ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๔๖] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา ๓ เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ฝ่ายกามาวจรกุศล เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ฝ่ายกิริยา อัตถปฏิสัมภิทาเกิดขึ้นใน จิตตุปบาทเหล่านี้ และเกิดขึ้นในมรรค ๔ ผล ๔
อภิธรรมภาชนีย์ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๔๖๑-๔๗๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=60              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=10143&Z=10512                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=784              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=784&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=9890              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=784&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=9890                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb15/en/thittila#pts-s725



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :