ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๑๑. อัพยากตนิทเทส
อเหตุกกุศลวิปากจิต ๘
๑. จักขุวิญญาณจิต
[๓๐๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน จักขุวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรม ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็น ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๐๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ นามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นเวทนาแล้ว สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๐๘] ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะ ที่ ๖ ที่มีนามเป็นเหตุจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็น เหตุจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๐๙] ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่ สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

จึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๑๐] ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี แม้เพราะนามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็น ปัจจัย นามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะเป็น ปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
๒-๕. โสต - กายวิญญาณจิต
[๓๑๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณที่สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ที่สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ใน สมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๑๒] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นเวทนาแล้ว สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
๖. สัมปฏิจฉนจิต
[๓๑๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศล- กรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๑๔] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะสังขารเป็น ปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
๗. โสมนัสสันตีรณจิต
[๓๑๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร- กุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะ ที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๑๖] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
๘. อุเบกขาสันตีรณจิต
[๓๑๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร- กุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๑๘] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิด แต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์ นี้เรียก ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
กามาวจรวิปากจิต ๘
[๓๑๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย โสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง เพราะได้ ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะ อธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๒๐] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เป็นไฉน ศรัทธา ความเชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง นี้เรียกว่า เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
รูปาวจรวิปากจิต
[๓๒๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม- ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็ เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ซึ่ง เป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรม อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนาม เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะ เป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาตจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อรูปาวจรวิปากจิต
[๓๒๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา- ยตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญา- ยตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา- ยตนะได้โดยประการทั้งปวง เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ จึงบรรลุจตุตถฌานที่ สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสม อรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะ ที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์ จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

โลกุตตรวิปากจิต
[๓๒๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขา- ปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้น นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะ ที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อกุศลวิปากจิต ๗
๑-๕. จักขุ - กายวิญญาณจิต
[๓๒๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ ได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๒๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ กายวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ กายสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นเวทนาแล้ว สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
๖. สัมปฏิจฉนจิต
[๓๒๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ใน สมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๒๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
๗. อุเบกขาสันตีรณจิต
[๓๒๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็น ปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็น ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๓๒๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อเหตุกกิริยาจิต ๓
[๓๓๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ฯลฯ หรือมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง กรรม สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ หรือมีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง กรรม สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ อารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑. อัพยากตนิทเทส

กามาวจรกิริยาจิต ๘
[๓๓๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง กรรม สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต ด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต ด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์หรือ ปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะ เป็นปัจจัยเวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
รูปาวจรกิริยาจิต
[๓๓๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน พระขีณาสพเจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่ เป็นวิบากของกรรม แต่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์ จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑๒. อวิชชามูลกกุสลนิทเทส

[๓๓๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่ เป็นวิบากแห่งกรรม แต่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะก้าวล่วง อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็น ปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็น ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อัพยากตนิทเทส จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๒๘๐-๒๙๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=25              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=5211&Z=5578                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=372              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=372&items=28              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=5372              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=372&items=28              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=5372                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb6/en/anandajoti#ba244



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :